One of three columns
One of three columns
One of three columns

MAT Vaccine for Business EP.10

2.6k
SHARE

Entrepreneur spirit
การสร้างหัวใจให้เถ้าแก่ใหม่ในองค์กร

เริ่มจากคำว่า “เถ้าแก่” หลาย ๆ คนอาจนึกถึงบุคคลที่เข้ามาคุมร้านค้า? แต่จริง ๆ แล้วหัวใจของคำว่าเถ้าแก่คือ Outrepreneur spirit เป็นวัฒนธรรมที่จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดได้ จะมีความน่าสนใจอย่างไร ? แล้วจะมีความสัมพันธ์กับองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนแล้วอย่างไร? จริง ๆ แล้ว Outrepreneur / Entrepreneur สามารถทำให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างไร ?

ในวันนี้แขกรับเชิญพิเศษ เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับวงการการตลาด มี 2 คนด้วยกัน ได้แก่ คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร (คุณต้อง) เจ้าของ Podcase “แปดบรรทัดครึ่ง (Eighthalf)” ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าทีม Avenger ของธนาคารไทยพาณิชย์ SCB 10X (จะมาพูดในมุมมองของ Outrepreneur ใน Entrepreneur)
และ คุณไผท ผดุงถิ่น (คุณโบ๊ท) ผู้คิดโปรแกรมควบคุมการก่อสร้าง หรือ Startup เจ้าแรก ๆ ของวงการก่อสร้าง ดำรงค์ตำแหน่ง CEOและ Co-Founder ของ BUILK ASIA และ BUILK ONE GROUP (จะมาพูดในมุมมองของ Outrepreneur)

BUILK ONE GROUP

คุณโบ๊ทเริ่มเป็น Outrepreneur มาเป็นเวลาประมาณ 20 กว่าปี (เริ่มตั้งแต่สมัยต้มยำกุ้ง พ.ศ. 2540) หลังจากเหตุการณ์ต้มยำกุ้งประเทศไทยได้ผลิต Outrepreneur ออกมาเป็นจำนวนมาก ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ และการที่โดน Lay out และความอยากเป็น Outrepreneur ด้วยตนเอง บริษัทของคุณโบ๊ททำซอฟต์แวร์ (Software) เกี่ยวกับการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ชื่อ BUILK ONE GROUP ช่วง 10 ปีหลัง ได้ฟอร์มตัวเองโดยมีวิธีคิดที่เรียกว่า Startup คือการทำธุรกิจให้เป็น Platform ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ในส่วนของบริษัทมีส่วนต่างๆดังนี้

  1. ซอฟต์แวร์ (Software) ของบริษัทคุณโบ๊ทมีส่วนให้ใช้ฟรี เก็บเงิน (เก็บเงินรายเดือน / เก็บเงินรายยูนิตก์ ต่าง ๆ และอาจจะมีเพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่กับ Innovation
  2. การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ในส่วนของวัสดุก่อสร้าง แล้วมาแบ่งปัน (Share) กับสมาคมการตลาด ในเรื่องของ P to P (People to People), Marketing, Innovative Marketing ฯลฯ

บริษัทมีพนักงานอยู่ประมาณ 100 กว่าคน มี Operation อยู่ที่ประเทศไทย พม่า ฟิลิปปินส์ ที่เป็นหลัก ๆ ส่วนผู้ใช้ (User) มีอยู่ที่อื่นบ้าง จะเห็นว่าบริษัทขยายเร็วมาก ๆ ซึ่งเกิดจากเป็นธุรกิจที่ได้แรงบันดาลใจจากการทำ Startup

SCB 10X

ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ หน้าที่หลัก ๆ ของ SCB 10X คือ พยายามดูธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ประกอบอยู่ 3 ส่วน ด้วยกัน
– ส่วนแรก ลงทุนให้กับบริษัทเทคโนโลยี เช่น บริษัทขนาดใหญ่ และทำธุรกิจร่วมกัน อาทิ Gojek
– ส่วนที่สอง Avenger Capital (ทำมาได้ 4ปีแล้ว) มีกองทุนอยู่ 150ล้านเหรียญ สามารถลงทุนได้ทั่วโลก
– ส่วนที่สาม Avenger Builder (ผมเป็นคนดูแล) เป็นการทำ Startup ภายในองค์กร มีทีม Tech เป็นของตัวเอง, มี ทีมProduct , ทำ Prototype ทดลอง (Test) กับตลาด ถ้ามันสำเร็จหน้าที่ของเราคือดีดตัวมาเป็นบริษัทลูกเติบโตแบบ Startup ให้ได้ โดยมีงบประมาณในอีก 3 ปีข้างหน้าอยู่ที่ 20,000 ล้านบาท

Entrepreneur / Outrepreneur คืออะไร ?

Entrepreneur – เป็นคำใช้ที่มีอยู่จริง แต่กระทำยากมาก คือต้องการให้คนที่ไม่ออกเงินให้มีความเป็นเถ้าแก่ ในเชิงมุมบัญญัติ คนที่เป็น Outrepreneur เป็นคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และมีอิสระในการทำงาน ซึ่งในองค์กรจะตรงกันข้าม จะไม่มีอิสระในการทำงาน ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นเราจึงต้องการหาโครงสร้าง (Structure) บางอย่าง ให้คนมีอิสระในการทำงาน และส่วนได้ส่วนเสียที่ชัดเจน สิ่งนี้คือหลักการที่องค์กรใหญ่ ๆ อยากจะทำ ซึ่งไม่ใช่การให้กำลังใจกัน (Encourage) เช่น “สู้ๆนะ ต้องใช้ความเสี่ยง” อย่างเช่น คุณโบ๊ท (ที่สร้างบริษัทด้วยตัวเอง) ถ้าทำดีก็เงินตัวเอง ถ้าไม่ดีก็เงินตัวเอง “ฉันมีอิสระในการทำงาน ฉันมีส่วนได้ ฉันมีส่วนเสีย”

Outrepreneur – การสอน Outrepreneur ship ภายในองค์กร จะทำเหมือนสร้าง Outrepreneur ใน Entrepreneur ซึ่ง Entrepreneur / Outrepreneur มีส่วนที่คล้าย และแตกต่างกัน ตรงที่เป็นคนที่มีความคิดอะไรใหม่ๆ (Innovative) เหมือนกัน แต่ระดับของความเสี่ยง (Risk) ที่ทั้งสองคน (Entrepreneur / Outrepreneur ) ได้รับนั้นต่างกัน โดย Outrepreneur ได้รับความเสี่ยงที่มากกว่า ความเสี่ยงของ Outrepreneur เช่น ไม่รู้ว่าเงินเดือนตัวเองจะออกไหม, เงินเดือนลูกน้องจะหามาจากไหน, ต้องลดเงินเดือนตัวเองตอนที่มีวิกฤตไปเท่าไหร่เพื่อชดเชยให้ลูกน้องและธุรกิจ

โดยส่วนคุณโบ๊ทคิดว่า Outrepreneur จะมาช่วยเติมเต็ม (Full-Fill) ในส่วนที่บริษัทขาดไป แล้วมีความคิดแบบคุณโบ๊ทเพื่อช่วยให้บริษัทเดินหน้าต่อไปได้ แต่ไม่ต้องกังวลเรื่องการหาเงิน, รับความเสี่ยงเท่ากับ Outrepreneur ซึ่งความเสี่ยงไม่เท่ากับขนาดตอนเริ่มต้น แต่ต้องการความเป็นผู้นำ (Leader ship), กระบวนการคิด (Mind set) ที่ดี

ม.ร.ว.สุทธิภาณีได้แสดงความคิดเห็นด้วยว่า “ถ้าเจ้าของมีการสนับสนุนให้เขามี ความกล้าที่จะทำและคิดอะไรใหม่ ๆ การที่เรา Out of The Box มากขึ้น จะช่วยทำให้ได้รับ Mind set ที่ดี” ดังนั้นองค์กรต้องมีหลักการ, การสนับสนุน (Support), หนทาง(Direction) มากพอเขาถึงจะกล้าที่จะลองเสี่ยง

อะไรคือ ความท้าทายของ Outrepreneur ?

“การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด” หลังจากวันที่คุณโบ๊ทได้ออกมาจากองค์กร (Cooperation) แล้วพบว่าไม่มีใครเลย เหมือนตอนทำงานอยู่ใน Cooperation อย่างแผนก HR, การเงิน ฯลฯ จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้ มีเรื่องให้ลองผิดลองถูก และแน่นอนว่าจะทำให้เจอกับปัญหาและต้องแก้ทั้งล้มเหลวและสำเร็จบ้าง ใน “ส่วนที่ล้มเหลวจะทำให้เรากลายเป็นคนที่กลัวความผิดพลาดทำให้เราเริ่มกลายเป็นคนไม่กล้าคิดอะไรใหม่ ๆ” นั่นก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่งของ Outrepreneur ซึ่งคุณโบ๊ทคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไปไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการคนใด จะเกิดกรอบขึ้นมาว่า “เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนอะไรก็ได้ เพราะเราสำเร็จมาก่อนแล้ว” กับอีกกลุ่มหนึ่งทำมาเป็นเวลานานแล้ว จะเกิดความคิดขึ้นมาในหัวว่า “จะทำยังไงให้งานเกิดการเชื่อมโยง (involve), พัฒนาวิธีคิดของเราต่อไปได้” ธุรกิจ (Business) ต้องมีการเปลี่ยนแปลง (Innovation) ของไปเรื่อย ๆ

อะไรคือ ความท้าทายของ Entrepreneur ?

“การหาคนที่ถูกต้องเข้ามาทางเชิงทัศนคติเป็นคนที่เหมาะสม” ต้องการคนที่ถูกต้อง คือ รับคนเข้ามาในสถานที่ ๆ ถูกกับสภาพแวดล้อมที่เป็น Outrepreneur ใน Entrepreneur ได้รับการไว้วางใจ (Trust) จากผู้บริหาร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราเลือกคนได้ถูก เราก็จะสามารถให้อิสระในการทำงานได้ เพราะ Outrepreneur ควรจะมีอิสระในการลองผิดลองถูก หรือคิดอะไรใหม่ ๆ เพราะยังไม่มีใครรู้ว่าอะไรคือใช่ อะไรคือไม่ใช่ คือ การเริ่มจาก Zero to One (0 ไป 1) เพราะองค์กรคือการเริ่มจาก 0 ไป 100 เพราะทำสำเร็จมาแล้วมีกระบวนการต่าง ๆ การรับการเปลี่ยนแปลง (Innovation) เข้ามา ทำให้องค์กรต้องกลับไปเริ่มจาก 0 (จุดเริ่มต้นใหม่) ซึ่ง ณ จุดนั้นไม่มีสูตรสำเร็จ คนที่ทำงานภายในองค์กรส่วนใหญ่จะไม่ถนัด และผู้บริหารส่วนใหญ่เติบโตมาในส่วนที่มีขั้นตอน (Process) อยู่แล้ว คือการเติบโตขึ้นมาในการทำ Process หรือการทำงานของตัวเองให้ดี ซึ่งสถานะ (State) เป็นสถานะที่ผู้บริหารมักเติบโตมาด้วยความสามารถ (Skill) นั้น

แน่นอนว่า เมื่อเราพูดว่า “โลกยุคดิจิตอลเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแสดงว่าเรานั้นยังไม่รู้” ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การที่เราจ้างคนเข้ามา จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นไปสำรวจ (Explore) สิ่งที่อยากจะสำรวจ (Explore) ได้เต็มที่ และแน่นอนว่า เมื่อคน ๆ หนึ่งออกไปสำรวจ (Explore) ก็จะเกิดความผิดพลาด ก็อาจจะได้ยินคำว่า Fail Fast, Fail Cheap เมื่อผิดพลาดแล้วจะลงโทษ (Punish) ลูกจ้างไหม?, จะให้ค่า (Value) ความสำเร็จ (Success) เหมือนเดิมหรือเปล่า? ที่สำเร็จเราจะให้รางวัล คำพูดของการบริหารจัดการ, แรงจูงใจ (Incentive) ,สามารถให้อภัย (Allow) ทำให้คนอยากที่จะลงมือทำต่อได้หรือเปล่า? หรือเรายังจะชักจูง (Incentive) อยากจะให้คนทำสำเร็จโดยเร็ว แต่สิ่งที่ตามมาคือ วิธีการทำแบบเดิม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ยังยุ่งยาก (Tricky) ในการบริหารจัดการ ดังนั้นต้องเข้าใจว่าคนที่เราจ้างเข้ามาเป็นคนที่เหมาะสมในการทำงานแบบใหม่ ความสำคัญคือตัวผู้บริหารจะสามารถให้อำนาจลูกจ้างมากแค่ไหน เพราะคนเหล่านั้นก็ต้องใช้เงินขององค์กร ดังนั้นจึงต้องมี สิ่งต่อไปนี้

  1. ความเชื่อใจ (Trust) มีค่า (value) ร่วมกับความเร็ว (speed) ซึ่ง “ถ้าไม่มีความเชื่อใจ (Trust) จะเกิดการประชุม (Meeting) มาก” เพราะเกิดการไม่ตัดสินใจและต้องมีการมาพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง “องค์กรไหนมี Trust เยอะ Speed จะน้อย องค์กรไหนมี Trust น้อย Speed จะมาก” Speed ในที่นี่หมายถึงการจะทำของให้ไปให้ถึงในตลาด
  2. นักพัฒนา (Innovator) ทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ให้กล้าที่จะลงมือเสี่ยง ซึ่งอาจจะมีการสร้างต้นแบบ (Prototype) ที่มีราคาถูก เช่นการออกไปทดสอบกับตลาดก่อน Fail Fast, Fail Cheap แต่คนเหล่านี้จะเข้าใจอยู่แล้วว่าตนเองจะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากคนอื่น ว่าการที่จะทดสอบ จะทดสอบอย่างไรให้ตัวเองไม่ได้รับความเสี่ยงที่หนักเกินไป ซึ่งเหล่านักพัฒนา (Innovator) จะมีทักษะพวกนี้ จะต้องปรับเข้าหากันทั้ง 2 ฝั่ง
การสร้างหัวใจ (Entrepreneur spirit) องค์กรขนาดเล็กสามารถนำไปใช้ได้หรือเปล่า ? และควรเอาไปใช้อย่างไร ?

– สำหรับ SMEs การปลดล็อคความคิด (Mind set) ของตนเอง
“วันหนึ่งพนักงานเก่ง ๆ ในบริษัทจะต้องมีวันออกไปตัวผันไปทำ Outrepreneur”
เกิดจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้น จึงควรจะยินดีกับพนักงานที่เราสามารถสอนให้เขาออกไปอย่างเข้มแข็งและกลับมาเป็น Outrepreneur ได้อย่างดีมากกว่าการที่รู้สึกเสียใจว่าต้องเสียพนักงานคนเก่งไปจากบริษัท ซึ่งในอนาคตอาจกลับมาทำงานร่วมกันได้
-ทุกคนเข้ามาต้องมีความอยากสร้างสิ่งใหม่ ถ้าเราปล่อยให้เขาได้ทำ คนแบบนั้นจะขับเคลื่อน (Motivate) ได้ด้วย 3 ประการ คือ
1. อิสรภาพ (Autonomy) การสร้างสภาพให้มีอิสระในทำงานประมาณหนึ่ง และได้ลงแรงในคงามเสี่ยง (Risk) ของเขาเอง
2. ความเชี่ยวชาญ (Mastery) คือควรจะเก่งขึ้น การเก่งขึ้นไม่ได้เก่งจากหัวหน้า แต่จะรู้สึกเก่งขึ้นจากเพื่อนร่วมงานในทุก ๆ วัน เป็นการได้ทำอะไรในสิ่งที่คิดเอง คือการมีผลกระทบ (Impact) ซึ่ง Impact จะเกิดขึ้นได้โดยการทำของออกไปให้คนใช้ ซึ่งถ้าเราสามารถทำให้เขาได้รับ Impact ได้เร็วจะทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองสามารถเรียนรู้ไปกับมันได้
3. วัตถุประสงค์ (Purpose) การที่ Outrepreneur ใส่ใจ (Care) กับอะไรบางอย่าง เพื่อทำให้ของ ๆ ตัวเองมีคนใช้แล้วทำให้เกิดผลตอบรับ (Impact) ขึ้น

ทั้ง 3 อย่าง เป็นการ นำเสนอ (Represent) คนได้ดีมาก คือ เป็นอิสระ, เก่งขึ้น และรู้ว่าทำไปทำไม ถ้าพนักงานเข้ามาในองค์กรใหม่ ๆ มีความอยากเป็น Outrepreneur อยากมาสร้าง อยากมาทำอะไรใหม่ ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ม.ร.ว.สุทธิภาณีเห็นด้วยว่า “การให้รางวัล (Reward) คน ไม่ได้เป็นการ Reward เพียงเงินเดือน แต่เราต้อง Reward ทางอื่นด้วย” ทั้งเรื่องอิสระ,ทางความคิด,อยู่ไปแล้วเก่งขึ้น แล้วก็วัตถุประสงค์ (Purpose)

เราจะบริหารความเสี่ยงจากการให้อิสระอย่างไรนอกจาก Trust ?

การใช้วิธีอย่าง Startup ใช้ คือ LinkStartup, Design Thinking หมายความว่า ไม่มุทะลุจนเกินไป งบประมาณ (Budget) น้อย ความเสี่ยงจะได้น้อยตาม (แต่จะเกิดความล้มเหลว (Fail) แน่นอน แต่จะเกิดน้อย) โดย Startup มีวิธีการบริหารจัดการงบประมาณ, ความเสี่ยง ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ เมื่อมีงบประมาณมากจะไม่เริ่มจากจุดนี้ โดยสิ่งที่ควรเริ่มคือ ต้องรู้ว่าลูกค้า (Customer) ต้องการอะไร จากนั้นทำของออกไปทดลอง (Test) การใช้งบประมาณ (Budget) ไม่ต้องใช้เยอะแล้วดูว่า เกิด Fail Fast, Fail Cheap ควรปรับ MVP (Minimal Viable Product) ตรงไหน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับองค์กรยุคนี้ เพราะได้รับการฝึกฝน (Training) มาหมดแล้ว แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้รับความเสี่ยง ทุกคนจะต้องเจอความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถบริหารจัดการมันให้น้อยได้อย่างไร ดังนั้นจึงมีความต่างมากในการบริหารความเสี่ยง ทำของใหม่ยังไงก็มีความเสี่ยง และถ้าล้มเหลว (Fail) ยังไงก็ต้องมีการเสียเงิน แต่ทำยังไงให้เสียงบไม่เยอะ ซึ่งวิธีเหล่านี้มีวิธีอยู่แล้วว่าจะทดสอบทีละนิดอย่างไรให้ไปถูกที่ถูกทาง
การจะทำงานงานหนึ่ง เราจะการตั้งเป้าหมายอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือ งบประมาณ และระยะเวลา ว่าโปรเจคสามารถทำได้ถึงระยะเวลาประมาณเท่าไหร่ ควรจบตอนไหน ซึ่งจะสามารถทำให้เราคำนวณความเสียหาย (lost) ออกมาได้ ว่าจะใช้คนที่มาทำงานส่วนไหนกี่คน ถ้าผลสุดท้ายงานเกิดการผิดพลาดเราจะใช้การ Feed Back loop เป็นบทเรียน (Lesson learn) เพื่อให้ความเสี่ยงขององค์กรนั้นลดลง

