เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเกียรติให้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Dream Food of Thai Consumers ที่ได้จากการสอบถามผู้บริโภคทั่วประเทศรวม 1,000 คน ถึงคำจำกัดความและความคาดหวังใน Dream Food ผลบางตอนน่าสนใจ และตอกย้ำ The Rise of Lazy Economy ในหมู่ผู้บริโภคอายุน้อย
What is Thais’ Dream Food?
เมื่อพูดถึง Dream Food หรืออาหารในอุดมคติ ‘สิ่งที่เห็นได้’ ได้แก่วัตถุดิบ และกระบวนการปรุง นับเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดย 5 ลักษณะแรกที่ผู้บริโภคนิยามคำว่า Dream Food คือ ต้องปรุงสดใหม่, ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ, สะอาด, ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล และ ใช้วัตถุดิบออร์แกนิค ซึ่งจากคำนิยามนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมผู้บริโภคถึงนึกถึง อาหารที่บ้าน หรือ อาหารที่แม่ทำ เป็นอันดับแรกของ Dream Food เพราะแม่มักทำอาหารสดใหม่ และใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่คัดสรรมาอย่างดีแล้ว
อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ด้วยอายุ จะเห็นว่า
คนวัยกลางคนขึ้นไปมองหา คุณค่าทางโภชนาการและอาหารที่เป็นยา
มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน
โดยวัยรุ่นเชื่อว่า ราคาที่สมเหตุสมผล เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของอาหารใน
อุดมคติ
และวัยเริ่มทำงานให้ความสำคัญกับเรื่องความสะดวก หาซื้อได้ง่าย
ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเติบโตของ Food Delivery Service ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Early Jobbers
“จากข้อมูลของ GET ในปีที่ผ่านมา เคยมีออเดอร์สั่งชานมไข่มุกมากกว่า 3 แสนแก้ว ในหนึ่งเดือน และมียอดสั่งอาหารว่างตลอดทั้งวันและบางครั้งการสั่งซื้อก็อยู่ในระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งแปลว่า คนสั่งจากร้านที่อยู่ใต้ตึกหรือตึกข้างๆ ให้มาส่งที่ทำงาน”
ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม KFC จึงติด 3 อันดับแรกของอาหารในอุดมคติของผู้บริโภคอายุน้อย เนื่องจากความสะดวกและราคาที่จ่ายได้นั่นเอง และชี้ให้เห็นว่า The Rise of Economy ยังคงเป็นหนึ่งเทรนด์หลัก ของ Gen รุ่นใหม่ ที่ผู้คนต่างอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน มีความคาดหวังเรื่องความสะดวกสบายและความรวดเร็วเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ถึงแม้ว่างานวิจัยครั้งนี้จะถามเกี่ยวกับอาหาร แต่สิ่งที่เราเรียนรู้และปรับนำไปใช้ได้กับการตลาดใน Industry อื่นๆ คือ
1. ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับ Visible Reason-To-Believe (RTB) มากกว่า Invisible End Result ใน Moment of Purchase ดังนั้นการให้ผู้บริโภครู้ที่มาที่ไปของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถละเลยได้ = Being Transparent
2. ธรรมชาติเป็นหนึ่งใน RTB ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ = Being Natural
3. ผู้บริโภคอายุน้อยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากขึ้นเรื่อยๆ = Being Convenient
4. การจะครองใจเป็น Trusted Brand ของผู้บริโภคได้ ต้องมีความสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งตัวสินค้า/บริการ เริ่มตั้งแต่ ความใส่ใจในการสรรหาวัตถุดิบหรือส่วนผสมของสินค้า ความตั้งใจผลิตและส่งมอบสินค้าที่ดี เพื่อสร้างความมั่นใจในประสบการณ์การใช้สินค้า/ บริการนั้นๆ ด้วย = Being Mindful (Human-Centric, Not Product)