ตัวอย่างของระบบที่ Entrepreneur มีการทำงานแบบ Outrepreneur

  1. SCB 10X มีแอพพลิเคชั่นหนึ่งเรียกชื่อว่า “PartyHaan”
    มีไว้สำหรับคนที่ต้องการแชร์โปรโมชั่นสินค้าเมื่อมีโปรโมชั่น 1 แถม 1 แต่เราต้องการแค่เพียงอันเดียว ต้องการหาคนหารด้วย โดยไอเดียเกิดจากการพูดคุยกัน การทดลองคือเราได้ส่งน้อง ๆ ไปแข่ง Line HAG สุดท้าย ตรวจสอบความถูกต้อง (Validate) น่าจะพอไปไหว น่าจะพอทำได้ แสดงว่าเริ่มมีคนต้องการ (หาคนที่เหมาะสม+เชื่อใจ) เราไม่ได้ทำเป็นแอพพลิเคชั่นแต่เราทำบนไลน์ซึ่งทำง่ายกว่าเพราะคนไม่จำเป็นต้องโหลดอะไรมาใหม่ แต่เป้าหมาย (Goal) ของการทดสอบคือการให้ Budget ไปไม่เยอะ และทำเสร็จให้เร็ว ฟังผลตอบรับว่าคนต้องการ Feature, Caption เพิ่ม จนเห็นความต้องการ (Need) ของคนชัด (Purpose) จนสามารถตัดสินใจทำเป็นแอพพลิเคชั่นได้ แล้วก็ทำกลับไปให้ลูกค้า (Test) ตอบกลับมาแล้วฟัง และมีอยู่ช่วงนึงที่เป็นไวรัลอยู่ในทวิตเตอร์ ลูกค้าต้องการเห็นว่ามีรายการอาหารอะไรบ้าง, กลัวคนโกงกันหรือเปล่าเวลาจ่ายบัตรเครดิต ดังนั้นตอนนี้เลยจะติดระบบ Payment ของ SCB ไว้ก่อนว่าจะจ่ายก่อน จะเห็นว่าเรื่องพวกนี้ไม่ได้ถูกแพลนไว้ก่อน เราจะฟังจากลูกค้าว่าต้องการอะไร แล้วกรอกใส่เพิ่มเข้าไปเรื่อย ๆ แต่ในระหว่างทางเราจะเห็นว่าเราต้องการคนที่อยู่ใกล้ข้อมูลมากที่สุดมาช่วยกรอกข้อมูลว่าลุกค้าต้องการอะไรอย่างไร ซึ่งเป็นคนตัดสินใจ (Data Agreement) ซึ่งเราควรจะให้ Budget เขาเพิ่มในส่วนนี้
  2. SCB Shop Deal
    ใช้เวลา 3 สัปดาห์ มีการทำ Hackathon กันภายในช่วง Covid-19 (หาคนที่เหมาะสม+เชื่อใจ) ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับโรงแรมที่เราคิดว่าเขาน่าจะดำเนินต่อไปได้ แต่ต้องการมีการจองโรงแรมล่วงหน้า (Purpose) ซึ่งเราอยากจะทำให้เห็นว่ามันมีเทคโนโลยีง่ายๆเช่น QR-code ซึ่งทำให้เป็นคูปอง ซึ่งความปลอดภัย (Security) ยังมีไม่มาก เรารู้เพียงแค่ว่าต้องมีเครดิตการ์ด แต่ยังไม่ได้ลองใส่ออกไป เราก็ลองทำออกไปให้ลูกค้าลองใช้ดู (Test) แล้วก็ลองฟังเสียงตอบรับแล้วก็ปรับดู ซึ่งลูกค้าก็ตอบกลับมาว่าอยากให้ใส่เครดิตการ์ด ซึ่งตัวอย่างนี้อยากให้เห็นว่า บางอย่างที่เราคิดออกมากเกินไปมันอาจจะผิด

ตลาดแห่งโลกยุคใหม่ จะอยู่ในรูปแบบของ Work in Progress คือ ทำ -> ทดลอง -> ฟัง -> พัฒนา

คนที่จะทำ Startup จะต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานการบริการธุรกิจและเชี่ยวชาญในเรื่องที่สนใจ โดยใช้เงินคนอื่น เพียงแค่มี Passion และบริหารทีมเป็น ควรจะมีเงินตัวเองร่วมด้วยไม่ใช่ใช้เงินคนอื่นอย่างเดียวใช่ไหม ?

ในนิยาม Startup ไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินเลย แต่คือการเริ่มต้นใหม่ เป็นแค่เพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นที่ต้องคิดว่าจะทำธุริกิจอย่างไรให้สามารถทำซ้ำได้ (Repeatable) และเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Securable) ธุรกิจอยู่ได้ด้วยกำไร (Profitable) ดังนั้นถ้ามองในมุมนี้การทำธุรกิจแบบ Startup คือการทำอะไรก็ได้ให้อยู่ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า กำไรต้องสูงสุด แต่ต้องมีคนใช้เยอะๆ และต้องขยายตัวได้เร็ว มีพื้นฐานของเทคโนโลยีอยู่ด้วย ดังนั้นคำถามของการเงินมาจากไหนล่ะ ? มาจากตัวเองก็ไม่ผิด เพราะStartup หลายๆคนก็มีทุนมาจากตัวเอง และหลายๆคนที่เป็นแบบ Outrepreneur ก็ทำการระดมทุนเพื่อทำให้ตัวเองสามารถดำเนินการธุรกิจของตนเองได้

Startup คือการโกยเงินระยะสั้นทำอย่างไรให้ยั่งยืน ?

ไม่ใช่การโกยเงิน แต่ว่าคือการหาวิธีการคืนทุนและการทำการคืนกำไรให้กับนักลงทุน

การสร้างความสมดุล (Balance) ระหว่าง Creativity กับ Business จะทำอย่างไร ?

ของที่เป็น Innovative ไม่จำเป็นต้องมี Creativity แต่เราต้องทำ

  1. สิ่งของที่ผู้คนต้องการจะใช้ออกมา
  2. ต้องถูกสร้างเทคโนโลยีปัจจุบัน
  3. สามารถหารายได้ได้

ซึ่งถ้าเราสามารถทำ 3 อย่างนี้พร้อมกันได้ จะสามารถสร้างธุรกิจขึ้นมาได้ สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องสมดุลกัน เราจำเป็นต้องมีความรู้ให้ถึงจุดหนึ่งก่อน แล้วเปิดพื้นที่ให้ต่อยอดโดยไม่ยึดติดกับความคิดเดิม ๆ

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine for Business EP.9

2.6k
SHARE

Super Sale เปิดโลกการขายทะลายกำแพง

สิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการทำธุรกิจคือยอดขาย เพราะฉะนั้นศาสตร์แห่งการขายจึงมีความจำเป็น ซึ่งการขายมีหลายขั้นตอนและหลายรูปแบบทั้งแบบ B2B (Business-to-Business) และ B2C (Business-to-Consumer) ใน EP.9 จึงมาในหัวข้อ “Super Sale เปิดโลกการขายทะลายกำแพง” กับสุดยอดนักขายทั้งสองท่านคือ “คุณณรงค์เวทย์ วจนพานิช” B2B Business Director บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด นักขายและนักการตลาดที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจของเมืองไทย และ “คุณธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ (คุณหนึ่ง)” Co-Founder บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ผู้เป็นเจ้าของแฟนเพจเฟซบุ๊กสินค้าเด็กที่มียอดผู้ติดตามมากกว่า 369,000 คน และเป็น 1 ใน 10 CEO ของคนไทยที่ได้เป็น Facebook Alpha testers หรือผู้ที่เฟซบุ๊กให้ทดลองใช้เครื่องมือที่ใช้ยิงโฆษณาบนเฟซบุ๊ก

นักขายหรือ “sale person” ในยุคก่อนผู้คนมักจะคิดถึงภาพของคนที่ถือแคตตาล็อกเคาะประตูขายตามหน้าบ้าน แต่ในโลกยุคใหม่นิยามของนักขาย มีคำจำกัดความเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร

เราต้องเข้าใจคำว่า “ขาย” ก่อน การทำธุรกิจจะมีคำว่ายอดขายกับคำว่าขายของ ถ้าพูดถึงธุรกิจแล้วสิ่งที่สำคัญคือ “ยอดขาย” ซึ่งยอดขายจะเป็นตัวที่คลุมธุรกิจอยู่เป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เราต้องการ เวลาเราทำการตลาดเราก็ต้องอยากให้ยอดขายเราดี แต่ถ้าพูดถึง “การขาย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตลาด ใน classic theory การขายโดย personal selling จะอยู่ใน promotion mix เพราะฉะนั้นการขาย คือช่องทางที่ใช้สื่อสารกับลูกค้า
คุณณรงค์เวทย์พูดถึงนิยามของการขายในยุคสมัยนี้ว่า การขายคือ การที่นักขายหรือเซลล์จะเป็นคนที่นำสิ่งดีๆ ไปให้ลูกค้า โดยที่บางครั้งลูกค้าไม่รู้ว่าตัวเองต้องการ หน้าที่ของนักขายคือหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ไปนำเสนอ ทำให้ลูกค้ารู้ว่าสินค้านี้คือสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมันไม่เหมือนในสมัยก่อนที่นักขายต้องเที่ยวป่าวประกาศหรือว่าไปเคาะประตูบ้านเชิญชวน เพราะยุคสมัยได้เปลี่ยนไปแล้ว อีกทั้งลูกค้าก็สามารถหาข้อมูลจากสินค้าได้จากหลายช่องทาง

อยากทราบเรื่องของงานขายที่เป็นส่วนหนึ่งของการตลาด เพราะในบางองค์กรฝ่ายขายกับฝ่ายการตลาดจะแยกฝ่ายกันและอาจมองคนละมุมกัน

การตลาดกับการขายในมุมมองของคุณหนึ่งในฝั่งของ B2C ฝ่ายการตลาดต้องทำหน้าที่สื่อสารให้ลูกค้ารู้ว่ามีสินค้าอยู่บนโลกและนี้อยู่ใกล้ๆ ตัวลูกค้า สามารถหาซื้อได้ที่ไหนในราคาที่เป็นที่ต้องการ ส่วนมากจะเป็นการขายผ่านช่องทางของการ Communication ด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นและดึงลูกค้ามาหาคนขายซึ่งก็คือตัวแอดมินเพจ การตลาดเปรียบเสมือนคนติดตั้งอาวุธให้กับคนขาย คนขายเหมือนเป็นนักรบออกไปรบ ถ้าการตลาดมีอาวุธที่ไม่ดี ออกไปรบก็จะแพ้สู้ไม่ได้ แต่ในฝั่ง B2B ของคุณณรงค์เวทย์นั้น นักขายเป็นคนที่ต้องไปเจอคนที่ทำหน้าที่ซื้อของให้กับองค์กรของลูกค้า ทำให้นักขายมีบทบาทสูงมาก เพราะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารการตลาด หรือเป็น Marketing-Arms โดยมีสูตรสมการแห่งความสำเร็จที่คุณณรงค์เวทย์สร้างขึ้น คือ

  1. สินค้าเป็นที่ต้องการของลูกค้าไหม ถ้าลูกค้าต้องการจะขายง่าย
  2. ความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้าดีไหม ถ้าดีจะมีโอกาสปิดการขายได้สูงขึ้น
  3. ความสามารถของตัวนักขายเองว่าทำหน้าที่ได้สมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิกภาพหรือการนำเสนอ

สามตัวนี้เป็นสมการเอาสมการมาบวกกันให้เป็นก้อน แล้วตัวที่คูณคือความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ซึ่งความสามารถในการแข่งขันขององค์กรมีความสามารถเรื่องการตลาดเป็นปัจจัยที่สำคัญ จะเห็นว่า องค์กรไหนมีทีมการตลาดที่แข็งแรง นักขายจะสบาย เพราะตัวคูณมันใหญ่ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่องค์กรมีการแข่งขันหรือมีความสามารถในการตลาดน้อย ก็จะต้องใช้ของตัวแรงข้างหน้าเยอะขึ้น

สมการความสำเร็จ : (สินค้าเป็นที่ต้องการของลูกค้า + ความสัมพันธ์ของเรากับลูกค้า + ความสามารถของนักขาย) x ความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

สิ่งที่เราต้องพิจารณา คือการขายกับการตลาดต้องทำงานไปด้วยกัน เข้าอกเข้าใจกัน รู้ข้อมูลแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ในอดีตโลกไม่ซับซ้อนขนาดนี้ และมันเป็นยุคแห่งการผลิต บริษัทสินค้าออกมาตัวนึงสามารถกระจายได้หมด นักขายมีหน้าที่เอาไปบอกลูกค้าว่าดีนะซื้อเถอะ มันง่ายแบบนี้
แต่ในปัจจุบัน เมื่อออกสินค้ามาแต่ไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการ มันก็เลยกลายเป็นย้อนกลับ กลายเป็นนักขายต้องกลับมาบอกการตลาดกับผู้ผลิตว่าลูกค้าต้องการอะไรแบบไหน เพื่อที่การตลาดจะได้ไปปรับผลิตภัณฑ์และช่องทางการขาย เพื่อตอบสนองโจทย์ความต้องการของลูกค้า นักขายเลยไม่ใช่การสื่อสารทางเดียว (one way communication) ที่นำข้อมูลไปให้ลูกค้าอย่างเดียวเหมือนเมื่อก่อน แต่ตอนนี้ต้องเอาข้อมูลตลาดกลับมาให้ด้วย นักขายเลยกลายเป็นตัวแทนองค์กรให้ลูกค้า และเป็นลูกค้าให้องค์กร

ปัญหาระหว่างฝ่ายการตลาดและฝ่ายเซลล์

จากประสบการณ์ของคุณณรงค์เวทย์ฝ่ายการตลาดกับเซลล์ ถ้าบริษัทไหนแข็งแรงจะเป็นทีมเดียวกัน คือ ออกตลาดด้วยกัน มีโอกาสไปพบลูกค้าบ้าง การที่ฝ่ายการตลาดไปพบลูกค้าบ้างก็จะทำให้เห็นของจริงและรู้ว่าจริงๆ ภาคสนามต้องการแบบนี้ ลูกค้ามีความคิดแบบนี้ เค้าก็จะเอาสิ่งเหล่านี้ไปคุยกับโรงงาน หรือถ้าฝ่ายการตลาดไม่ได้ไปหาลูกค้า การตลาดกับเซลล์ต้องเชื่อใจกัน เค้าจะฟังเซลล์พูดแล้วเค้าก็จะเชื่อ อันนี้ถือเป็นข้อดี แต่อันที่ไม่ดีที่ทะเลาะกันบางทีก็เกิดจากเซลล์ออกตลาดฝ่ายการตลาดไม่ได้ออก หรือฝ่ายการตลาดออกตลาดแต่มีความคิดที่ไม่เหมือนกับเซลล์แล้วไม่ได้สื่อสารกัน ในมุมมองคุณณรงค์เวทย์คือ B2B การตลาดต้องฟังเซลล์ เพราะเซลล์อยู่กับลูกค้า แล้วลูกค้า B2B คือเป็นองค์กรตัวเป็นๆ จับต้องได้

คุณหนึ่งเสริมในมุมของ B2C ว่า องค์กรเล็กๆ จะง่ายกว่าในเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า เพราะฝ่ายการตลาดเองก็สามารถฟัง Feedback จากลูกค้าด้วยตนเองได้จากการที่ไปออกงานแฟร์ เพราะลูกค้าที่มางานก็คือกลุ่มคุณแม่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

ในโลกของ B2B ต้องใช้ตัวคนเป็นตัวเชื่อม แต่โลกของ B2C ยิ่งในยุคใหม่ Digital เป็นตัวเชื่อมให้เราได้สัมผัสกับลูกค้าโดยตรง อยากให้คุณหนึ่งแชร์เทคนิคการขายของในโลกออนไลน์ ที่สามารถทำการขายให้มันเกิดยอดขายได้

คุณหนึ่งกล่าวว่า ต่อให้เป็น B2C หรือออนไลน์  Concept จะสอดคล้องกับสิ่งที่คุณณรงค์เวทย์กล่าวไปข้างต้น คือเซลล์เป็นมากกว่าคนขายแต่เป็นตัวแทนของแบรนด์
นอกจากจะช่วยปิดการขายแล้วยังสร้างความเข้าใจ และยังเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของการตลาด สำหรับ SME เล็กๆ ของคุณหนึ่งซึ่งคุณหนึ่งเองเป็นทั้งฝ่ายการตลาดและคนขาย โดยทีมขายของคุณหนึ่งก็คือน้องๆ แอดมิน คุณหนึ่งมองว่าคนที่เป็นเซลล์แมน หรือคนขายซึ่งก็คือตัวแอดมินเพจมีความสำคัญมาก บางทีทำทุกอย่างหมดแล้วทั้งโพสต์ขายของ ยิงโฆษณา แต่มักจะตกม้าตายตอนที่แอดมินตอบลูกค้า ดังนั้นผู้ประกอบการที่เป็น SME ไม่ควรมองข้ามเรื่องนี้
ในแง่ของฝ่ายการตลาดเวลาทำโปรโมชั่นออกไป หรือคิด Content ที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้แล้ว จะบอกทีมแอดมินหรือฝ่ายขายก่อนเสมอว่า วันนี้ Content ที่จะปล่อยมีสินค้าอะไรบ้าง หรือโปรโมชั่นที่กำลังจะมาถึงคืออะไร เพราะทุกวันนี้เราเจอโปรโมชั่นวันเดือน เช่น 5 เดือน 5, 6 เดือน 6 ซึ่งเป็น Big Sale หมดเลย ตรงนี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะว่าก่อนที่จะถึงวันที่จะปล่อยโปรโมชั่นใหม่ ต้องมีการวางแผนที่เรียกว่า Teasing period คือการต้องกระตุ้นให้คนรับรู้ก่อน โดยการยิงแอดหรือทำโปสเตอร์นำหน้าไปก่อนวันจริง ต้องโปรโมทให้คนรู้ก่อนว่าแคมเปญ 5-5 แบรนด์ของเราก็เข้าร่วมเป็น Super Brand Day
ดังนั้นทีมแอดมินก็ต้องเตรียมพร้อมว่าถ้าลูกค้าทักเข้ามาก่อนหน้าจะทำยังไง จะบอกลูกค้าให้เอาสินค้าใส่ตะกร้าก่อนมั้ยแล้วค่อยจ่ายเงินในวันนั้นรึเปล่า เพราะฉะนั้นทั้งสองฝ่ายต้องทำงานต่อเนื่องกัน สุดท้ายเหมือนที่คุณณรงค์เวทย์พูดว่า พอเราเป็นฝ่ายการตลาดวางแผนออกไป มันไม่ได้ปังทุกโปรโมชั่นทุกแผนที่เราคิด ก็ต้องเช็คกับฝ่ายขายหรือแอดมินที่ได้รับ Feedback จากลูกค้าโดยตรงว่า โปรโมชั่นที่เราปล่อยไปที่ผ่านมามีผลตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างไร Video Content ที่ปล่อยไปลูกค้าเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อไหม หรือลูกค้ายังกลับมาถามคำถามที่อยู่ในวิดีโออยู่แล้ว แล้วนำ Feedback นั้นมาปรับปรุง ทำให้การขายหรือการตลาดมันสานสัมพันธ์กันง่ายขึ้นและต่อเนื่องขึ้น

ถ้าพูดถึงการขายในยุคดิจิตอล คุณหนึ่งจะแบ่งเป็นสองหมวดใหญ่ๆ ในฝั่งเฟซบุ๊กคือ Chat commerce และ Live commerce

Chat commerce คือ การคุยกันแล้วก็ปิดการขาย โดยมี Key success คือ

  1. เขียนแคปชั่นให้โดน 3 บรรทัดวัดใจ ในเฟซบุ๊กเวลาเขียนแคปชั่นอะไรก็ตามจะเห็นแค่ 3 บรรทัดแรกเท่านั้นถึงแม้คนจะกดดูข้อความเพิ่มเติมได้ สิ่งที่สำคัญคือ เพราะว่าถ้าเอาลูกค้าไม่อยู่ภายใน 3 บรรทัดแรก ลูกค้าจะไม่แตะดูวิดีโอ ไม่กดอ่านเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นเรื่องแคปชั่นและสกิลในการเขียนสำคัญมาก
  2. ตอบให้ไวภายใน 5 นาที เฟซบุ๊กบอกว่าถ้าคุณสามารถตอบข้อความ 1 ข้อความภายใน15นาทีจะได้สัญลักษณ์ตอบเร็วที่หน้าเพจ แต่ว่าจากการที่คุณหนึ่งได้สัมผัสกับลูกค้าโดยตรงรู้สึกว่าลูกค้ามีความอดทนไม่เกิน 5 นาทีเท่านั้น ดังนั้นถ้าตอบได้ภายใน 5 นาทีจะช่วยให้ปิดการขายง่ายขึ้น เพราะเราคุยกับลูกค้ามันก็เกิดการ engage แล้ว สามารถถามคำถามลูกค้า ป้อนโปรโมชั่น และปิดการขายได้เลย ไม่อย่างนั้นลูกค้าก็จะมีสิทธิ์ที่จะกดเข้าไปหาเพจอื่น หาข้อมูลเพิ่มเติมใน Lazada Shopee
  3. เรื่องบทสนทนา เซลล์สคริปต์ mood and tone เราคุยกับลูกค้าในกล่องข้อความเฟซบุ๊กซึ่งมันไม่มีโทนเสียง ไม่ว่าเราพิมพ์อะไรไปมีสิทธิ์ที่จะสื่อความหมายแบบผิดๆ ไป ดังนั้น dialogue ต้องระมัดระวังเป็นอย่างดี พวกอีโมจิหัวใจเล็กๆ ก็สามารถเอามาใช้ได้ ใช้เครื่องมือของเฟซบุ๊กให้เป็นประโยชน์
    เช่น พวก Save reply หรือพวกข้อความตอบกลับอัตโนมัติ เพราะบางทีลูกค้าชอบถามคำถามพื้นฐานที่เราต้องตอบแบบนี้หลายครั้งต่อวัน เลยต้อง save reply ข้อความแบบนี้ไว้ ใน Line@ สิ่งนี้จะเรียกว่า quick reply

Live commerce คือการไลฟ์สด โดยมีสิ่งสำคัญคือ

  1. นัดเวลาก่อนไลฟ์ คุณหนึ่งเชื่อว่าถ้าไม่นักเวลาก่อนไลฟ์จะไม่มีคนดูถึงมีก็อาจจะน้อย เพราะลูกค้าไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราจะไลฟ์
  2. ไลฟ์เป็นประจำ เพราะลูกค้าจะได้รู้ว่าต้องติดตามทุกวันไหนเวลาไหน เราก็สามารถที่จะ engage กับแฟนพันธ์แท้ของเราได้
  3. แจกของ เป็นสิ่งที่คุณหนึ่งทำแล้วประสบความสำเร็จมาก ถามว่ามีมั้ยพวกที่เป็นนักล่ารางวัล ตอบเลยว่ามี แต่สุดท้ายแล้วตอนที่เราเลือกผู้โชคดีเราก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกเอาคนที่เป็นลูกค้าของเราจริงๆ การที่ไลฟ์แล้วมีการแจกของนิดหน่อยช่วยได้แน่นอนเพราะลูกค้าจะคอมเมนต์และแชร์ ซึ่งเป็นอัลกอริทึ่มที่เฟซบุ๊กชอบมาก เพราะจะมีการวัดว่าจากการไลฟ์หรือวิดีโอที่เราโพสต์ไปล่าสุดเทียบกับของ 9 วันที่ผ่านมา ยอดคอมเมนต์และแชร์สูงกว่ารึเปล่า ถ้ามันสูงกว่ามันจะไปโผล่ในช่อง watch ของคนที่ไม่ใช่แฟนเพจเราด้วย
  4. เนื้อหา content ของการไลฟ์ ถ้าในฐานะเป็นเซลล์ก็ต้องรู้จักสินค้าของเราเป็นอย่างดี รู้จักวิธีการนำเสนอสินค้าให้น่าเชื่อถือ
ตั้งเป้าอย่างไรถึงจะรู้ว่าโปรโมชั่นได้ผล

วัดผลจากตัวยอดขายเช็คกับทีมแอดมินว่าเมื่อโปรโมชั่นนี้มีคนซื้อกี่คนหลังจากปล่อยออกไป และเมื่อเทียบกับโปรโมชั่นที่แล้วยอดขายสินค้าที่ขายได้ทั้งหมดมันเท่ากันหรือดีขึ้นรึเปล่า ถ้าไม่ดีก็กลับมาแก้ไข จริงๆ แล้วเวลาทำโปรโมชั่นสักอย่างมันจะขึ้นอยู่กับคอนดิชั่นของสินค้าและสต๊อกของด้วย อย่างถ้ามีสต๊อกเยอะอาจจะทำโปรโมชั่นซื้ออันนี้แถมอันนั้นไปเลย

คุณหนึ่งคอนโทรลทีมแอดมินอย่างไรให้มีมาตรฐาน

K.P.I แรกคือเรื่องของความเร็วในการตอบโดยต้องตอบภายใน 5 นาทีถ้าทำได้ คุณหนึ่งจะสุ่มเข้าไปตรวจบางวัน และโดยปกติจะคุยกับทีมทุกอาทิตย์อยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ 1 เดือนคุยทีจะเป็นประชุมแบบออฟไลน์ โดยจะเรียกทีมแอดมินมาที่บ้าน แล้วก็หยิบเคสที่เป็นปัญหาด้านการตอบมาแปะเป็นโพสอิสไล่เลยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง จากนี้ไปถ้าเจอปัญหาแบบนี้เซลล์สคริปต์จะตอบว่าอะไร

ทีมเซลล์ในมุมขององค์กรมีทีมเซลล์เยอะ ทำอย่างไรที่จะควบคุมมาตรฐานหรือการจะฝึกให้เค้าเป็นเซลล์มืออาชีพแบบที่เราต้องการต้องทำอย่างไร

สำหรับธุรกิจ B2B หัวใจสำคัญเริ่มตั้งแต่การกำหนดบทบาทแล้ว เราต้องอธิบายให้เค้าฟังว่าเค้าต้องทำหน้าที่อะไรบ้าง เช่น ในทีมของคุณณรงค์เวทย์จะบอกน้องๆ ว่าทุกคนต้องเป็น sales corporate representative คือเป็นตัวแทนบริษัท จะเป็นตัวของตัวเองหมดไม่ได้ เพราะเซลล์ต้องแบกภาพขององค์กรไปพบลูกค้า เพราะฉะนั้นจะทำอะไรตามใจด้วยบุคลิกนิสัยของเค้าทั้งหมดไม่ได้ มันจำเป็นต้องมีเรื่องของบริษัทเข้าไปอยู่ในตัวเค้า โดยที่เซลล์ต้องเป็น single window คือตัวแทนลูกค้าในบริษัท หมายถึงทุกปัญหาที่ลูกค้าบอกมา คุณปฏิเสธไม่ได้ เค้าอยากเจอใครใน SCG อยากทำอะไรใน SCG เซลล์ต้องรู้ ในเรื่องของการวัดผล เราก็ต้องไปดูว่าเราอยากให้เค้าทำอะไรในช่วงนั้น เช่น การเข้าไปในงานของลูกค้า การไปตอบสนองความต้องการของลูกค้า การไปช่วยลูกค้าแก้ปัญหาด้วยการทำงาน
เพราะฉะนั้นเวลาวัดผล คือ น้องๆ ต้องออกแบบประเมินตัวเองว่า เค้าได้เข้าใจปัญหาของลูกค้าที่เค้าดูแลอยู่มากน้อยแค่ไหนแล้วให้ลูกค้าประเมิน สอง คือเค้าได้ใช้ความพยายามมากแค่ไหนในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า
อันนี้ก็จะเป็นตัวอย่างที่ว่า ถ้าเราต้องการให้เขาทำอะไรเราก็จะวัดผลในตรงนั้น แต่เนื่องจาก B2B คุณณรงค์เวทย์เองก็จะมีรอบไปพบลูกค้า ก็จะเป็นการเช็คน้องๆ ในทีมได้เหมือนกันว่าเข้าถึงลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน เรียกว่าถ้าเราอยากพบลูกค้าเค้าต้องนัดให้เราได้ แสดงถึงเค้าเข้าถึงลูกค้าได้จริงๆ ถ้าเค้านัดแล้วลูกค้าไม่ยอมพบ ก็ต้องคุยกันแล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้น กับอีกอันคือระบบ voice of customer คือช่องทางให้ลูกค้าได้โทรหรือร้องเรียนเข้ามา แต่ในแง่ของงานแล้ว ช่องนั้นก็ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะว่า เซลล์ที่ดูแลองค์กรลูกค้าจริงๆ แล้วเนี่ยเค้าอยู่กับลูกค้า เค้าก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาให้องค์กรเองด้วยซ้ำ

เซลล์เป็นตัวแทนของบริษัทให้กับลูกค้าและเป็นตัวแทนของลูกค้าให้บริษัท = single window คือเซลล์เป็นมากกว่าคนขายแต่จะเป็นสะพานและเสียงของลูกค้าด้วย

B2B เซลล์ต้องไปหาลูกค้าค่อนข้างเยอะ ในยุคโควิดที่ไม่สามารถพบลูกค้าได้ มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร

ทีมขายของคุณณรงค์เวทย์แก้ปัญหาโดยการทำคลิปขึ้นมา เป็นคลิปที่ถ่ายเอง แสดงเอง เขียนบทเอง แล้วส่งให้ลูกค้าเป็นรายบุคคล ทำคลิปเฉพาะใครเฉพาะมัน ถ้าสมมติในคลิปที่ส่งไปมีสินค้าหรือเนื้อหาที่ลูกค้ากำลังคิดถึงอยู่หรือต้องการอยู่พอดี ลูกค้าก็จะเป็นฝ่ายยกสายคุยแล้วก็จะเกิดการนัดกันเกิดขึ้น

กรณีที่ธุรกิจขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ทีมเซลล์ต้องเข้าใจกลยุทธ์การตลาดทั้งสองช่องทางหรือไม่ เพราะลูกค้าอาจจะดูข้อมูลทั้งสองช่องทางและอาจสอบถามเซลล์ที่ติดต่อด้วย

ฝั่งคุณหนึ่งสินค้ามีจำหน่ายที่ห้างด้วยคือเดอะมอลล์เซ็นทรัล มีประมาณ 22 สาขา คุณหนึ่งจะมี PT Supervisor คอยดูแล โดยคุณหนึ่งเค้าจะต้องเข้าไปคุยกับ PT ห้าง ดังนั้นเวลามีโปรโมชั่นทางออนไลน์ก็จะวางแผนโปรโมชั่นทางห้างด้วย ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่คำนวณราคาที่ลดลงมาแล้วก็สูสีกัน เพราะทางห้างก็จะมีโปรโมชั่นของทางห้างด้วย เช่น ใช้แต้มบัตรเครดิตลดราคา คนที่ซื้อของเก่งๆ ซึ่งคุณหนึ่งมักเรียกว่าคุณแม่เหรียญทอง เค้าจะรู้ว่าซื้อที่ห้างถูกกว่าออนไลน์ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ยังไงก็ต้องบอกกัน ออฟไลน์หรืออนไลน์ทุกคนต้องรู้เหมือนกัน

ม.ร.ว.สุทธิภาณีสรุปว่า ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ไม่แยกจากกัน เพราะมันเป็น on life of consumer เมื่อเอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง เราในฐานะของแบรนด์ต้องสามารถตอบคำถามได้ ยิ่งลูกค้าในยุคนี้บางทีอยากรู้เรื่องออฟไลน์มาถามในออนไลน์ เรื่องออนไลน์ไปถามในออฟไลน์ เซลล์ แอดมิน ตัวแทนขาย หรือคนที่ต้องอยู่กับลูกค้าถือเป็นหน้าต่างของแบรนด์ ต้องตอบคำถามได้ ถ้าจะสมบูรณ์ต้องตอบได้ตั้งแต่ฟังก์ชั่นสินค้าไปจนถึงโปรโมชั่น หรือถ้าตอบไม่ได้ต้องรู้ว่าจะส่งต่อให้กับใครเพื่อตอบคำถามให้ได้ ในยุคนี้การมี Interaction การมี engage และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

คุณณรงค์เวทย์เสริมว่า โดยเฉพาะในธุรกิจ B2B ถ้าเซลล์ตอบข้อมูลไม่ได้หรือตอบผิดจะกระทบความน่าเชื่อของเซลล์และองค์กรทันที เซลล์ที่เป็นตัวแทนบริษัทต้องทำการบ้านเรื่องข้อมูลดีๆ มีน้องในทีมบ่นว่าข้อมูลเยอะ มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องเลือกข้อมูลให้ลูกค้า อย่าให้ลูกค้าปวดหัว เราต้องปวดหัวแทนลูกค้า

ในมุมมองของนักขายมืออาชีพ คิดว่าเราจะทำยังไงให้ยอดขายของบริษัทเพิ่มมากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

ในฝั่ง B2C คือ

  1. ต้องเพิ่มเครื่องมือในการขาย เช่น สื่อโซเชียลมีเดียที่มีตอนนี้ก็มีช่องทางการขายเยอะขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตราแกรมก็มีไอจีทีวี Shopee Lazada ก็มีเครื่องมือที่ช่วยขายไม่ว่าจะเป็นคูปองส่วนลดต่างๆ โดยแค่มากดติดตามร้าน หรือโค๊ดส่วนลดเพิ่มถ้าเป็นการซื้อครั้งแรก ทุกๆ ช่องทางจะมีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยขายของเยอะมาก อย่างล่าสุดไลน์ก็สร้างฟีเจอร์ใหม่มาคือชื่อ Line my shop สร้างร้านขายของของเราใน Line@ ตอนนี้คุณหนึ่งก็พยายามไลฟ์ในเฟซบุ๊กมากขึ้นจากที่ก่อนหน้านี้ไลฟ์ไม่บ่อยสักเท่าไหร่ เห็นได้ชัดเจนเลยว่าพอไลฟ์แล้วยอด engage มากขึ้น ยอดขายก็โตขึ้นทันทีทุกครั้งที่ไลฟ์ไป
  2. พยายามทำเรื่องโปรโมชั่นเพิ่มเติมมากขึ้น เนื่องจากตอนโควิดมาแรกๆ ยอดขายฝั่งทางห้างหายหมดเลยห้าถึงหกแสน ดังนั้นพอคุณหนึ่งรู้ว่าห้างจะปิด ก็ดึงสต๊อกกลับมาก่อน หลังจากนั้นเอาตัว margin ที่ต้องจ่ายให้ห้างทำเป็นส่วนลดพิเศษ เอาตรงนั้นมาคืนกำไรให้กับลูกค้าเป็นโปรโมชั่น
  3. ทำ partnership project เพื่อเพิ่มยอดขาย เหมือนกับการเพิ่มกระเป๋าอีกใบ โดยไปหาคนที่ขายสินค้าเด็กแล้วดูว่าเค้ามีสต๊อกสินค้าตัวไหนบ้าง ให้เค้าเอาสินค้ามาให้เราช่วยขาย แล้วได้ margin ตรงนี้เป็นรายได้อีกช่องทางนึง เนื่องจากเพจคุณหนึ่งเป็นเพจใหญ่ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว

ฝั่ง B2B สิ่งที่ทำคือ ตั้งคำถาม เพราะเราอยู่กับลูกค้ามานาน มีอะไรที่ลูกค้าบ่นให้เราฟัง เช่นเรื่องซัพพลายเออร์ หรือสินค้าตรงไหนที่เค้ายังหาไม่ได้หรือหาได้แต่ไม่ดีพอ หรือลูกค้าต้องการอะไร แล้วเราก็ไปหาสิ่งๆ นั้นมาตอบสนองความต้องการลูกค้า อะไรที่ไม่เคยทำก็ต้องทำ ถ้ามันยังอยู่ในความสามารถขององค์กรก็อาศัยช่องวางหรือ pain เข้าไปช่วยลูกค้า กลายเป็นว่าความสามารถขององค์กร เราต้องมองให้ออกว่าคืออะไร ความสามารถมันไม่ได้เป็นผลผลิต ไม่ได้เป็นแค่สินค้าแล้ว บางอย่างบางสินค้าเราไม่ได้ผลิต แต่เรารู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรและเรารู้ว่าต้องทำยังไงถึงจะตอบโจทย์ลูกค้าได้ ก็ไปหา Partner ที่เค้าผลิตสินค้านั้น แล้วพาเค้าเข้าไปหาลูกค้า ลูกค้าก็วินเพราะเราหาของดีมาให้เค้า ในส่วนของผู้ประกอบการที่มีของดีก็ได้เราได้การพาเข้าหาลูกค้า เป็นการทำธุรกิจแบบวินๆ ธุรกิจมันถึงจะโตได้

เทคนิคพิเศษหรือเคล็บลับในการเป็นเซลล์ที่ดี

สิ่งสำคัญที่ทำให้เซลล์มีพลังในการไปขายคือ เซลล์ต้อง buy in ก่อน คือเซลล์ต้องเชื่อก่อนว่าสินค้าที่เราขายนั้นดีกับลูกค้าจริงๆ ถ้าไม่ดีเราไม่แนะนำ แล้วถ้าลูกค้าไม่ซื้อ เราก็จะรู้สึกเสียใจว่าลูกค้าไม่ได้ของดีๆ ไป ถ้าเซลล์ buy in ก็จะหาทางขายจนได้ เพราะอยากมอบสิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งตอนนี้คุณณรงค์เวทย์ก็ทำเรื่องของ mind set กับน้องในทีม โดยใช้ marketing brief เล่าให้น้องในทีมขายรู้สึก buy in กับสินค้า แล้วรู้ชัดเจนว่าสินค้านี้ควรจะไปขายให้ใคร แล้วลูกค้าจะซื้อด้วยเหตุผลใด ถ้าไม่ buy in ก็ไม่ต้องไปขาย เพราะเวลาไปเจอกับลูกค้า มันจะไม่สุดโดนอะไรหน่อยก็ถอย ลูกค้ารู้สึกได้ เซลล์ก็จะเสียเวลาเปล่า เพราะไปแล้วก็ปิดการขายไม่ได้ แต่ถ้าขายได้ ลูกค้าก็ไม่แฮปปี้กับเราอยู่ดี
คุณณรงค์เวทย์จะบอกทีมเสมอว่า ถ้าลูกค้าโตเราก็โต การขายของที่ทำให้ลูกค้าเสียเปรียบลูกค้าไปแข่งไม่ได้ เราก็ไม่โต

สำหรับคุณหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือคำว่า “ใส่ใจ” ย้อนไปตั้งแต่คุณหนึ่งเริ่มทำธุรกิจเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ตอนนั้นไม่มีใครรู้จักยางกัด คุณหนึ่งเลยรู้สึกว่าสินค้าตัวนี้จะไปช่วยเหลือหรือมีประโยชน์อะไรกับเด็ก ทำไมเด็กต้องใช้ยางกัด จนไปพบข้อมูลของทันตแพทย์ที่ออสเตรเลียว่า เด็กจำเป็นต้องใช้ยางกัดเพราะเวลาฟันจะขึ้น ฟันจะแทรกตัวขึ้นจากเหงือก ทำให้เด็กจะมีความเจ็บมาก การที่มียางกัดนวดเหงือกให้นิ่มจะทำให้ฟันโผล่มาง่ายขึ้น เมื่อรู้ว่าแบบนี้ทุกครั้งเวลาจะเขียน content หรือจะสื่อสารกับลูกค้า มักจะเริ่มต้นว่า “สินค้าเราแก้ปัญหาให้เค้าได้ยังไง” เช่น น้องๆ วัยหกเดือน อาจจะมีปัญหาเรื่องการเริ่มทานข้าว ช้อนอันนี้ดีไซน์มาให้เด็กจับถือได้ถนัด คุณหนึ่งจะใช้ Why หรือทำไม เค้าต้องซื้อของเรา สินค้าเราแก้ปัญหาได้อย่างไร เป็นตัวนำ แล้วความใส่ใจตรงนี้มันถูกส่งต่อไปหาทางแอดมินที่เป็นคนขาย บางครั้งลูกค้ามาถามสินค้าที่เราไม่ได้ขายด้วยซ้ำ แอดมินต้องไปค้นหาในกูเกิ้ลแล้วส่งลิงก์กลับไปให้ลูกค้า ว่าสินค้านี้เราไม่ได้ขายแต่ลูกค้าลองไปดูที่ร้านนี้ได้นะครับ เป็นโมเมนต์เล็กๆ ที่ทำให้เค้ารักเรา ถึงแม้เค้าจะไม่ซื้อของเราเพราะลูกค้าอาจจะโตแล้ว แต่คุณหนึ่งเชื่อว่า ถ้าสมมติว่ามีเพื่อนถามว่าจะซื้อของๆ เด็ก หรือยางกัดซื้อที่ไหนดี เค้าน่าจะนึกถึงเราก่อน โลกปัจจุบันลูกค้าสัมผัสได้ว่าแบรนด์ไหนรักและใส่ใจลูกค้าจริงๆ

ทีมขายที่แข็งแกร่งในอนาคตต้องมีสกิลอะไรบ้าง

สิ่งที่สำคัญเลยคือต้องเป็นคนที่เข้าใจมนุษย์ เพราะเซลล์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ไม่ใช่ท่องตามสคริปต์ เราต้องเข้าใจว่าความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าคืออะไร แล้วติดปัญหาอะไรทำไมเค้าถึงไม่ซื้อสินค้าเรา อย่างน้อยถึงขายไม่ได้ก็ไม่กลับบ้านมือเปล่า ถ้าเราไม่รู้ปัญหาตรงนี้ ไปขายอีกก็ขายไม่ได้ รองลงมาคือต้องสมองเปิด เซลล์ต้องมีความคิดใหม่ๆ ลองอะไรใหม่ๆ เพราะวิถีเดิมเอาไว้ในยุคเดิมๆ ตอนนี้ยุคใหม่ต้องทำใหม่ ต้องรู้จักการ re skill, up skill เพราะเซลลเป็น access ที่ดีขององค์กร เพราะจะคว้าโอกาสทางธุรกิจเข้ามาให้เยอะแยะ ที่เหลือคือมาร์เก็ตติ้งกับผู้บริหารจะเอาหรือไม่เอาเท่านั้นเอง

หลายๆ ธุรกิจถึงจุดหนึ่งที่ยอดขายไปได้ในระดับที่สูงแล้ว อาจจะมองถึงการขยายหรือการเติบโตไปยังตลาดใหม่ๆ ทั้งสองท่านมีข้อแนะนำหรือมี check list อะไร หรือจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองพร้อมแล้ว

ในมุมของ SME ต้องมองจาก Positioning ของตัวสินค้าของเราในตลาด ว่าส่วนแบ่งตลาดของเราอยู่ในตำแหน่งไหน ดูตัวยอดขายของเรากับคู่แข่งใน segment เดียวกัน ถ้าตอนนี้เราเป็นที่หนึ่งอยู่ ดังนั้นก็ถือว่ามีความมั่นคงในระดับนึงแล้ว เวลาก้าวไปสู่ตลาดใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือต้องทำการวิจัยการตลาดก่อน ดูว่าตลาดของเค้ามีความต้องการแบบนี้มั้ย อย่างตอนนี้คุณหนึ่งสนใจตลาดเวียดนามจึงใช้เครื่องมือ audience insight ในเฟซบุ๊กดูว่าคนที่เวียดนาม ถ้าพูดถึงสินค้าเด็ก เค้าสนใจอะไรเป็นอันดับต้นๆ หรือเค้าได้ไปติดตามเพจไหนบ้าง ต้องเข้าไปดูตรงนี้ก่อน แล้วพอถึงเวลามีความพร้อมค่อยทำ OEM แล้วค่อยขยายต่อไปก็ทำได้

ในส่วนขององค์กรใหญ่ที่ออกผลิตภัณฑ์บ่อยและเยอะมาก เดิมทีทีมของคุณณรงค์เวทย์ก็ขายแต่สินค้า SCG แต่รู้สึกว่าตลาดมันยังใหญ่ แต่จะให้ไปตั้งโรงงานเพื่อตอบสนองความต้องการในทุกสินค้าในตลาดก็คงไม่ใช่ เลยเปลี่ยนทีมขายให้เป็นทีมขายที่ขายสินค้าที่ลูกค้าต้องการแทน เลยเป็นจุดเพิ่มมาว่าพอร์ตสินค้าของเรามันก็จะขยายกว้างขึ้น ทีนี้เวลาไปหาสินค้ามา จะมีทีม market opportunity management คอยดูว่าจะเอาอะไรที่ตรงความต้องการเข้ามาขาย แล้วพาทเนอร์เรารายไหนที่มีความแข็งแรงในการเข้าตลาดกับกลุ่มลูกค้าที่เราถืออยู่ เพราะฉะนั้นเราก็จะดูว่าในตลาดนั้นพาทเนอร์เราแข็งแรงมากพอที่จะเข้าไปในแอเรียนั้นแบบผู้ชนะหรือตามที่เราต้องการมั้ย ในขณะเดียวกันสินค้า SCG เราก็ต้องรักษาฐานของเราให้โตไปกับตลาดได้เหมือนเดิม

มีอะไรจะฝากให้นักการตลาดหรือนักขายรุ่นใหม่ๆ หรือรุ่นเก่าๆ บ้าง

คุณณรงค์เวทย์แชร์วิธีที่ทำให้องค์กรที่ใหญ่ไม่ไปอยู่ใน “ชมรมคนเคยใหญ่” คือองค์กรที่โตอยู่แล้วแต่ไม่โตไปมากกว่านี้ ได้แก่

  1. Growth mindset ทำยังไงก็ได้ให้ลูกทีมหรือพนักงานของเรามี Growth mindset เพราะจะทำให้เค้าปลดล็อคจากเรื่องเดิมๆ ปลดล็อคจากความภูมิใจในอดีต เนื่องจากไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหนก็ต้องทำอะไรใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า learn fast fail fast
  2. Corroboration การทำคนเดียวมันทำได้นิดเดียว ถ้าไปทำงานกับใครแล้วมันเร็วขึ้นก็ร่วมมือกับเค้าซะ
  3. Speed การไปร่วมกับคนอื่นถ้าช้าก็ไม่ทันกินต้อง speed

สำหรับคุณหนึ่ง บทที่หนึ่ง คือ ตอบไวใส่ใจส่งเร็ว บทที่สอง คือ รู้จักรู้ใจรู้จริง

  • รู้จัก ต้องรู้จักลูกค้าของคุณก่อนว่าจะขายให้ใคร ถึงจะเป็นเซลลที่ดีได้
  • รู้ใจ เวลาจะสื่อสารยิ่งเป็นโลกออนไลน์ที่ต้องสื่อสารด้วยภาพ วิดีโอ ตัวหนังสือ เราต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร เช่น สินค้าเด็กของคุณหนึ่ง เวลาสื่อสารจะพูดเรื่องพัฒนาการย่อยๆ ของเด็ก เพราะรู้ว่าคุณแม่จะแคร์เรื่องพัฒนาการของลูกเป็นหลัก
  • รู้จริง ไม่ใช่แค่เรื่องสินค้าอย่างเดียว แต่ต้องรู้จริงในสิ่งที่กำลังจะก้าวไปทำด้วย เช่น ต้องการใช้เฟสบุ๊กเป็นสื่อในการช่วยขาย ก็ต้องศึกษารู้วิธีใช้แบบจริงๆ ไม่ว่าจะก้าวไปทางไหนให้พยายามศึกษาในสิ่งนั้นอย่างจริงจัง

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine for Business EP.8

2.6k
SHARE

เจาะใจผู้บริโภคอย่างไรในยุคโควิด
How to Get Consumer Insight in COVID-19 Era

ใน EP นี้ เราจะพูดหัวใจสำคัญของนักการตลาดก็คือ “ผู้บริโภค” ไม่ว่าจะทำงานในสายงานธุรกิจ มีสินค้าหรือบริการเป็นของตัวเอง หรือทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ ผู้บริโภคถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องให้ความสำคัญ เพราะเปรียบเสมือนกระดุมเม็ดแรกของนักการตลาด ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภค ต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถเจาะใจผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่หลายคนก็เกิดความสงสัยว่า จากสถานการณ์ COVID-19 จะทำให้วิธีการหาความต้องการของผู้บริโภคหรือ Consumer Insight เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และข้อมูลที่ได้มานั้นจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ วันนี้เราจะมาพูดคุยกับแขกรับเชิญสุดพิเศษ 2 ท่าน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน Consumer Insight เพื่อไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการหาข้อมูลและวิเคราะห์ผู้บริโภค คือ คุณอ้อม ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO และ MD ของบริษัท Intage Thailand และ
คุณหนุ่ย ณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน และผู้เขียนหนังสือ Personalized Marketing

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถหา Consumer Insight ได้อย่างไร?

Consumer Insight คือ เสียงความต้องการของลูกค้าที่ธุรกิจอยากจะได้ยิน ไม่ใช่สิ่งที่ธุรกิจคิดขึ้นเอง โดยการที่จะได้มาของ Consumer Insight ต้องผ่านการทำ Research ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถทำได้ง่ายกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องด้วยมีความคล่องตัวมากกว่า อีกทั้งเราทุกคนมีความเป็น Researcher ในตัว จึงไม่จำเป็นต้องไปจ้างใครทำ Research แต่การที่จะได้มาของ Insight ที่ดีนั้น ต้องเริ่มต้นจากการตั้งคำถามที่ดีก่อน อย่าใช้การตั้งคำถามแบบชี้นำ และต้องใช้การฟัง การสังเกตผู้บริโภคประกอบด้วยในการทำ Research รวมไปถึงเราต้องรู้ว่าการทำ Research ในแต่ละครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ก็จะทำให้ข้อมูลที่ได้จากการทำ Research นั้นส่งผลดีต่อองค์กร

จากสถานการณ์ COVID-19 ในวงการของ Research สามารถดำเนินการเก็บข้อมูลได้ปกติไหม?

คุณอ้อมกล่าวว่า ปัจจุบันเรามีการใช้ทั้งช่องทางที่เป็น Online และ Offline แต่จะมุ่งเน้นไปที่การใช้ช่องทาง Online เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้กลุ่มลูกค้ามีความต้องการที่จะสื่อสาร ต้องการที่จะบอก Pain Point ที่ได้เจอมา อีกทั้งกลุ่มลูกค้ายังมีความคล่องตัวในการใช้ช่องทาง Online เพื่อการสื่อสารที่มากขึ้น ซึ่งในการทำ Research ในปัจจุบันนั้น ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการทำ Research นั้นพวกเขาอยู่ในช่องทางไหน แต่โดยส่วนใหญ่กลุ่มลูกค้าก็มักจะอยู่ทั้งช่องทางที่เป็น Online และ Offline

Data-Driven Marketing คืออะไร?

Data-Driven Marketing คือการทำการตลาดด้วยการขับเคลื่อนข้อมูล หรือเป็นการที่เรานำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการของลูกค้า (Consumer Insight) ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  1. ข้อมูลภายใน (Internal Data) คือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อาทิเช่น ข้อมูลการซื้อของลูกค้า ข้อมูลยอดขาย หรือแม้กระทั่งเสียงของพนักงาน (Employee Voice) 
  2. ข้อมูลภายนอก (External Data) คือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร อาทิเช่น ข้อมูลจาก Social Media ช่องทางต่าง ๆ 

ธุรกิจจะต้องมีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว อย่างเป็นระบบ โดยสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสามารถและทรัพยากรของธุรกิจ อาทิเช่น การเก็บข้อมูลของลูกค้าผ่านโปรแกรม Excel การจัดทำ Sales Report ของลูกค้า ฯลฯ

ซึ่งข้อมูลของลูกค้าในปัจจุบันนั้นถือว่ามีจำนวนมากมายมหาศาล แต่ธุรกิจไม่เข้าใจบริบท (Context) ที่แท้จริงของข้อมูลเหล่านั้น ดังนั้นธุรกิจจึงต้องทำความเข้าใจข้อมูลของลูกค้าในหลาย ๆ แง่มุม แล้วเอาแต่ละแง่มุมมาประกอบกัน จะทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันการที่ธุรกิจยิ่งมีข้อมูลของลูกค้ามากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสที่จะเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยในการวิเคราะห์ Internal Data และ External Data?

Internal Data จะใช้เครื่องมือ Google Data Studio เป็นการที่ธุรกิจมีข้อมูลอยู่แล้ว จัดกระทำข้อมูลผ่านโปรแกรม Excel เช่น ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลลูกค้า ฯลฯ โดยเครื่องมือนี้จะช่วยทำให้ธุรกิจเห็นแง่มุมต่าง ๆ ของธุรกิจได้หลายมิติ

External Data มีเครื่องมือแนะนำทั้งหมด 2 เครื่องมือ คือ

  1. Google Trend เครื่องมือนี้จะช่วยทำให้เราเห็นสัญญาณแปลก ๆ ที่เกิดขึ้น โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีจะต้องการมีตั้งคำถามกับชุดข้อมูลที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่ง Consumer Insight ที่แท้จริงของลูกค้า อาทิเช่น พบข้อมูลว่าคนส่วนใหญ่ ค้นหาข้อมูเกี่ยวกับ “การย้อมผม” มากเป็นพิเศษในช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน จึงมีการตั้งคำถามกับชุดข้อมูลที่เห็น ทำให้ได้ Insight ออกมาว่า “คนย้อมผมช่วงนั้นเพราะมีเทศกาลสงกรานต์”
  2. Social Listening เครื่องมือนี้จะช่วยในการฟังเสียงของผู้บริโภคในโลกออนไลน์ ซึ่งเราสามารถเอาชื่อแบรนด์ของเราไปค้นหาได้ จะทำให้เราเห็นสัญญาณแปลก ๆ ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้ แต่ชุดข้อมูลที่เห็นอาจไม่สามารถบอกคำตอบได้เลย ต้องมีการตั้งคำถามเพื่อให้สามารถค้นหาคำตอบที่แท้จริงได้

กล่าวโดยสรุปคือ ในการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอก (External Data) จะต้องพยายามหาสัญญาณ (Signal) ที่ผิดปกติของข้อมูล รวมไปถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นประจำ (Pattern) ของธุรกิจ และนำชุดข้อมูลดังกล่าวไปตั้งคำถามต่อเพื่อให้ได้คำตอบที่แท้จริงได้ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ

การที่เราได้ข้อมูลมาจากหลาย ๆ วิธีการ นักการตลาดควรนำข้อมูลมาใช้ร่วมกันอย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ?

คุณอ้อมกล่าวว่า ข้อมูลในปัจจุบันมีจำนวนมากเป็นในลักษณะของ Big Data

นักการตลาดที่ดีต้องรู้วัตถุประสงค์ของข้อมูลว่าจะนำไปพัฒนาหรือแก้ไของค์กรในส่วนใด และนักการตลาดเมื่อเห็นข้อมูล ต้องรู้จักทำความเข้าใจและถอดรหัสข้อมูล

เมื่อเราเห็นข้อมูลใหม่ ๆ เราต้องรู้จักการถอดรหัสข้อมูล ซึ่งคุณอ้อมแบ่งเป็น 3 ช่วงหลัก ๆ คือ 1. Alarm 2. Alert 3. Adopt โดยคุณอ้อมได้ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นด้วย สถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

  • ช่วง Alarm : คือช่วงที่โรคระบาด COVID-19 เข้ามาสู่ประเทศไทย ทำให้คนเริ่มวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
  • ช่วง Alert : เมื่อโรคระบาด COVID-19 เริ่มอยู่ในประเทศไทยสักระยะ คนในสังคมก็เริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น ร่วมกันอยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อ สวมใส่หน้ากากอนามัย
  • ช่วง Adopt : เป็นช่วงที่มีการสร้างบรรทัดฐานให้ปฏิบัติร่วมกัน หรือ New Normal ที่เกิดขึ้นที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เพื่อช่วยลดการกระจายของโรคระบาด COVID-19

คุณอ้อมยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ข้อมูลความต้องการของลูกค้ามักจะเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow นักการตลาดที่ดีต้องถอดรหัสให้ได้ว่า ข้อมูลความต้องการของลูกค้านั้นอยู่ในขั้นตอนไหนของความต้องการกันแน่ โดยคุณอ้อมได้ยกตัวอย่างความต้องการของลูกค้าในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ดังนี้

ขั้นที่ 1 ความต้องการพื้นฐาน (Physiological Needs) : เมื่อเริ่มเกิดสถานการณ์ COVID-19 เกิดขึ้นในประเทศไทย และมีมาตรการจากภาครัฐบาลให้กักตัวอยู่ที่บ้าน คนก็จะเริ่มเกิดความต้องการขั้นพื้นฐาน คนก็จะทยอยกักตุนอาหารหรือของใช้ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ให้มีเพียงพอกับความต้องการของตนเองและบุคคลในครอบครัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ภายใต้สถานการณ์ COVID-19

ขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) : เมื่อตอบสนองขั้นแรกได้เพียงพอต่อความต้องการแล้ว ถึงแม้ว่าคนจะกักตัวอยู่ที่บ้าน แต่ก็มีความกังวลว่าตนเองอาจจะติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ คนก็จะแสวงหาความปลอดภัยให้กับตนเอง ซึ่งก็จะแสวงหาสิ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัยทางด้านร่างกาย (Physical Safe) และความปลอดภัยทางด้านอารมณ์ (Emotional Safe)

ขั้นที่ 3 ความต้องการเป็นที่รักและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Love and belonging Needs) : ด้วยความที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ถึงแม้ว่าจะต้องกักตัวอยู่ที่บ้านภายใต้สถานการณ์ COVID-19 แต่ก็ต้องการได้รับความรักและรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็จะเริ่มมองหาว่าคนในสังคมตอนนี้ที่กักตัวอยู่บ้าน พวกเขาทำอะไรกัน เช่น คนในสังคมช่วงกักตัวกำลังให้ความสนใจกับแอพพลิเคชั่น TikTok คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าไปเล่นกันเป็นจำนวนมาก เพราะกำลังเป็นที่นิยมของคนในสังคม

ขั้นที่ 4 ความต้องการมีคุณค่า (Self-esteem Needs) : เมื่อได้รับการยอมรับจากคนในสังคม คนก็ต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของตนเอง แสดงให้เห็นว่าตนเองเป็นคนมีความสามารถ เช่น อยากแสดงออกให้คนรู้ว่า ฉันมีความสามารถในการทำอาหาร ฉันมีความสามารถด้านการเต้น

ขั้นที่ 5 ความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-actualization Needs) : เป็นช่วงที่คนรู้สึกว่า ตนเองมีความต้องการที่เพียงพอแล้ว หรือมีบางสิ่งบางอย่างที่เพียงพอแล้ว คนจะเริ่มนึกถึงการแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีออกไปให้คนอื่นได้อย่างไร เช่น ตู้ปันสุข

กล่าวโดยสรุปคือข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้านั้นสามารถเกิดขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา นักการตลาดที่ดีต้องคอยศึกษาพฤติกรรมเหล่านั้นแล้วดูว่า จะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในขั้นไหนของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow แต่ในขณะเดียวกับองค์กรก็ต้องดูด้วยว่า การตอบสนองความต้องการลูกค้านั้นจะสามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจได้มากน้อยเพียงใด

เราควรจะเลือก Consumer Insight ไหน เพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า?

อันดับแรกเราต้องทราบวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการใช้ข้อมูล ว่าจะนำไปใช้พัฒนาธุรกิจในด้านใด เราจะต้องเลือกใช้ข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Meaningful Data ต้องเข้าใจข้อมูลในหลาย ๆ แง่มุม เพื่อให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และในมุมมองของธุรกิจ การที่เราจะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้านั้น ต้องดูว่าธุรกิจจะได้รับผลประโยชน์ในระยะสั้น (Short-term Gain) หรือผลประโยชน์ในระยะยาว (Long-term Gain) บางครั้งธุรกิจส่วนใหญ่ก็มุ่งเน้นแต่ผลประโยชน์ในระยะสั้นมากจนเกินไป ทำให้ส่งผลเสียต่อผลประโยชน์ในระยะยาว เนื่องด้วยผลประโยชน์ระยะยาวสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า จึงควรมีการปรับสมดุลระหว่างผลประโยชน์ระยะสั้นกับระยะยาวให้ดี รวมไปถึงในเรื่องพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า ต้องพิจารณาให้ดีว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นแค่ในตอนนี้ (Now Behavior) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็จะหายไป หรือเป็นพฤติกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นและยังคงอยู่ (New Behavior) ดังนั้นนักการตลาดที่ดี ต้องแยกให้ออกว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้น เป็นพฤติกรรมแบบใด จะทำให้สามารถตอบสนองกับพฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ช่วงนี้มี Social Trends อะไรที่น่าสนใจบ้าง?

คุณหนุ่ย กล่าวว่า มี 2 สิ่งที่เป็นกระแสมาก ๆ ในตอนนี้คือ

  1. TikTok เป็นแอพพลิเคชั่นที่มาแรงมาก ๆ ตอนนี้ ได้รับความนิยมจากคนในสังคมเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า TikTok เป็นสิ่งที่คนใช้เล่นเพื่อแก้เบื่อ แสดงให้เห็นว่า “ความเบื่อ” ของคนมันมีพลังมาก ๆ เพราะ ดารา/นักแสดงหลาย ๆ คนยอมทิ้งภาพลักษณ์ที่สวยหรูของตัวเอง มาสร้างเนื้อหาใน TikTok เช่น คุณแพร วทานิกา ที่มี Character ที่ดูหรูหราเมื่ออยู่บนแอพพลิเคชั่น Instagram แต่ใน TikTok ก็มีการสร้างเนื้อหาที่มีความ Entertain มากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่คนเท่านั้นที่ให้ความสนใจ TikTok บริษัทหรือแบรนด์ก็ให้ความสนใจกับการทำการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่น TikTok เพิ่มมากขึ้น
  2. หม้อทอดไร้น้ำมัน เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความนิยม ในสังคมตอนนี้ จากการศึกษาผ่านเครื่องมือ Social Listening พบว่ามีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหม้อทอดไรน้ำมันจำนวนมาก ช่วงวันที่ 4-5 เมษายน จึงพบว่ามีคนรีวิวหม้อทอดน้ำมันผ่านช่องทาง Twitter และ Facebook Page
ช่วงนี้ Consumer Trends เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในปัจจุบัน?

คุณอ้อม กล่าวว่า แนวโน้มของผู้บริโภคเปลี่ยนไปดังต่อไปนี้

  1. Spend less for more กล่าวคือ คนในสังคมไทย มักใช้เวลาในการตัดสินใจก่อนทำการซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีตัวเลือกจำนวนมาก ทำให้การตัดสินใจใช้เวลามากขึ้น
  2. Self-Caring กล่าวคือ คนในสังคมไทยหันมาให้ความสนใจกับการดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตัวเอง การเสริมสวยจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
  3. Social Connection กล่าวคือ คนในสังคมต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม จึงมีการสร้างความสัมพันธ์กันภายในสังคม ต้องรู้สิ่งที่สังคมกำลังให้ความสนใจ อาทิเช่น คนในสังคมกำลังพูดถึงเรื่องของ ตำนานส้มหยุดของแม่ศิตางค์ เพลงซุปเปอร์วาเลนไทน์ของ เจนนุ่นโบว์ ฯลฯ
  4. Self-Empowerment กล่าวคือ คนในสังคมก็ต้องการแสดงออกว่าตนเองมีคุณค่า ตนเองเป็นคนมีความสามารถที่จะทำอะไร อาทิเช่น ฉันสามารถที่จะทำอาหารได้ ฉันสามารถเต้นได้
  5. Social Contribution กล่าวคือ คนในสังคมก็ต้องการที่จะแบ่งปันสิ่งที่เราทำได้หรือสิ่งที่เรามี ไปยังบุคคลอื่น ๆ ในสังคม อาทิเช่น การทำตู้ปันสุข ฯลฯ

โดย คุณอ้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มเหล่านี้ อาจเป็นเพียงแค่ NOW Normal ต้องพิจารณากันต่อไปว่า สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็น New Normal หรือไม่

การตัดสินใจที่สำคัญภายใต้สถานการณ์ COVID-19 อยากถามทั้ง 2 ท่านว่า เราควรตัดสินใจภายใต้ข้อมูล หรือประสบการณ์?

คุณหนุ่ย – สำหรับผมคิดว่าเราควรต้องใช้ทั้งข้อมูลและประสบการณ์ร่วมกัน เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราต่างต้องเรียนรู้ใหม่ไปพร้อม ๆ กัน ในเรื่องของ Insight เราจะได้จากส่วนที่เป็นข้อมูล แต่ประสบการณ์จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการที่แต่ละคนเห็นข้อมูลชุดเดียวกัน แต่การวิเคราะห์ก็จะแตกต่างกันไปตามบุคคล ดังนั้น ใครมองเกมได้ขาดกว่า ตัดสินใจได้เร็วกว่า เป็นจังหวะสำคัญที่จะต้องใช้ข้อมูล (Data) ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดครับ

คุณอ้อม – คิดว่ามีความสำคัญทั้งคู่ เพราะคนเรามีทั้ง Head และ Heart หลาย ๆ ครั้งเราต้องใช้ร่วมกัน โดยส่วนตัวคิดว่าเหตุการณ์ COVID-19 ไม่ใช่เหตุการณ์เดียวที่จะเกิดขึ้น มันอาจจะมีเหตุการณ์อื่น ๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนก็ได้ อาทิเช่น ภาวะโลกร้อน ฯลฯ ดังนั้น เหตุการณ์ COVID-19 จึงถือเป็นการซ้อมอย่างหนึ่งของธุรกิจ เปรียบเสมือนการแจ้งเตือน (Alarm) ให้เราเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้ธุรกิจเริ่มกลับมามองดูว่าอะไรจำเป็นและไม่จำเป็น


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine for Business EP.7

2.6k
SHARE

หากลยุทธที่ใช่ทำอะไรก็ชนะ

สำหรับใน EP.นี้ เราจะได้มาเรียนรู้กับ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกลยุทธทางการตลาดและConsumer Insight เพื่อเจาะกลยุทธ์การตลาด เพื่อเป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับธุรกิจ โดย คุณบังอร สุวรรณมงคล ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท HummingBirds Consulting

พอมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้เราอาจลืมสิ่งหนึ่งที่สำคัญไป คือ “กลยุทธ์”

เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวหรือที่ผู้คนกำลังพูดถึง คือ “New normal” แต่ไม่ว่าจะมี หรือไม่มี New normal สิ่งที่เป็นพื้นฐานของธุรกิจ “ธุรกิจจำเป็นต้องมีกลยุทธ์”

โดยมีอยู่ 3 สิ่งที่ผู้คนมักเข้าใจผิด คือ
  1. Mind set : ความเชื่อ “ถ้าเรานำสินค้าหรือบริการไปอยู่บนออนไลน์เรียกว่าออนไลน์”
    ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เกิดจากการแก้ปัญหาการทำธุรกิจแบบออฟไลน์แล้วเกิดปัญหาของค้างในคลังสินค้าเยอะ จึงหาช่องทางการขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น แต่ก็เกิดคำถามตามมาว่า เมื่อนำสินค้าวางบนออนไลน์
    แล้วจะทำยังไงต่อ? แต่ในความจริงแล้วจะต้องสามารถ “บริหารและจัดการสินค้า” ในคลังสินค้าให้ได้ด้วย
  2. การเข้าใจลูกค้า หรือมนุษย์ที่เกี่ยวข้อง
    ตัวอย่างเช่น “โรงเรียนแห่งหนึ่งจะย้ายการเรียนการสอนไปในรูปแบบออนไลน์ 100%” ประเด็นที่ต้องคิดถึงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง คือ บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจารย์พร้อมไหม? นักเรียนพร้อมหรือเปล่า? หรือ นักเรียนอยากเรียนออนไลน์ตลอดเวลามากแค่ไหน? อย่างน้อยการเรียนต้องมีการเจอกัน ไม่ใช่ออนไลน์ 100% คุณบังอรอยากจะให้เห็นความสำคัญว่า “ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ หรือ ออฟไลน์ มีข้อดีคนละแบบ จงใช้ประโยชน์เหล่านั้นให้คุ้มค่ามากกว่า”
  3. ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบออนไลน์ ที่มีการแข่งขัน หรือธุรกิจแบบออฟไลน์ สำคัญมากที่ “ต้องมีกลยุทธที่แข่งแกร่ง เพราะธุรกิจคือการแข่งขัน”

เสมือนที่ผ่านมา คือการจับปลาอยู่ในมหาสมุทร แต่วันนี้เรามีเรด้าในการจับปลา หรือการเพิ่มประสิทธิภาพในการจับปลานั้นเอง เปรียบเสมือนกับการทำธุรกิจ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลยุทธ เพื่อให้ธุรกิจดีขึ้น จากตัวอย่างเรื่องโรงเรียน จะเห็นว่าหัวใจของการตลาดคือ “ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ แต่ไม่ใช่ tools หรือเครื่องมือ” เพราะตราบใดที่เราต้องขายของให้มนุษย์ เรายังต้องแคร์มนุษย์หรือลูกค้า “ไม่ใช่คิดว่าเราอยากทำอะไร” แต่สิ่งที่ต้องคิดจริงๆคือ “ลูกค้าอยากได้จริงๆหรือไม่”

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเล็ก แต่ทำการค้นหา (Research) ข้อมูลลูกค้ามากเกินไปหรือไม่เหมาะสมกับข้อมูล เช่น Excel chart 50 หน้า ในความจริงแล้วเราสามารถเริ่มได้จากวิธีเรียบง่าย คือ การพูดคุยกับลูกค้า, การสังเกตการใช้งานที่เกี่ยวกับสินค้า หรือ บริการ ของเราให้มากพอ

โดยวันนี้จะมาพูดตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพทั้ง สเกลเล็กและใหญ่
“กลยุทธ์” ฟังดูแล้วเหมือนคำที่ไกลตัว เช่น การจะทำร้านก๋วยเตี๋ยว เราต้องสร้างกลยุทธขึ้นมาก่อน ก่อนอื่นเลยสิ่งที่พวกเราคิดกันส่วนใหญ่ อย่างเช่น “เราจะนำสินค้าไปวางบนออนไลน์ หรือมาร์เก็ตเพลส” สิ่งเหล่านี้คือ “วิธีการหรือแผนการ (Tactics)” เท่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น เราจะเดินทางไปให้ถึงเป้าหมาย สิ่งที่ต้องคำนึงคือ อุปสรรคว่ามีอะไรที่ต้องเจอบ้าง (อุปสรรคในที่นี้คือหุบเขา ต้นไม้ต่างๆ) จากนั้นเราค่อยเลือกเส้นทางว่า เราจะไปทางไหน โดยเส้นทางที่เลือกคือทางน้ำ ศัพท์ทางว่าเรียกทางน้ำว่า กลยุทธ์ (Strategy) หลังจากนั้นเราจึงจะเลือกได้ว่าเมื่อเราเดินทาง ทางน้ำเราจะใช้พาหนะอะไรในการเดินทาง ในที่นี้เราจะเลือกใช้เรือ โดยเรือเราจะเปรียบกับวิธีการหรือแผนการ (Tactics) แต่เรือก็จะมีหลายแบบ อาจจะมี tools,แผนปฏิบัติการย่อย (execution plan) เช่น การยิงโฆษณา ฯลฯ

ยกตัวอย่าง ร้าน หยกสด จะเห็นว่า Conceptทุกอย่างในร้านทำมาจาก ใบเตย โดยทางร้านอยากให้ขนมเป็นที่ขึ้นชื่อ โดยทำขนมมาจากใบเตยทำให้มีสีเขียวทั้งหมด ทำให้สามารถตอบโจทย์ชื่อร้าน หยกสดได้

เราจะสามารถหากลยุทธมาได้อย่างไร? โดยเราต้องไปตามหา 3 สิ่ง (กล่องดำ Black box) ต่อไปนี้
  1. ลูกค้า (Customers’ Need) : การเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
    • เข้าใจว่าสินค้าของเรา “มีความหมายหรือคุณค่า” ในชีวิตอย่างไรกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราจะขายเครื่องซักผ้า คุณค่าของเครื่องซักผ้าคือ การทำให้เสื้อผ้าสะอาด แต่มันจะน้อยไปหรือไม่? เพราะเครื่องซักผ้าก็มีขายอยู่ทั่วโลกที่ทำสิ่งนี้เหมือนกัน  ทำไมถึงมีเครื่องซักผ้าราคา 10,000 กว่า กับ 20,000 กว่า บาท? มันต่างกันอย่างไร?
      โดยต้องมี “จุดขาย” แต่การจะขายเราควรพูดเพียง “จุดซื้อ” เช่น ถ้าเราพูดว่า “เครื่องซักผ้า 2 เครื่องนี้แตกต่างกันตรงที่ เครื่องที่ราคาสูงกว่าหมุน 5,000 รอบ” คนซื้อจะรู้สึกตระหนักแล้วว่าเสื้อผ้าของพวกเขาจะขาดหรือไม่? แต่ถ้าเราเปลี่ยนหรือเสริมลงไปว่า “เครื่องซักผ้าหมุน 5,000 รอบ แบบช้าๆโดยใช้ระบบนาโนจะทำให้เสื้อผ้าของคุณสะอาด” จะทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกปลอดภัยอยากซื้อมากกว่าหรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การซื้อมอเตอร์ไซค์ “ถ้าจะซื้อมอเตอร์ขี่เพียง 30,000 บาทก็ซื้อได้ แต่ถ้าซื้อแล้วสาวหันมองทั้งร้าน 100,000บาท ก็ยอม” เขาเลยมีประโยคนึงที่ว่า “อย่าหลงรักสินค้าของตัวเอง ขอให้คุณยกให้ลูกค้าคุณ” ในบางครั้งเราอาจจะรักสินค้า (Product) ของเรามากเกินไป จนลืมนึกถึงข้อดี ว่าสามารถช่วยลูกค้าตรงจุดไหนได้บ้าง เราอย่าหลงรักสินค้าจนมากเกิน จนลืมคิดว่าลูกค้าต้องการอะไร
      เช่น Sticker line คนซื้อส่วนใหญ่เพราะชอบตรงที่ “ความน่ารัก” สามารถ “แสดงความรู้สึก”ของเราได้ สามารถ “บ่งบอกตัวตน” ของเราได้ ยิ่งบอกตัวตนเราได้ยิ่งมีคนพร้อมจ่าย ยิ่งช่วงหลังมา Sticker line
      ได้ทำการใส่ชื่อเล่นลงไปทำให้สามารถบ่งบอกตัวตนได้ชัดมากขึ้น
    • เข้าใจ “ปัญหา” ที่ลูกค้าต้องเจอ เช่น การทานสุกี้ ชาบู ในช่วงการเฝ้าระวังของเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้คนไม่สามารถเข้าไปในร้าน แล้วทานสุกี้ชาบูจำนวนคนมากๆได้ตามมปกติ ทางร้านจะแถมหม้อสุกี้ไปด้วย เมื่อซื้อสุกี้ชาบูเป็น package ขายในช่วง Covid-19 ไม่งั้นผู้คนจะไม่สามารถทานสุกี้ หรือชาบูได้

      ในฐานะนักการตลาด ม.ร.ว.สุธิภาณี และ คุณบังอร กล่าวว่า “ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้เยอะเราก็จะสามารถได้เงินเยอะตาม”

  2. ตัวเอง (Competencies) : การเข้าใจตัวเอง คือ การไม่ทำลายจุดแข็งนี้ และรักมันมาก
    เช่น tiktok เกิดขึ้นโดยมีจุดยืนที่แข็งแกร่งมาก คือ การสร้างวิดีโอสั้นๆ ง่ายๆ โดยสามารถใส่เพลงที่ถูกลิขสิทธิ์ได้ ตัดต่อวิดีโอได้ง่าย โดยที่แอพพลิเคชั่นของแบรนด์อื่นๆ ไม่สามารถทำได้ สามารถ Challenge กับดาราหรือคนอื่นๆได้ โดยจะเห็นว่า “มีจุดแข็งไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่นๆ” การทำให้ดังขึ้นมาได้ ต้องไม่เอาจุดแข็งของคนอื่นมาใส่
    ถ้าผู้ประกอบการที่จะเริ่มธุรกิจต้องการเข้าใจให้สูงกว่าระดับที่เข้าใจว่าสินค้าของเราขายอะไรขึ้นไป จะเริ่มยังไง?
    เริ่มจาก 0 คือ การหาช่องว่างของตลาด (หรือการคิดแบบ tiktok ณ Day-0) คือ การประเมินจุดแข็งก่อนจากนั้นหาจุดอ่อน โดย “จุดอ่อนของคนอื่นคือโอกาสของเรา” เพราะการที่จะไปเล่นที่จุดแข็งเลยจะทำให้เป็นการแข่งขันที่ยากและเสียเวลา เสมือนนักกีฬาที่ต้องคอยดูว่าผู้แข่งอีกฝ่ายมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร จากนั้นเราต้องดูช่องว่า (Gap) ว่าเราจะสามารถส่ง Functional และ Emotional Value ได้อย่างไร โดย Emotional Value จะได้รับผลมาจาก Functional ทั้งนั้นเช่น หม้อทอดไร้น้ำมัน ซึ่งคนต่างเข้าใจว่า หม้อทอดไร้น้ำมันคือการทอดที่ไม่มีน้ำมัน (Function) แล้วจะทำให้ทำอาหารแล้วมีหุ่นที่ดี (Emotion Value)ยกตัวอย่างย้อนกลับไป
    เรื่องการหาจุดอ่อนอีกแบรนด์ เช่น I hear story การทำตุ๊กตาหมอนข้าง โดยใช้คาร์แรคเตอร์เป็นตัวเงินตัวทอง ไม่ขายความน่ารักเหมือนตลาดทั่วไปอย่าง คิตตี้ (Kitty) ทำให้มีกลุ่มลูกค้าที่ชัดที่ชัดมากขึ้น
    ดังนั้น การหาแรงบันดาลใจ (Inspiration) ควรหาจากสิ่งที่แบรนด์ที่มีอยู่ไม่สามารถให้ได้ ไม่งั้นจะถูกมองว่าเป็นเบอร์ 2 ไปตลอด ซึ่งถ้าเราสามารถทำในสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของแบรนด์ใหญ่ จะทำให้เราสามารตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะลิ้งค์กลับไปยังข้อที่ 1.คือการเข้าใจลูกค้า ลูกค้าต้องการอะไร เราต้องคอยคิดถึงลูกค้าเสมอๆ ยกตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟ-คาเฟ่ร้านสุนัข ชื่ออาจะดูธรรมดาๆ แต่วิธีการที่แตกต่างไปของร้านนี้คือ เข้าไปแล้วจะเจอ List รายชื่อของน้องหมา เป็นร้อยกว่าชื่อ ที่มีโชว์เป็นรอบๆ โดยแบ่งเป็นชนิดของน้องหมา เช่นสุนัขพันธุ์เล็ก สุนัขพันธุ์ใหญ่ ฯลฯ จากตัวอย่างนี้ ถ้าสมมติเราต้องการเริ่มกิจการร้านกาแฟขึ้น (A) แต่ไม่สามรถแข่งกับคู่แข่งได้จงหา Competencies (จุดแข็ง) คือการนำ A+B การหาสิ่งที่ใส่เพิ่มเข้าไปแล้วทำให้แตกต่างจากร้านอื่นๆ (B) ซึ่งเทคนิคนั้นมีหลายแบบ โดยเริ่มดูจาก

    1. main point ว่ามีปัญหาอะไร ?
    2. A+B บางทีสินค้าจะขายเฉยๆไม่ได้ต้องหาอะไรมาเพิ่มเติม ดูจากสิ่งที่คู่แข่งไม่เก่ง เราถึงจะแตกต่างได้
  3. คู่แข่ง (Competitors’ Strengths)
    หลายๆสิ่งที่คนมักชอบลืมคือ “สนามรบของตัวเอง” คือการ “รู้จุดอ่อนจุดแข็งของคู่แข่ง” ชวนลูกค้าคู่แข่งคุยเยอะๆ เพื่อที่จะได้รู้ว่าคนอื่นนั้นไปไกลถึงไหนแล้ว เพราะเราจะได้เห็นมุมมองว่าทำไมลูกค้าเหล่านั้นถึงเลือกคู่แข่งมากกว่าเลือกเรา จากนั้นเราค่อยๆพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะแย่งลูกค้าเขามา ยกตัวอย่างเช่นยาสีฟัน ทุกยี่ห้อยาสีฟันก็จะพูดถึงการระงับกลิ่นปาก แต่ถ้ายี่ห้อ Dentiste՛ จะพูดถึงกลิ่นปากของคู่รัก ทำให้มองเห็นอีกมุมนึง ซึ่งอยากจะบอกกับผู้ประกอบการว่า เราสามารถบิดเบือน (Twist) ของที่มีเหมือนกับคนอื่นๆให้แตกต่างได้
ก่อนที่จะไปพูดถึงการสร้างกลยุทธของตนเองว่ามีกี่แบบ จะขอสุปเรื่องกล่องดำก่อน

 

  1. สถานการณ์ที่มี การเข้าใจตัวเอง และ รู้จักคู่แข่ง เรียกว่า Dump zone คือ การที่เราแข่งกันในจุดที่ลูกค้าไม่ต้องการ (ไม่มีความเข้าใจลูกค้า) ต่อให้แข่งยังไงก็ไม่ชนะ ต่อให้ยิงโฆษณาก็ไม่มีคนสนใจเพราะลูกค้าไม่ต้องการ
  2. สถานการณ์ที่มี ความเข้าใจลูกค้า และ รู้จักคู่แข่ง เรียกว่า Losing Zone คือ การทำในจุดที่คู่แข่งเก่งอยู่แล้ว จะทำให้เราเหนื่อยมาก
  3. สถานการณ์ที่มี ความเข้าใจลูกค้า การเข้าใจตัวเอง และ รู้จักคู่แข่ง เรียกว่า Danger Zone คือการทำในสิ่งที่เหมือนกันและคนอื่นคาดหวังอยู่แล้ว

สถานการณ์ที่มี ความเข้าใจลูกค้า และ การเข้าใจตัวเอง เรียกว่า Winning Zone คือ จุดที่สินค้าตอบโจทย์ลูกค้าและไม่มีคู่แข่ง

การสร้างกลยุทธ์เราควรจะหา
  1. ตั้งกลุ่มเป้าหมาย โดยเราต้องคิดว่าเราสามารถเอาใจใครได้มากที่สุด เหมือนการที่เราเลือก “คนที่เห็นคุณค่าในตัวคุณมากที่สุด และคุณสามารถให้คุณค่ากับใครได้มากที่สุด”
  2. Winning Zone คือ หาว่าลูกค้าต้องการอะไร อะไรที่คู่แข่งลืมทำ และควรเติม Competencies (จุดแข็ง) เพื่อทำให้สินค้าของเราขายได้ง่ายขึ้น
    เมื่อมีความต้องการที่ชัดทำให้มีการสื่อสารกับลูกค้าที่ชัดเจนมาก
  3. การพัฒนาต้องพยายามมองถึงอนาคต
ในช่วงวิกฤติ Covid-19 ร้านสุกี้ชาบูได้แจกหม้อสุกี้ออกไปถ้าในช่วงที่หมดวิกฤติจะเสมือนการแข่งกับตัวเองหรือไม่

ในมุมมองของคุณบังอร คือ “ผู้ประกอบการจงทำอะไรก็ได้ที่ลูกค้าไม่สารถทำได้หรือทำได้เหมือน” อย่างการไปซื้อผักในตลาดแล้วนำมาต้ม แล้วจะเสมือนการนั่งทานที่ร้าน เช่นน้ำจิ้มสูตรเด็ด ลูกค้าจึงต้องกลับไปหาเมื่อร้านเปิด คือ การสร้างคุณค่าให้กับเขาเหมือนการเติมเต็มชีวิตให้กับเขา

Keyword ของวันนี้ คือ ลูกค้า
หัวใจของนักการตลาด คือ กุญแจของความสำเร็จ

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

MAT Vaccine For Business EP.6

2.6k
SHARE

เข็มทิศการตลาดไทยหลังยุคโควิด

การปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการ ในยุคโควิด สำหรับ Ep.6 นี้จะเป็นการพูดคุยถึงภาพรวมการตลาดไทย ในหัวข้อ “เข็มทิศการตลาดไทยหลังยุคโควิด” โดยได้รับเกียรติจากกูรูด้านการตลาด 2 ท่าน คือ ดร. ลักขณา​ ลีละยุทธโยธิน​ ที่ปรึกษา บริษัท แบรนด์ ซันโทรี่ (ประเทศไทย) และ ดร. เอกก์ ภทรธนกุล​ ประธานหลักสูตร Master in Branding and Marketing ภาษาอังกฤษ และอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แต่งหนังสือ “อัจฉริยะการตลาด”

สำหรับในช่วงที่ผ่านมาตลอดปี 2020 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเยอะมากทั้งในแง่ธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้บริโภค แขกรับเชิญทั้ง 2 ท่านได้วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นและน่าจะเป็น New Normal หรือสิ่งที่จะคงอยู่ต่อไป

สิ่งที่สำคัญสำหรับนักการตลาด คือเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ดร. ลักขณา มองว่าเพราะการแพร่ระบาดของโควิดทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก และประชาชนต้องหยุดงานยาวเพื่อกักตัวอยู่ที่บ้าน ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ พฤติกรรมส่วนตัว และโครงสร้างการจัดการ

  1. Behavioral Change หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ผู้บริโภคเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่หลายอย่าง ได้แก่
    • ด้าน Personal Hygiene ความสะอาดที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา ผู้คนรักษาความสะอาดมากขึ้น มีการล้างมือมากขึ้น พกเจลหรือแอลกอฮอลล์ติดตัวและสนใจในความสะอาดของทุกๆ ที่ๆ ไป
    • ด้าน Personal Protection ปกป้องตัวเองโดยใส่หน้ากากอนามัย ใส่ Face Shield ทานอาหารเสริมบำรุงสุขภาพ เริ่มสนใจกินอาหารที่ดี อยากออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง เพราะรู้แล้วว่าหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิดไม่ได้ แต่เราทำให้สุขภาพเราแข็งแรงขึ้นได้เพื่อป้องกันโรค
    • ด้าน Personal Talent การถูกกักตัวอยู่บ้านนานๆ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้คนเกิดความเบื่อ พยายามหาสิ่งต่างๆ มาทำ จึงค้นพบพรสวรรค์ของตนเอง เช่น ทำอาหารเก่ง ปลูกต้นไม้เก่ง ซ่อมแซมอุปกรณ์ได้ดี หลังจากนี้สินค้าประเภท D.I.Y. จะเป็นกระแสมากขึ้น
    • ด้าน Personal Capability เนื่องจากไม่สามารถออกจากบ้านไปไหนได้ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องอยู่รอด จึงเกิดการเรียนรู้ในการสั่งของ online การสั่งอาหารจาก Mobile application
      ด้าน Personal Sacrifice เกิดการเสียสละมากขึ้น โดยการบริจาคเงิน ของใช้ หรือทำอาหารแจกจ่ายผู้ที่เดือดร้อน การซื้อสินค้าไปใส่ตู้ปันสุข จะอิ่มเอิบใจทุกครั้งที่มีคนมาหยิบของในตู้ปันสุขไป
  2. Structural Change การเปลี่ยนแปลงแบบโครงสร้างและระบบ
    • การ Work from home จะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะการประชุมด้วยระบบออนไลน์ ทำให้เกิดความสะดวกสบาย จนบางบริษัทรู้สึกว่าเป็นการประชุมที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และไม่ต้องเดินทาง ดังนั้นระบบที่รองรับการประชุมทางไกลที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น
    • ระบบ Automation จะถูกเร่งให้เกิดและเติบโตเร็วขึ้น เพราะการใช้คนทำงานในร้านอาหารหรือที่ต่างๆ ผู้คนหรือผู้บริโภคจะกลัวการแพร่เชื้อ แต่การใช้หุ่นยนต์จะไม่มีปัญหาในด้านการแพร่เชื้อ เราแค่ทำความสะอาดเท่านั้น ดังนั้นตำแหน่งงานจะถูกเปลี่ยนแปลงไป หุ่นยนต์ที่ราคาถูกและดีจะถูกใช้งานมากขึ้น
    • Organization Change การหยุดทำงานเป็นเวลา 2-3 เดือน ทำให้องค์กรเริ่มเห็นว่าตำแหน่งบางตำแหน่งอาจไม่มีความจำเป็น สามารถลดคนหรือย้ายคนไปทำหน้าที่อื่นได้ ดังนั้นคนที่ทำงานต้องพร้อมจะรับความเปลี่ยนแปลง ทำตัวเองให้มีคุณค่าโดยการ reskill และ upskill ตนเอง
    • Omni Channel การเพิ่มช่องทาง online ในการเสนอสินค้ามีความสำคัญมากขึ้น เพราะลูกค้าเริ่มมีความสามารถในการใช้ช่องทางนี้เก่งขึ้น ดังนั้นธุรกิจในอนาคต จะมีการขยายตัวไปในช่องทางนี้อีกมาก การตลาดออนไลน์จะเติบโตมากขึ้น ธุรกิจต้องใช้ Omni Channel ซึ่งรวมช่องทางแบบเดิมและช่องทางใหม่ร่วมกัน เพื่อที่จะเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ สั่งของแล้วต้องส่งได้ ดังนั้นระบบ logistics และการส่งของจะมีความสำคัญมากขึ้นด้วย
    • Lean organization องค์กรเริ่มมองเห็นความไม่แน่นอนของสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตอะไรก็เกิดขึ้นได้ ดังนั้นองค์กรจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้มีองค์กรมีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมต่อสู้ในอนาคต

ดร.เอกก์ กล่าวเสริมในแง่ของความเปลี่ยนแปลงว่า ถ้าสมมติเราต้องหาฐานของ New normal หรือฐานของวิถีชีวิตใหม่ เพราะโลกของการตลาด นักการตลาดเชื่อในเรื่องฐานของ life style มาก ถ้าฐานของ life style เปลี่ยน การทำงานของนักการตลาดก็จะเปลี่ยน สำหรับฐานที่เกิดขึ้นในช่วง New normal เกิดได้จากฐานที่เรียกว่า “กลัว” เพราะความกลัวทำให้เราทำอะไรได้หลายอย่างมากในชีวิตนี้ และฐานของความกลัวเป็นฐานของความรู้สึกที่เป็นพื้นฐานสุดๆ ของชีวิต เพราะเป็นสิ่งแรกที่เรารู้สึกนับตั้งแต่เราเกิดมา คือเรากลัวเลยร้องไห้

Professor Mark de Rond ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคเมื่อเกิดความกลัวรุนแรง โดยไปที่ประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อศึกษาว่าในวันที่เกิดเหตุยิงกันกลางเมือง ระเบิดทุกวัน มีคนตายทุกวัน ผู้คนเกิดความกลัวรุนแรงมาก จะมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร และพบว่าอะไรที่เป็นความเก๋ไก๋ในชีวิตไม่เกิดขึ้นเลย เช่น ซื้อ Louis Vuitton, Prada, Chanel หรือปากการาคาแพงอย่าง Montblanc คนจะทิ้งหมดไม่สนใจความหรูหราในชีวิตอีกต่อไป เมื่อไหร่ที่เกิดความกลัวรุนแรงผู้คนจะ Back to basic ไม่ต้องการความสะดวกสบายมากขนาดนั้น เช่น คนจะซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นซองมากกว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นถ้วย คำว่า Lean ที่ดร. ลักขณาพูดไปก่อนหน้านี้ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในองค์กรแต่มีประสิทธิภาพในชีวิตของเราด้วย ปัจจัย 4 ที่บอกว่าจำเป็นต่อชีวิต เมื่อคนเกิดความกลัวสุดๆ สิ่งที่จำเป็นจริงๆ คือ 2 ปัจจัย คืออาหารและยารักษาโรค

ถ้าข้างต้นคือสิ่งที่ Do หรือสิ่งที่ต้องเตรียมรับความเปลี่ยนแปลง แล้วอะไรคือสิ่งที่ Don’t หรือสิ่งที่เราต้องระวังบ้าง

เมื่อคนเกิดพฤติกรรมที่กลัวแล้ว คนจะ Don’t หรือไม่ทำอะไรบ้าง มีอยู่ 4 อย่าง
  1. No touch คนจะสัมผัสกันน้อยลง กิจกรรมอะไรที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสคนจะกลัวมาก ธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับ High touch service ที่เน้นสร้าง Experience ต่อไปจะทำยากขึ้น เช่น ธุรกิจร้านนวด
  2. No share เราจะไม่ค่อยแชร์กัน เช่นการกินอาหารร่วมกัน ต้องใช้ช้อนกลางที่เป็นของใครของมัน หรือสะดวกใจที่จะกินเป็นอาหารจานเดียวเลยมากกว่า ธุรกิจที่เป็น Sharing economy เช่น Grab, Uber, Air bnb จะกระทบต่อธุรกิจเพราะผู้คนใช้บริการน้อยลง
  3. No move จากงานวิจัยการตลาดพบว่าเมื่อทำอะไรซ้ำๆ เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป พฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปจากชั่วคราวเป็นถาวร เมื่อคนอยู่บ้านนานๆ การเดินทางไกลหรือการไปเที่ยวต่างประเทศจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากขึ้น นักท่องเที่ยวจะกลับมาแต่จะกลับมาน้อยลงในเบื้องต้น สายการบินที่ขาย Business class, First Class ซึ่งเป็นของที่ Margin สูงจะเดือดร้อน เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เป็นนักธุรกิจไม่จำเป็นต้องเดินทางเพราะสามารถที่จะคุยงานข้ามประเทศได้อย่างรวดเร็ว
  4. No add on อะไรที่เก๋ๆ หรูหราในชีวิตที่สามารถเติมเข้าไปหน่อยจะไม่จำเป็น เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เป็นถ้วยหรือปากการาคา 5 บาทที่เมื่อก่อนไม่ใช้ในการทำงาน ต้องใช้ปากการาคาแพงเป็น Add on ในชีวิต หรือแม้แต่เสื้อผ้าที่เป็นแบรนด์ก็ไม่จำเป็น เพราะตอนนี้อยู่ที่บ้านไม่มีใครสนใจจะใช้อะไรก็ได้

และจากคำถามที่ว่า New normal จะอยู่ตลอดไปหรือไม่ ระหว่างความกลัวกับความคุ้นเคยหรือความอยาก อะไรมีอิทธิพลมากกว่ากัน เนื่องจากปรากฎการณ์ IKEA เปิดวันแรกคนแห่ไปนับพันคน

ในมุมมองของ ดร. ลักขณา คิดว่าหลายอย่างจะไม่กลับเป็นเหมือนเดิม เช่น การทำงานและการประชุมจะเปลี่ยนรูปแบบแน่นอน เพราะตอนนี้อยู่ที่ไหนก็ประชุมได้หมด ส่วนการทำงานก็จะพบว่าหลายคนที่ทำงานทางไกล แล้วรู้สึกว่าสบาย ไม่ต้องเจอรถติด อาจจะย้ายบ้านออกจากเมืองไปอยู่สักที่ก็ยังได้ การทำงานของคนในออฟฟิศที่ไม่ต้องเข้าบริษัทแล้ว บริษัทอาจจะไม่ต้องมีขนาดที่ใหญ่เพื่อรองรับคนที่มากอีกต่อไป

เหมือนกับถ้าไม่มีคนใช้งานสิ่งนั้นก็จะถูกจัดการอัตโนมัติ เช่น คนใช้ Mobile banking เยอะทำให้ต้องปิดสาขาเพราะไม่มีคนไปใช้บริการ

เพราะฉะนั้นหลายอย่างที่เปลี่ยนไปบางอย่างก็จะอยู่แบบถาวรเลย หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตจะเปลี่ยนไปอีกเยอะ อย่าไปคิดว่าเดี๋ยวโควิดหายคนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม มันคงไม่เหมือนเดิมแล้ว อาจจะกลับไปเหมือนเดิมบางส่วนจากความคุ้นเคยของคน เช่น แอพไทยชนะคนสแกนเช็คอินแต่มักจะลืมเช็คเอาท์ Behavioral Change ทั้ง 5 อย่างข้างต้นที่เป็น New normal จะเกิดขึ้นกับเรา ต่อให้ตรงนี้หายไปเราก็ยังกลัวอยู่ บางคนอาจจะกลับไปเหมือนเดิม แต่ส่วนใหญ่จะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิม เพราะความกลัวมันมีอยู่เยอะ ที่ IKEA เปิดแล้วคนไปกันเยอะน่าจะเป็นเพราะยังไม่ถึง 6 เดือนที่พฤติกรรมจะเปลี่ยนไปถาวร เลยยังเห็นว่าพอห้างเปิดคนก็ยังกลับไป และอาจจะรู้สึกว่าจำนวนคนป่วยยังเป็นตัวเลขหลักเดียวอยู่ แต่สมมติถ้าเกิดหลังจากการเปิดของห้างต่างๆ แล้วคนติดเพิ่มขึ้นเป็นหลักสิบหลักร้อย มันก็จะย้อนกลับไปที่เดิม

สำหรับความกลัวกับความอยากอะไรชนะ ดร.เอกก์ยืนยันว่าความกลัวชนะอย่างแน่นอน แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคน 100% เช่น คนเลิกบุหรี่ได้จำนวนมากเพราะว่าเกิดโรคแล้ว อยากสูบแต่ก็กลัวตายแล้ว คนที่เลิกดื่มเหล้าเพราะตับเริ่มแข็งหรือตับแข็งแล้ว อยากเลิกตั้งนานเลิกไม่ได้ พอตับแข็งแล้วกลัวตายเลยเลิกได้ สิ่งที่ยากระดับยาเสพติดยังเลิกได้ เพราะฉะนั้นความกลัวมันรุนแรงมาก การเกิด New normal แล้วส่วนใหญ่จะไม่กลับไปเป็นเหมือนเดิมแล้ว

ในฐานะนักการตลาดเราต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะเราไม่รู้ หรือสามารถคาดเดาอนาคตได้ จากบทเรียนนี้จะสอนให้เราแกร่งขึ้นเยอะ อาจจะลำบากหรือเหนื่อย แต่สุดท้ายโอกาสของโควิดสอนให้เราทำธุรกิจที่มั่นคงมากกว่าเดิม

การวิจัยตลาดหรือพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเนื่องจากไม่สามารถทำแบบเดิมได้ เราต้องคิดใหม่ทำใหม่หัดในสิ่งใหม่ๆ ทันที่มีเกิดเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ขยับเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าแล้ว ถ้าสมมติว่าเราเปิดพื้นที่แล้วไม่มีใครมาเช่าพื้นที่ ก็อาจจะเปลี่ยนที่ของเราไปทำอย่างอื่นที่เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภคในขณะนี้แทน เช่น โรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ปิดไปเพราะไม่สามารถขายของและผลิตสินค้าได้ เลยหันกลับมาผลิตหน้ากากอนามัยขาย ฉะนั้นเราต้องคิดและพิจารณาธุรกิจของเราว่ามีความสามารถจะทำอะไรได้อีกบ้างนอกจากที่ทำปัจจุบันนี้ เราจะพัฒนาหรือขยับไปทำอะไรได้อีก

ถ้าไม่มีงบในการทำวิจัยตลาด เราก็ต้องไปดูว่าคนที่เค้าให้เช่าพื้นที่ที่เปิดขึ้นมาแล้วยังประสบความสำเร็จอยู่อย่างบริษัทใหญ่ๆ เช่น เซ็นทรัลพัฒนา ในช่วงที่ผ่านมาเค้าทำอะไรบ้าง เพราะบริษัทใหญ่ได้ทำวิจัยการตลาดและเตรียมการไว้แล้ว เราก็สามารถหยิบสิ่งที่เค้าทำแล้วได้ผลมาเป็นกลยุทธ์ของฝั่งเราได้ อย่างบางที่ไม่ได้มีแค่การตรวจอุณหภูมิแต่มีร.ป.ภ.คอยนับคนเข้าออก ถ้าสามารถให้สิ่งเหล่านี้กับผู้เช่าได้แล้วลูกค้ารู้สึกปลอดภัย เราจะโดดเด่นมาก เพราะทุกคนทำไม่ได้แต่เราทำได้

เรามีฐานประเด็น No touch, No share, No move, No add-on ทีนี้จะเกิดโอกาสของธุรกิจแล้วก็มีธุรกิจที่น่าจะอยู่ได้ คือธุรกิจใดก็ตามที่สอดคล้องกับ 5S ถ้าคิดไม่ออกก็ใส่ 5S เข้าไปในธุรกิจ เพราะมันน่าจะแก้ปัญหาลูกค้าได้ในช่วงนี้ ได้แก่

  1. เกี่ยวข้องกับ Safety กับ Security เช่น ประกันสุขภาพ
  2. เกี่ยวกับ Sending หรือการขนส่ง เพราะคนไม่เดินทางกันจึงต้องการการขนส่งของ
  3. เกี่ยวกับ Systems เช่น บริษัท IT เพราะบริษัททั้งหลายอยากทำการประชุมที่มีประสิทธิภาพก็ต้องไปจ้างบริษัท IT
  4. เกี่ยวกับ Sanook (สนุก) เพราะคนเบื่อ เช่น Tiktok

ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาด้วย 5S เช่น การจัดคอนเสิร์ตแบบคนมาชุมนุมกันไม่อนุญาตให้จัด เลยเปลี่ยนเป็นคอนเสิร์ตออนไลน์เป็นไลฟ์สด แต่ขายบัตรเก็บค่าเข้าชม อีกประเทศนึงใช้วิธีขับรถเข้าไปร่วมคอนเสิร์ต อยากเต้นอยากร้องก็ทำในรถ อย่างร้านสังสรรค์ตอนกลางคืนก็เปลี่ยนมาไลฟ์ออนไลน์คนดูพร้อมกันหลักหมื่นคนและร่วมบริจาคเงินให้สังคมอย่างมหาศาล หรือฟิตเนสที่จากเดิมต้องขายการสมัครสมาชิก ตอนนี้ให้ครูที่เก่งมาสอนบนออนไลน์แล้วขายสปอนเซอร์ให้กับอะไรก็ตามที่เป็นสินค้าสุขภาพ ทุกธุรกิจล้วนปรับตัวได้หมดขึ้นอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์

ธุรกิจที่ต้องมีการสัมผัสตัวกันก็ปรับตัวได้ เช่น ร้านนวดอยากเอา 5S ไปใช้ประโยชน์ ในเรื่องของ Safety กับ Security อาจจะขายเครื่องนวดกับน้ำมันนวดก็ได้ โดยนวดตัวเองจากวิดีโอที่ทางร้านได้ส่งไป ข้อดีคือได้รายได้เข้ามาเลี้ยงองค์กร และเมื่อถึงเวลาที่ทุกอย่างกลับมาเปิดเหมือนเดิม คนก็จะไปนวดที่ร้านอยู่แล้วเพราะมันไม่เหมือนกัน

ฉะนั้นของที่ได้มามันไม่ได้เป็นคู่แข่งโดยตรงกับสิ่งที่ท่านขายอยู่เดิม ต้องอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องทำใจยอมรับว่ามันต้องมีการเปลี่ยนจากสิ่งเก่าด้วย

สิ่งที่ต้องทำ คือ มองตัวลูกค้าของตัวเองให้ดีแล้วดูพฤติกรรมเค้า จากนั้นหาลักษณะของโครงสร้างที่มี 5S ประกอบแต่ยังคงทำให้เค้าได้สินค้าหรือบริการหรืออะไรก็ตามที่ลูกค้าต้องการได้ มันคือความคิดสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมที่เราจะต้องสรรหาและก็ต้องหาไปเรื่อยๆ

สรุปคือทุกคนต้องคิดใหม่ ทำใหม่ หัดสิ่งใหม่ๆ มองสินค้า บริการ และธุรกิจของเราในมุมกว้างมากขึ้น มองพฤติกรรมผู้บริโภค และดูว่าเราจะสามารถปรับหรือใส่ Concept 3 ข้อนี้ ควบคู่กับหลัก 5S เข้าไปยังไง เพื่อให้สามารถขายสินค้าหรือบริการได้

  1. Touchless ไม่มีแตะตัว เพื่อให้มี social distancing
  2. Cashless ไม่ต้องแตะเงิน เพื่อความสะอาด สะดวก ปลอดภัย
  3. Selfless คือธุรกิจต้องเสียสละ คิดถึงคนอื่น คิดถึงสังคม ด้วยเสมอในการประกอบกิจการ ไม่กอบโกยคนเดียว ช่วยเหลือสังคมอย่างจริงใจ ให้ลูกค้ารู้สึกดีกับสังคม จึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน

การปฏิบัติตามมาตราการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้มีการ Up skill, Re skill และค้นพบความสามารถของตัวเองเยอะมากขึ้น มีการผลิตสินค้าหลายอย่างหรือทำด้วยตัวเองที่บ้าน ในมุมนี้จะส่งผลกับแบรนด์หรือการตลาดของบริษัทใหญ่ๆ หรือจะไปต่อยอดได้อย่างไรนั้น

ดร.ลักขณา คิดว่าจะส่งผลแน่นอน ในฐานะที่เป็นคนทำธุรกิจกับคนผลิต เมื่อลูกค้าสามารถทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เราต้องเพิ่ม value ให้กับสินค้าของเรา เช่น Personal Hygiene อาจจะก็ไม่ได้แค่ชำระล้างอย่างเดียว แต่อาจจะเพิ่ม innovation เข้าไปใน Hygiene เนื่องจากคนอาบน้ำมากขึ้นก็จะผิวแห้ง เราต้องเพิ่ม Value เข้าไป เมื่อไหร่มีปัญหาจะมีโอกาสเสมอ

ดร.เอกก์ เพิ่มเติมในแง่ของ Strategy ว่าเมื่อไหร่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ลูกค้าสามารถทำเองได้ นอกจากสินค้า D.I.Y. จะเกิดขึ้นแล้ว จะมีเรื่อง Strategy อยู่ 2 ประเด็น คือ

  1. จะเกิดคู่แข่งคนใหม่แต่เป็นคู่แข่งซึ่งเรารักมาก เมื่อก่อน Customer กับ Competitor แยกวิเคราะห์กัน แต่ต่อไป Customer จะเริ่มทำเองเป็น เพราะฉะนั้นจะกลายเป็น Competitor โดยอัตโนมัติ และเป็นคู่แข่งที่เรารักด้วย จะทำอย่างไรดีต้องคิดดีๆ และต้องคิดเยอะมาก
  2. เมื่อลูกค้าเริ่มทำเองเป็นเค้าจะเสนอราคาต้นทุน ของที่เคยใส่ราคาที่มันเป็น value pricing, premium pricing จะทำยากขึ้นเพราะเมื่อลูกค้าทำเป็นลูกค้าจะเริ่มเห็นต้นทุนที่แท้จริง นักการตลาดที่เล่น premium price ต้องระวัง

ใน 2 ประเด็นนี้สิ่งที่ต้องทำคือ เพิ่ม value ให้กับสินค้าหรืออาจจะกลับมาสู่ creativity ของการเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิมๆ ทำอะไรก็ตามเพื่อเอื้อให้ลูกค้าเอา format ไปใช้ต่อยอดได้ เหมือนพวก semi-finish หรือ D.I.Y. ก็อาจจะเป็นหนทางของอนาคตก็ได้เช่นกัน

สำหรับมุมมองทั้งภาคองค์กร และภาคการศึกษาว่านักการตลาดรุ่นใหม่หรือองค์กรที่เกี่ยวกับนักการตลาดต้องการคนรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนตัวเองอย่างไรเพื่อให้เข้ากับโลกการตลาดยุคใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ในด้านองค์กรเชื่อว่าในอนาคตองค์กรจะใช้คนน้อยลง คนที่ไปทำตรงนั้นต้องเป็นคนที่มี Multi talented ไม่ใช่ทำได้อย่างเดียว เราต้องมีความรู้ในหลายๆ ด้านมากขึ้น ปัญหาในอนาคตมันซับซ้อนและจะมีสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเยอะ

ท้ายที่สุดแล้วเราต้องการนักการตลาดที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและเทรนด์ของโลก สิ่งเหล่านี้ต้องเอามาประกอบกัน ต้องเปลี่ยนทักษะและความสามารถของนักการตลาดให้ไม่เหมือนเดิม ด้านการศึกษาก็เช่นกันอาจจะต้องเปลี่ยนหลักสูตรต่างๆ เนื้อหาไม่ควรแคบและเจาะจงจนเกินไป

ทักษะที่สำคัญสำหรับนักการตลาดยุคนี้ คือ
  1. การเข้าอกเข้าใจการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจคนอื่น คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เป็น skill of empathy นักการตลาดมีหน้าที่เข้าอกเข้าใจผู้อื่นเพื่อแก้ปัญหา
  2. ความเข้าใจในระดับ Macro ซึ่งนักการตลาดในอดีตทำเองไม่พอ เราต้องยอมรับว่าประเด็น Macro สำคัญมาก เช่น ประเด็นความยัดแย้งในซีเรียเกิดขึ้นได้ยังไง ถ้าไม่เข้าใจจะทำการตลาดระดับโลกไม่ได้ และระดับ Micro ก็ไม่ควรละเลย
  3. ต้องมี emotional intelligence เข้าอกเข้าใจจนควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
  4. Digital ability โลกเข้าสู่ยุคดิจิตอลแล้วไม่รู้เรื่องนี้ไม่ได้

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดฯ เผยวิสัยทัศน์ ร่วมฝ่าวิกฤติเคียงข้างผู้ประกอบการ และนักการตลาดไทย เน้นสร้างพลังขับเคลื่อน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

2.6k
SHARE

นายอนุวัตร เฉลิมไชย  นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย นำโดย นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย แถลงข่าววิสัยทัศน์และพันธกิจ พร้อมแนะนำทีมคณะกรรมการอำนวยการชุดใหม่ 34 ท่าน ที่มาร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และพันธกิจของสมาคมร่วมกัน ในงานงานแถลงข่าว “MAT 2020 การตลาดไทยยุค New Normal”  ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม A โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ เมื่อวันพุธที่ 23 กันยายน 2563

นายอนุวัตร กล่าวว่า “ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมานี้ เป็นสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในโลกธุรกิจ ทั้งในแง่ของรูปแบบการทำการตลาด และ skillset ของบุคลากรคนทำธุรกิจ ซึ่งความท้าทายหลักที่ภาคธุรกิจต้องรับมือนั้น มาจากหลายสาเหตุ คือ

  • New Crisis ทั้งเรื่องโควิด-19 และ เรื่องสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่แย่ลงทุกวัน
  • New Normal เมื่อผู้บริโภคก้าวสู่โลก digital lifestyle เต็มตัว นักการตลาดก็ต้องปรับกระบวนทัพตามอย่างรวดเร็ว
  • New Technology เข้ามามีบทบาทเปลี่ยนโลกการตลาดแบบเดิมๆ ซึ่งโลก analog เริ่มหายไป ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง AI, Mixed Reality, 5G ฯลฯ นักการตลาดต้องปรับตัวให้ทัน
  • New Consumers แบ่งผู้บริโภคเป็น 2 กลุ่มที่ต่างกันจนสุดขั้ว คือ กลุ่ม Generation Z กับ กลุ่มSilver Generation นักการตลาดยุคนี้ต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง generation marketing มากขึ้น ซึ่งความท้าทายนี้สามารถสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้
  • ความไม่แน่นอน (Uncertainty) จากเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา จึงมีการเปลี่ยนแปลงมากมายในวงการธุรกิจและการตลาด ทั้งเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอลที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมถึงวิกฤติและความท้าทายต่างๆ ทำให้นักการตลาดในยุคนี้ต้องปรับตัวให้ทันกับโลกการตลาดยุคใหม่อยู่เสมอ

โดยมุ่งสร้างสังคมของนักการตลาดพันธุ์แท้ หรือ Genuine Society of Marketing Professionals เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับทุกๆคน เพื่อสร้างเครือข่ายนักการตลาดชั้นนำของประเทศ และ มุ่งทำงานเพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของสมาคม คือ “การใช้ความเยี่ยมยอดทางการตลาด มาเป็นพลังขับเคลื่อนขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศ” (Marketing Excellence as a ‘Competitive Force’ of the Nation) ผ่านการขับเคลื่อนด้วย 4 พันธกิจหลัก (4H)  คือ

  1. สร้าง Head หรือ Center of Marketing Wisdom มีการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจและการตลาด เพื่อประมวลความคิด วิเคราะห์กลั่นกรอง Co-Create องค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านการตลาด และธุรกิจให้กับประเทศ โดยเริ่มจากผู้บริหารด้านการตลาด และผู้เชี่ยวชาญภาคการศึกษาที่จะมาร่วมเป็นภาคีในการระดมพลังสมองให้กับนักการตลาดไทย
  2. สร้าง Hand หรือเครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด (The CMO & Academic Board) ที่จะช่วยเผยแพร่ความรู้ด้านการตลาดที่แท้จริง นอกเหนือจากการระดมพลังสมองแล้ว ทางสมาคมฯ ยังมุ่งสร้างเครือข่ายนักการตลาดที่จะมาแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์จริงและกรณีศึกษาต่างๆ ผ่านกิจกรรมของสมาคมฯ ในรูปแบบงานสัมมนาและงานแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับ ประเทศ เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว
  3. สร้าง Heart เพื่อชี้ให้เห็นถึง จิตวิญญาณการตลาด ที่ถูกต้องและเหมาะสม ปลุกจิตสำนึก และชี้ให้เห็นว่า “การตลาดที่ถูกต้องและเหมาะสม คือ จิตวิญญาณสำหรับทุกธุรกิจ” และการยึดมั่นในจรรยาบรรณการตลาดที่ดี จะส่งผลดีกับธุรกิจในระยะยาว
  4. สร้าง Hope เพื่อจุดประกายธุรกิจด้วยการสร้างนักการตลาดยุคใหม่ เน้นสร้างนักการตลาดรุ่นใหม่ผ่านโครงการ J-MAT (Junior Marketing Association of Thailand) โดยผนึกกำลังกับภาคการศึกษา เสริมประสบการณ์แก่นักศึกษาธุรกิจและการตลาดให้มีศักยภาพ พร้อมเข้าสู่โลกธุรกิจ และเติมความรู้ด้านการตลาดยุคใหม่ให้แก่นักการตลาดที่ต้องการ Reskill & Upskill เพื่อสร้างความหวังและความเชื่อมั่น ในการที่จะใช้การตลาดนำพาประเทศไทยไปสู่โลกการตลาดยุคใหม่

เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่วางไว้ ทางสมาคมฯ จะมีบทบาทเป็นแพลตฟอร์มในการ

  1. Networking & Collaboration สร้างเครือข่าย รวมไอเดียและให้ความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งระดับบุคคลและองค์กร โดยมีกิจกรรมให้นักการตลาดได้มาพบปะกัน ทั้งงาน Marketing Day, Insight Marketing Visit, และงานแจกรางวัล MAT Award และ Hall of Fame เป็นต้น
  2. Knowledge & Experience sharing ตกผลึกแนวคิดตลาดยุคใหม่จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมแบ่งปันให้แก่ผู้ประกอบการ และนักการตลาดผ่านงานสัมมนาและกิจกรรมให้ความรู้ต่างๆ เช่น The CMO Academy และ Super Brand Manager ซึ่งเป็น flagship course ของเรา
  3. Next generation development พัฒนานักการตลาดรุ่นใหม่ให้มีทั้งศักยภาพ และมีจรรยาบรรณ ผ่านโครงการ J-MAT และการมอบทุนการศึกษาของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯ

นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจหลักในการเติมความรู้ด้านการตลาดยุคใหม่ให้แก่นักการตลาดที่ต้องการ Re-Skill & Up-Skill สมาคมการตลาดฯ จึงพัฒนา 4 แกนความรู้หลักสำคัญที่นักการตลาดมองข้ามไม่ได้ คือ

  1. Strategic marketing การวางกลยุทธ์ที่ชัดเจนก่อนออกเดินทางในโลกธุรกิจ
  2. Martech & Innovations การเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้เพื่อสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่แตกต่าง
  3. Storytelling การสื่อสารอย่างมีศิลปะ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในโลกที่เต็มไปด้วยสาสน์จากหลายแบรนด์
  4. Marketing integrity & Sustainability การเติบโตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลที่ดี

 

โดยทางสมาคมการตลาดฯ จะมีการพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาต่างๆ ที่ตอบโจทย์ทั้ง 4 ด้าน (4R) เพื่อเป็น
การเรียนรู้ (Learning Pillars) ใหม่ของสมาคมฯ ในการช่วยพัฒนาศักยภาพนักการตลาดไทย…

  1. Reskill & Upskill สร้างโอกาสตัวเอง ให้มีศักยภาพพร้อมก้าวสู่โลกการตลาดยุคใหม่
  2. Response สามารถตอบโจทย์และปรับตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที
  3. 3. Recover กลับสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติหลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย
  4. Renew พัฒนาธุรกิจ โดยนำโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤติมาใช้ เพื่อการเติบโตในระยะยาว

ทางสมาคมฯ มั่นใจว่า หากองค์กรและนักการตลาดมีการปรับตัวและเติมความรู้ใหม่ๆ จะนำไปสู่ ผลลัพธ์ 3S คือ Survive, Strong, และ Sustainable ไม่ใช่แค่ให้ธุรกิจอยู่รอด แต่สามารถเติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน

โดยในปี 2563 – 2565 ผู้ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และพันธกิจของสมาคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คือ กลุ่มคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายกลุ่มธุรกิจ อาทิ Industrial, Service, FMCG, Retail, Tech, Platform, Media & Advertising Agency, Research, PR, Communications เป็นต้น โดยการทำงานหลักๆ คือร่วมกันระดมสมองตกผลึกองค์ความรู้ต่างๆ ของคณะกรรมการบริหารทุกท่าน เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพนักการตลาดไทย นายอนุวัตรกล่าวทิ้งท้าย

 

รูปภาพบรรยากาศงาน

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Fast Food Brand หลบไป Faster Food Store มาแล้ว

2.6k
SHARE

หลายคนคงเข้าใจว่า 7-Eleven ถือกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะถ้าไปญี่ปุ่นก็จะเห็นร้านอยู่ทุกถนนทุกซอย เพราะมีสาขามากที่สุดถึง 31% ของสาขาทั้งหมดในโลก แต่จริงๆ แล้ว 7-Eleven เริ่มกิจการที่สหรัฐอเมริกา โดย บริษัท เซาท์แลนด์ไอซ์ จำกัด ซึ่งชื่อก็บอกชัดเจนว่าขายน้ำแข็ง ต่อมาขยายไลน์สินค้าอุปโภคบริโภค และเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 7.00 am – 11.00 pm จึงเป็นที่มาของคำว่า 7-Eleven มาถึงทุกวันนี้นี่เอง

 

 

ประเทศไทยมีจำนวนสาขาร้าน 7-Eleven เป็นอันดับ 2 ของโลก ถึง 11,299 ร้าน ในปี 2019 โดย 2 เหตุผลหลัก ที่เห็นได้ชัดในการผลักดันการเติบโตของ 7-Eleven คือ

1) การเข้าถึงลูกค้า เคยสังเกตกันไหมว่า ร้านมักจะตั้งอยู่ในจุดที่มี High Need ตาม Daily Customer Journey ตั้งแต่จุดเริ่มต้น/ จุดพักของการเดินทางในแต่ละวัน เช่น ปั๊มน้ำมัน, สถานที่ท่องเที่ยว → จุดหมายในแต่ละวัน เช่น ที่ทำงาน โรงเรียน และจุดสิ้นสุดของการเดินทางในแต่ละวัน เช่น หน้าหมู่บ้าน ในคอนโด

2) การเข้าใจลูกค้า เรื่องนี้ต้องยกนิ้วให้ 7-Eleven เลย ที่เข้าใจความต้องการของลูกค้า มีสินค้าและบริการ ตอบ 3 ขั้นความต้องการของคนใน Maslow’s Need
Physiological Needs: อาหารมื้อหลัก มื้อรอง ขนมนมเนย เครื่องดื่ม ปัจจุบันมี Fresh Coffee Kiosk ตามความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการดื่มกาแฟชงสด
Safety Needs: การดูแลสุขภาพอนามัย มียาสามัญประจำบ้านขาย มีหน้ากากอนามัยขาย ตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไป
Psychological Needs: อาหารและเครื่องดื่มสำหรับโอกาสสังสรรค์ โอกาสพิเศษ การดูแลตัวเองให้ดูดี เป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น Beauty Products Line ใหม่ๆ และ อุปกรณ์เพื่อความบันเทิงต่างๆ

ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค Fast Food ของผู้บริโภคในยุค Convenience Driven พบ 2 Key Insight ที่น่าสนใจ

1. Needs State and Occasion of Consumption ของผู้บริโภคไม่เปลี่ยน ผู้บริโภคจะตัดสินใจว่าจะทานอะไร โดยเริ่มจาก Needs State ว่าวันนี้จะทานเพื่ออะไร ทานเพื่ออิ่ม ทานเพื่อให้รางวัลตัวเอง ทานเป็นมื้อหลัก ทานเป็นอาหารว่าง หรือ By Occasion คือทานคนเดียว หรือทานกับใคร ในโอกาสอะไร

2. อย่างไรก็ตาม ในยุคที่ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากขึ้น และหันไปทางไหนก็เจอแต่ร้านสะดวกซื้อ โดยเฉพาะ 7-Eleven ทำให้เจ้าของแบรนด์ Chained Fast Food ใหญ่ๆ อาจต้องปวดหัว เพราะมี 7-Eleven เข้ามาแย่ง Share of Wallet, Share of Stomach และเมื่อวิเคราะห์จาก Consumer Perception จะเห็นว่า 7-Eleven มี POD มากกว่า Chained Fast Food Brands ในเรื่อง ‘Faster’ – สะดวกกว่า

  • Point of Parity (POP) กับ Chained Fast Food: ของว่าง สำหรับทานคนเดียว สำหรับเวลาพักผ่อน
  • Point of Differentiation (POD) กับ Chained Fast Food: โอกาสเร่งด่วน ยามรีบ ความสะดวก

จาก Brand Relative Correspondence Mapping ข้างล่างจะเห็นได้ว่า ผู้บริโภคจัดร้านสะดวกซื้อ/ 7-Eleven ใน Segment เดียวกับ Chained Fast Food เนื่องจากความสะดวก และการตอบสนองความต้องการ Light Meal ในเวลาพักผ่อน

A : Eating with family
B : Eating alone
C : Eating with friends
D : For special occasion
E : Meal
F : Light meal/ snack
G : Urgent meal while traveling/ work
H : Leisure moment
I : Want good food but don’t want to go out

แต่อย่างไรก็ตาม น่าสนใจว่า ผู้บริโภคเชื่อว่า เขาสามารถรับประทานอาหารที่ขายใน 7-Eleven ได้บ่อยๆ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องสุขภาพ ในขณะที่ อาหารจาก Chained Fast Food ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ และนี่เป็น POD อีกตัวของ ‘Faster Food Store

หนึ่งในเหตุผลที่อาจทำให้เกิด Perception นี้ คือ การมีของสด ขาย ไม่ว่าจะเป็น อาหารที่ทำใหม่ทุกวัน และ Kiosk กาแฟ/ ชาสด

 

 

 

A : Variety of menu
B : Regularly offers new menu
C : Good quality and fresh raw material
D : Consistent taste
E : Regularly offers interesting promotion
F : Unhealthy, shouldn’t be eaten frequently
G : Delivery service available
H : Unique menu, unavailable elsewhere
I : Unique taste, unavailable elsewhere
J : Enhances my image

จากผลการวิจัยข้างต้น ชี้ให้เห็นว่านักการตลาดต้องวิเคราะห์การแข่งขัน และคู่แข่งในตลาดจากมุมมองของผู้บริโภค ไม่ใช่จาก Category Segment เท่านั้น การทำ Market Segmentation ที่ดี จึงต้องใช้ความต้องการของผู้บริโภคเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ Product เป็นตัวนำ เพราะคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด อาจจะเป็นคู่แข่งนอกสายตาของนักการตลาด แต่อาจเป็นตัวเต็งในใจ (Top-of-Mind) ของผู้บริโภคก็เป็นได้

Source of Image:

Tags:

ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

สมาคมการตลาดฯ จัดงานมอบทุนแก่นิสิตที่ได้รับทุนจากมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 

2.6k
SHARE

 

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้จัดงานมอบทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาที่เรียนดีและมีศักยภาพที่จะเป็นนักการตลาดที่ดี  โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นประธานมอบทุนการศึกษา โดยนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ให้การต้อนรับ

 

ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ประธานมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขึ้นกล่าวรายงานถึงผลการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯ ซึ่งมีจำนวน 28 ทุน โดยเป็นทุนที่ให้ต่อเนื่องทุกปีจนจบการศึกษาและนักเรียนทุนจะได้มีโอกาส เข้าฟังการอบรมหลักสูตรต่างๆของสมาคมฯ ,เข้าเรียนโครงการ Marketing Trainee ฯลฯ โดยมูลนิธิฯให้การสนับสนุนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ท่านได้กรุณามากล่าวให้โอวาทและให้ความรู้แก่นิสิตในพิธีมอบทุนการศึกษานี้ด้วย

 

 

ภาพบรรยากาศ

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Trends & Changes – Are you ready for Future Marketing?

2.6k
SHARE

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม  MAT ได้เปิดคอร์ส Super Brand Manager รุ่น 34 หลักสูตร flagship ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมสัมมนามาจากหลากหลายธุรกิจ โดยคุณอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดฯ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา พร้อมบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “Future of Marketing” ในสภาวะที่ไม่มีอะไรแน่นอน นักการตลาดต้องพร้อมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง  โดยคณะผู้จัดทำ ได้ทำสรุปเนื้อหาทั้งหมดมาลงไว้ด้วย

สำหรับวันแรกเนื้อหายังเข้มข้น อัดแน่นไปด้วยสาระขนาดนี้ ผู้เข้าสัมมนา ต้องเรียนรู้ และทำ Workshop ร่วมกันตลอด 14 วัน ได้อัพสกิลความรู้ใหม่ๆกลับไปแน่นอน

 

Tags:

ผู้เขียน
อรพิชชา พนารมย์

MAT Vaccine For Business EP.5

2.6k
SHARE

ปรับกระบวนทัพรับความเปลี่ยนแปลง

หัวข้อสำคัญสำหรับ EP นี้ พูดถึง วิถีชีวิตหลังโควิด ในช่วงที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นมาบ้างแล้ว ผู้ประกอบการและนักการตลาดต้องมีการเตรียมตัวรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปอย่างไร หลายๆครั้งได้ยินคำว่า “New Normal” มาบ้างแล้ว ซึ่งใครๆก็พูดถึงคำว่า “New Normal” แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบต่อธุรกิจของเราอย่างไร

วันนี้เราจะได้มาพูดคุย และ ฟังประสบการณ์จากนักธุรกิจที่มีการปรับตัวก่อนที่จะมี “New Normal” และทำสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยน พลิกวิธีคิดเพื่อการอยู่รอด กับแขกรับเชิญสุดพิเศษ 2 ท่าน
1. คุณคงยศ วรรณนิตย์ Co-founder ฌาบีบีเฮ้าส์ ร้านอาหารฮาลาล​ชื่อดังที่แม้แต่แม่ชมพู่ยังต้องมาอุดหนุน
2.คุณแคทลียา ท้วมประถม MD. The Design Essential Co.,Ltd ผู้ขยายกิจการครอบครัว สู่ผู้นำด้านธุรกิจออกแบบของไทย

ทั้ง2 ท่านเริ่มต้นธุรกิจจากการเป็น SMEs จนเติบโตขึ้น และตอนนี้ก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด วันนี้เราจะมาคุยเกี่ยวกับว่าทั้งสองท่านพาธุรกิจผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร

จุดเริ่มต้นของฌาบีบีเฮ้าส์ เริ่มต้นเปิดสาขาแรกที่จุฬา จากหุ้นส่วนของคุณคงยศที่ต้องการรักษาสูตรอาหารฮาลาลของคุณแม่ เมื่อมีผลตอบรับที่ดีจึงสขายสาขาที่สอง ไปที่ประชาอุทิศ23

ธุรกิจของคุณแคทลียา เริ่มจากรุ่นคุณย่า ขายของที่ริมถนนพาหุรัถ รุ่นคุณพ่อที่เริ่มซื้อตึก มาถึงรุ่นคุณแคทลียา มีความตั้งใจที่จะต่อยอดธุรกิจของครอบครัวให้ต่อเนื่องไป และด้วยใจรักในการทำธุรกิจ จากธุรกิจการ์ดแต่งงาน ในรุ่นของคุณแคทลียา ได้พัฒนาให้เติบโต นอกจากร้านที่มีชื่อเป็นที่รู้จัก คือ ANYA อยู่ที่ทองหล่อ ที่พาหุรัถ ก็ยังมีสาขาอยู่ที่ประเทศพม่า และ ประเทศลาว และมีการต่อยอดธุรกิจด้านออกแบบดีไซน์ และ Branding design ชื่อ The design essential ด้วย

จากช่วงเวลาที่กำลังไปได้ดี เมื่อเกิดโควิด ทั้ง 2 ท่านได้รับผลกระทบอย่างไร และตั้งหลักอย่างไรบ้าง

ในด้านของธุรกิจ wedding ช่วงปลายปีที่ผ่านมา เห็นตัวเลขที่คนแต่งงานน้อยลง ขนาดของงานเล็กลง และใช้เงินกับการทำการ์ดแต่งงานน้อยลง จากที่เริ่มเห็นถึงสถานการณ์นี้ก็เกิดความคิดที่จะปรับตัวตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโควิด แล้วในช่วงแรกที่เกิดโควิด ก็นั่งคิดว่าคงมี 2 ทางเลือก จะแค่อยู่รอด หรือจะรวยขึ้น เพราะมีความเชื่อว่าในทุกวิกฤตมีโอกาส หากมองว่าปรับตัวแค่อยู่รอดก็เป็นการกรอบตัวเอง แต่หากมองว่าอยากจะรวยขึ้น จะมีวิธีการไหนบ้างที่จะทำให้เรารวยขึ้น
สำหรับวิธีรับมือ คือ เริ่มต้นจากการย้อนกลับไป ตั้งคำถาม อยากรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรจากเรา และมีปัญหาอะไร เนื่องจากทางร้านทำของชำร่วยงานศพ สิ่งที่ถูกถามถึงคือ มาส์ก สเปรย์และเจลแอลกอฮอล์ ก็คิดว่า ถ้าลูกค้าต้องการ เราต้องหามาให้ จึงเริ่มผลิตแอกอฮอล์เจล และมาส์ก ที่เป็นของตัวเอง เริ่มจากการที่ผลิตมาแจก จนมาถึงการทำมาผลิตให้กับลูกค้า แต่ก็ยังมีคำถาม ว่าของที่เรามี คนอื่นในตลาดก็มี แล้วทำยังไงถึงจะขายดีกว่าคนอื่น

วิธีการที่ทุกคนนำไปใช้ได้เลย เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้น อย่างแรกคือตั้งสติ ปรับทัศนคติ ทำให้เกิดทางเลือก แล้ววิธีแก้ปัญหาจะตามมา

สำหรับร้านฌาบีบี ก่อนมีโควิด ไม่ได้เน้นการขายเดลิเวอรี่ เนื่องจากเมนูแป้งของที่ร้านนั้น เน้นทานร้อน ทานที่ร้านจะอร่อยที่สุด แต่เมื่อต้องปิดหน้าร้านจากสถานการณ์โควิด ยอดขายหายไปกว่า 90% จึงรีบประชุมทีม ปรับบรรจุภัณฑ์ และวัตถุดิบจากเมนูที่มี ถ่ายรูปและทำการโปรโมทตามช่องทางต่างๆ และเริ่มทำการตลาดด้วยการออกไปส่งของ หาลูกค้าด้วยตัวเอง ในทุกครั้งที่ออกไปทำให้สามารถนำข้อมูลต่างๆกลับมาประชุมทีม พัฒนา ปรับปรุง ทั้งการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และคุณภาพของอาหารให้ดีขึ้น จนกระทั่งยอดขายกลับขึ้นมาถึง 500%

จุดเด่นของร้านฌาบีบี คือ แป้งอินเดีย กินคู่แกงไทยมุสลิม เสริมด้วยบรรยากาศของร้านตกแต่งสไตล์คาเฟ่ เป็นร้านอาหารฮาลาลที่เปิด 11.00-02.00 น.
นอกจากคุณภาพ และความอร่อยแล้ว เมนูของร้านฌาบีบี ยังมีความครีเอทีฟ เป็น unique selling point ของร้านเพิ่มเข้าไปอีก ผู้ประกอบการที่มีความจริงใจ เป็นหัวใจที่ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้า และยังสนับสนุนกันในยามที่เจอปัญหาได้

ทั้งสองท่านคิดว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่สายป่านไม่ยาว ควรบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างไร

ในมุมมองคุณแคทลียา ธุรกิจขนาดกลางและเล็กก็มีความสามารถที่จะปรับตัวได้ง่าย คุณแคทลียาให้ความสำคัญกับ การวางแผนกำหนดการจ่ายเงิน และตรวจสอบกำหนดรายรับ เพื่อให้เพียงพอค่าใช้จ่าย

ในส่วนการทำงาน ก็ระดมสมองกับทีมงานว่าธุรกิจ หรือส่วนงานไหนที่พอจะสามารถทำให้เกิดรายได้ในช่วงเวลานี้ ยิ่งไปกว่านั้น คือการให้ความมั่นใจกับพนักงานว่า ตัวเราจะพาทุกคนผ่านไปได้ ในสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าวิธีการไหนจะดีที่สุด แต่คุณแคทลียาเลือกที่จะไม่หยุดนิ่ง หากธุรกิจที่1 ไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ก็รีบหาทางธุรกิจที่2 หากพอเห็นทางเป็นไปได้ ก็ทดลองธุรกิจที่3 เพิ่มเติม สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ความหวังและกำลังใจของพนักงาน

ในมุมของร้านอาหาร เริ่มจากประมาณการรายจ่าย พูดคุยกับพนักงานต่างชาติว่าต้องการกลับบ้านหรือไม่ ทำให้ลดรายจ่ายส่วนหนึ่ง วันแรกที่เริ่มปิดร้าน ตรวจพบสต็อควัตถุดิบอยู่เต็ม จากการเตรียมขายปกติ เมื่อพูดคุยกับหุ้นส่วน จึงเลือกใช้วิธีการโปรโมททุกเมนูที่มี ภายใน 1 สัปดาห์ ยอดสั่งอาหารกลับมามากกว่าปกติ จนต้องทำการจ้างคนเพิ่ม เนื่องจากแป้งโรตีเป็นเมนูที่ต้องใช้การทำมือ ทำให้ได้เพิ่มรายได้ให้แก่คนที่ว่างงานช่วงเวลานั้น และจากการฟื้นตัวได้เร็ว จึงไม่ได้กระทบกับกระแสเงินสดมากนัก เพราะมีรายได้จากการประชาสัมพันธ์ออนไลน์

สำหรับร้านอาหารที่ ต้องการปรับตัว และสร้างความแตกต่าง คุณคงยศให้คำแนะนำว่าปัจจุบันลูกค้า สนใจการเล่าเรื่องมากขึ้น วัตถุดิบมาจากที่ไหน มีกระบวนการอย่างไร เป็นส่วนช่วยสร้างจินตนาการและบรรยากาศการทานอาหารให้ลูกค้ามากขึ้น และจากการสังเกต ลูกค้ามักจะเสียดายค่าขนส่งอาหาร คุณคงยศเองได้ติดต่อกับรุ่นน้องที่รวมทีมบริการส่งอาหาร และติดต่อคู่ค้าบริการส่งอาหารต่างๆ ในทุกช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ามากขึ้น

ปัญหาของร้านอาหารที่ทำเดลิเวอรี่ คือ ค่าขนส่งที่สูงกว่าราคาอาหาร เมื่อมีโปรโมชั่นลดค่าขนส่งก็สามารถทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ความท้าทายจากยอดขายที่โตขึ้น คือ การทำอย่างไรที่จะใช้ช่วงเวลานี้ ทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ต่อไปได้

การขยายจะผลให้ยั่งยืน สามารถนำเรื่องของการตลาดมาใช้ได้ โดยการให้ความสำคัญกับ Database ด้วยการเก็บข้อมูลง่ายๆ ในโปรแกรม Excel เพื่อนำไปต่อยอด สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าเพิ่มเติมได้อีก
ลูกค้าคือคนที่จะบอกทิศทางว่า สินค้าหรือบริการอะไรที่ประทับใจ แล้วพร้อมที่จะสนับสนุนต่อไป
เรื่องราวของร้านฌาบีบี ที่บอกเล่าอย่างจริงใจ จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นว่าร้านนี้ก็จะขายสินค้าดีๆอย่างจริงใจเช่นกัน

ในมุมของคุณแคทลียา สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว จะไม่กลับไปเหมือนเดิมอีก

ในธุรกิจการทำการ์ดแต่งงาน ปัจจุบันมีรูปแบบที่ลดขนาดของงาน และพิธีการลง สำหรับคุณแคทลียาที่มองเห็นความชำนาญของธุรกิจตัวเองว่า เป็นการทำงานออกแบบ ที่ส่งเสริมให้ทำของชำร่วย และการ์ดแต่งงานได้ดี ธุรกิจหนึ่งของเราอาจจะเป็นการ์ดแต่งงาน แต่ของชำร่วยนั้น เมื่อนำมาประยุกต์ ผูกโบว์สีชมพูเป็นของชำร่วยงานแต่ง ผูกโบว์สีดำคือของชำร่วยงานศพ ใส่กล่องสวยเป็นของพรีเมี่ยม เมื่อเปลี่ยนมุมมองให้กว้างขึ้น ก็จะเห็นหนทางที่จะปรับเปลี่ยนได้มากขึ้น ซึ่งคุณแคทลียาใช้ประเมินวิธีการต่างๆ ได้ใน1วัน ภายใน1วัน จะเห็นผลตอบรับที่เป็นไปได้ หากช้ากว่านั้น จะถือไม่รอด

สิ่งที่ทีมของเราเก่ง จะไปต่อได้ เมื่อเรามองเห็นว่าสินค้าหรือบริการที่เราทำอยู่ มีอะไรที่สามารถปรับออกมาใช้ได้ การนำเจลแอลกอฮอล์ และมาส์ก มาจัดเป็นของพรีเมี่ยมก็ทำให้แตกต่าง

สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ระยะสั้น หลังกลับมาเปิดร้านได้ ต้องพร้อมรับลูกค้าหน้าร้าน ไปพร้อมกับการเตรียมเดลิเวอรี่มากขึ้น เพราะคนเริ่มคุ้นชินกับการสั่งอาหาร การออนทัวร์ก็จะขยายพื้นที่ ให้คนรู้จักและนำคนมาหน้าร้าน สุดท้ายก็ต้องดูพฤติกรรมลูกค้าและปรับตัวอยู่เสมอ

ความฝันของร้านอาหาร เมื่อขยายจากสาขาที่1 ไปสาขาที่2 จะรู้ได้อย่างไรว่าเราพร้อมจะขยายสาขาแล้ว และการเลือกทำเล ต้องทำอย่างไร

จากที่เปิดร้านมา6-8เดือน เห็นผลตอบรับที่ดี เกิดความมั่นใจว่าจะไปต่อได้ เมื่อตัดสินใจขยายสาขา จึงเริ่มที่จะทำความเข้าใจลูกค้า หากเลือกเปิดในพื้นที่ของคนมุสลิม ก็จะมีร้านอาหารในพื้นที่ ซึ่งทำให้พิจารณาว่า ควรขยับออกมาในบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ได้ลูกค้ามุสลิม และลูกค้าทั่วไป เข้าถึงได้ง่ายด้วย

การเลือกตามกลุ่มเป้าหมาย และ พฤติกรรมของลูกค้า เลือกพื้นที่ใกล้เคียง ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจในรูปแบบที่ลูกค้าของเราชอบ คือ หัวใจของการมีหน้าร้าน

ขอให้ทั้งสองท่าน ฝากแนวคิดทิ้งท้าย

คุณแคทลียา – ตอนนี้เป็นช่วงเวลาการรีดค่าใช้จ่ายที่พอกพูน รีดศักยภาพของทีมงานที่ยังนำออกมาใช้ไม่เต็มที่ และอย่าท้อแท้ง่ายๆ คนที่ชนะคือคนที่ทดลองไปเรื่อยๆ จนพบทางที่ใช่ ขอให้มีความสุขกับการต่อสู้กับโควิด หลังจากนี้เราจะกลายเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้น และสนุกกับการททำธุรกิจมากขึ้น ไม่ว่าจะมีคลื่นอะไรเข้ามาในชีวิต เราจะผ่านไปได้

คุณคงยศ – ธุรกิจร้านอาหาร หัวใจการเอาตัวรอดตอนนี้คือ ออนไลน์และเดลิเวอรี่ เป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของยุคปัจจุบัน อย่าจำกัดตัวเอง หมั่นพัฒนาตัวเอง และสร้างความน่าสนใจในการดึงดูดลูกค้า passionในการทำธุรกิจ ไม่ยอมแพ้ passionในอาหาร นำมาเขียนเรื่องราวจนลูกค้าอยากลอง ส่งต่อพลังให้ทีม และพาร์ทเนอร์

สรุปสุดท้าย หัวใจของความเปลี่ยนแปลง คือการไม่ยอมแพ้ พยายามอย่างไม่ท้อ ดึงศักยภาพที่ยังไม่ถูกใช้ออกมา ขอให้ทุกท่านผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างปลอดภัย

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo