One of three columns
One of three columns
One of three columns

ใช้’ใจ’ทำการตลาด ก็จะได้’ใจ’จากผู้บริโภค

25
SHARE

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับเกียรติให้นำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Dream Food of Thai Consumers ที่ได้จากการสอบถามผู้บริโภคทั่วประเทศรวม 1,000 คน ถึงคำจำกัดความและความคาดหวังใน Dream Food ผลบางตอนน่าสนใจ และตอกย้ำ The Rise of Lazy Economy ในหมู่ผู้บริโภคอายุน้อย

What is Thais’ Dream Food?

เมื่อพูดถึง Dream Food หรืออาหารในอุดมคติ ‘สิ่งที่เห็นได้’ ได้แก่วัตถุดิบ และกระบวนการปรุง นับเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ โดย 5 ลักษณะแรกที่ผู้บริโภคนิยามคำว่า Dream Food คือ ต้องปรุงสดใหม่, ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ, สะอาด, ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล และ ใช้วัตถุดิบออร์แกนิค ซึ่งจากคำนิยามนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมผู้บริโภคถึงนึกถึง อาหารที่บ้าน หรือ อาหารที่แม่ทำ เป็นอันดับแรกของ Dream Food เพราะแม่มักทำอาหารสดใหม่ และใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่คัดสรรมาอย่างดีแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ด้วยอายุ จะเห็นว่า

คนวัยกลางคนขึ้นไปมองหา คุณค่าทางโภชนาการและอาหารที่เป็นยา
มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงาน

โดยวัยรุ่นเชื่อว่า ราคาที่สมเหตุสมผล เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของอาหารใน

อุดมคติ
และวัยเริ่มทำงานให้ความสำคัญกับเรื่องความสะดวก หาซื้อได้ง่าย

ซึ่งสอดคล้องกับงานศึกษาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเติบโตของ Food Delivery Service ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม Early Jobbers

 

 

“จากข้อมูลของ GET ในปีที่ผ่านมา เคยมีออเดอร์สั่งชานมไข่มุกมากกว่า 3 แสนแก้ว ในหนึ่งเดือน และมียอดสั่งอาหารว่างตลอดทั้งวันและบางครั้งการสั่งซื้อก็อยู่ในระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งแปลว่า คนสั่งจากร้านที่อยู่ใต้ตึกหรือตึกข้างๆ ให้มาส่งที่ทำงาน”

 

ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม KFC จึงติด 3 อันดับแรกของอาหารในอุดมคติของผู้บริโภคอายุน้อย เนื่องจากความสะดวกและราคาที่จ่ายได้นั่นเอง และชี้ให้เห็นว่า The Rise of Economy ยังคงเป็นหนึ่งเทรนด์หลัก ของ Gen รุ่นใหม่ ที่ผู้คนต่างอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน มีความคาดหวังเรื่องความสะดวกสบายและความรวดเร็วเพิ่มขึ้นตามลำดับ

ถึงแม้ว่างานวิจัยครั้งนี้จะถามเกี่ยวกับอาหาร แต่สิ่งที่เราเรียนรู้และปรับนำไปใช้ได้กับการตลาดใน Industry อื่นๆ คือ

1. ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับ Visible Reason-To-Believe (RTB) มากกว่า Invisible End Result ใน Moment of Purchase ดังนั้นการให้ผู้บริโภครู้ที่มาที่ไปของวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตจึงเป็นสิ่งที่นักการตลาดไม่สามารถละเลยได้ = Being Transparent

2. ธรรมชาติเป็นหนึ่งใน RTB ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญ = Being Natural

3. ผู้บริโภคอายุน้อยให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายมากขึ้นเรื่อยๆ = Being Convenient

4. การจะครองใจเป็น Trusted Brand ของผู้บริโภคได้ ต้องมีความสม่ำเสมอต่อเนื่องทั้งตัวสินค้า/บริการ เริ่มตั้งแต่ ความใส่ใจในการสรรหาวัตถุดิบหรือส่วนผสมของสินค้า ความตั้งใจผลิตและส่งมอบสินค้าที่ดี เพื่อสร้างความมั่นใจในประสบการณ์การใช้สินค้า/ บริการนั้นๆ ด้วย = Being Mindful (Human-Centric, Not Product)


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

ขอความร่วมมือในสถานการณ์โควิด-19

2.5k
SHARE

09 เมษายน 2563

เรื่อง      ขอความร่วมมือในสถานการณ์โควิด-19

เรียน     ท่านผู้บริหารด้านการตลาด การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ กรรมการสมาคมฯ และสมาชิกทุกท่าน

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19)  ซึ่งดำเนินมานับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกภายในระยะเวลาอันสั้น ทางภาครัฐจึงได้ขอความร่วมมือจากประชาชนคนไทย ในการลดการเคลื่อนที่ของประชากร ลดการสัมผัสโรคด้วยการอยู่บ้าน และลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อโดยหลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดหรือชุมชน รวมถึงมีการยกระดับมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมสถานการณ์ กล่าวคือ การออกพระราชกำหนดการบริหารงานราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม ประกาศกรุงเทพมหานคร ตลอดจนประกาศล่าสุดของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) ซึ่งมีเนื้อหาที่สอดคล้องกันอย่างชัดเจนในการยกเลิกละเว้นกิจกรรมทุกประเภทที่จะก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนมาก หรือยกเลิกการทำงานใดๆ ที่จะทำให้ผู้คนจำนวนมากต้องมาอยู่ร่วมในสถานที่เดียวกัน

ด้วยความห่วงใย และเพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จึงใคร่ขอความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ในภาคธุรกิจ ให้มีการจำกัดและควบคุมกิจกรรมการตลาดอย่างเคร่งครัด ให้สอดคล้องกับกฎข้อบังคับต่างๆ ของทางภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานโฆษณาในรูปแบบต่างๆ ที่มีการใช้บุคลากรจำนวนมากมาปฏิบัติงานร่วมกันทั้งในสถานที่และนอกสถานที่

สมาคมการตลาดฯมีความเชื่อมั่นว่าทุกองค์กรมีความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันควบคุมการระบาดของโรค โดยการพิจารณายกเลิกหรือชะลอการทำงานผลิตถ่ายทำชิ้นงานโฆษณาหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงออกไปก่อน เพื่อช่วยให้ประเทศไทยกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด

สุดท้ายนี้ สมาคมการตลาดฯขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกองค์กรที่จะปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงหรือมีประกาศเพิ่มเติมใดๆ ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพมีพลานามัยที่แข็งแรงและหวังว่าเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว หากมีประเด็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ สมาคมจะรีบแจ้งให้ทุกท่านทราบทันที

 

ขอแสดงความนับถือ

(อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์)

นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

 

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมาคมการตลาดฯ เพิ่มวัคซีนให้ธุรกิจ สู้วิกฤติ COVID-19

67
SHARE

KEY FOCUS

  1. สร้างตัวตนบนออนไลน์ – เมื่อผู้บริโภคยังจำเป็นต้องกินต้องใช้ การจับจ่ายแค่เปลี่ยนที่ อย่ามองข้ามการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์
  2. ทลายกับดักทางธุรกิจ อย่ายึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ – เพิ่มช่องทางการขายด้วยการเชื่อมต่อทั้ง online และ offline แบบ Omni Channel
  3. รีบปรับ สอดรับกับสถานการณ์ – สิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยน อาจมิใช่แค่ช่องทางการขายอีกต่อไป แต่อาจรวมไปถึงรูปแบบของการทำธุรกิจ หรือ Business Model ที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบรับกับสถานการณ์มากขึ้น
  4. การสื่อสารคือการเชื่อมต่อที่ดีที่สุด – เมื่อเปิดแพลตฟอร์มใหม่ คุณต้องมีการสื่อสารให้ลูกค้าทราบ ใช้ภาพเป็นตัวนำให้รายละเอียดที่จำเป็นให้ครบ จบในโพสต์เดียวแบบไม่เยิ่นเย้อ และถือโอกาสพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า มัดใจ ให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ

สมาคมการตลาดฯ แนะนำ check list เพื่อเป็นวัคซีน
เสริมภูมิต้านทานให้ธุรกิจเดินหน้าต่อได้ในช่วง COVID-19

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) สร้างความวิตกกังวลให้กับประชาชนทั่วโลก ทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกจากบ้านน้อยลง จำกัดการท่องเที่ยว เดินทาง จับจ่ายใช้สอยตามห้างร้านค้า ส่งผลกระทบอย่างหนักกับทุกภาคธุรกิจสินค้าและบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กได้รับผลกระทบอย่างรุ่นแรง ทั้งยอดขายและการดำเนินการ

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ขอเสนอข้อแนะนำเป็นแนวทางที่ต้องทำเบื้องต้น ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการปรับตัวฝ่าสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

1. Be Visible with Clarity สร้างตัวตนของธุรกิจในโลกออนไลน์
    • การที่ผู้บริโภคออกจากบ้านมาจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่มีความต้องการจับจ่าย
      ผู้บริโภคยังต้องกินต้องใช้ เขายังคงค้นหาสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการสืบค้นและทำธุรกรรม และการซื้อขายทางออนไลน์มากขึ้นกว่าเดิม
    • ดังนั้น หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ ดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นแค่ร้านอาหารตามสั่ง ร้านข้าวแกง
      ร้านขายของชำ ร้านดอกไม้ สปา ทำเล็บ หรือบริการอะไรก็ตาม คนจะเลือกใช้การบริการจากสถานที่ใกล้เคียงที่พักอาศัยมากขึ้น ดังนั้น Location Based Marketing อย่าง Google My Business จะมีบทบาทสำคัญเวลาที่คนต้องการค้นหาธุรกิจหรือบริการในบริเวณใกล้เคียง การสร้างตัวตนให้แก่ธุรกิจของคุณในโลกออนไลน์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
    • แต่การตั้งนิยามของธุรกิจใน Google My Business เป็นสิ่งสำคัญมาก จะต้องมีความชัดเจน หรือ Clarity คุณต้องเขียนคำนิยามธุรกิจของคุณให้ สั้น กระชับ และแตกต่าง หากคุณเป็นร้านอาหารตามสั่ง การตั้งชื่อว่า ป้าน้อยตามสั่ง อาจฟังแล้วไม่จูงใจเท่า ป้าน้อยตามสั่ง ผัดกระเพราแท้รสเลิศ หรือ หากคุณขายของเฉพาะด้าน ก็ควรระบุลงไปให้ชัดเจน เช่น ร้านขายถ่านคุณสงวน, Floraison ร้านดอกไม้สไตล์อังกฤษ ฯลฯ เวลาคนค้นหาจะได้หาเจอได้ง่ายๆ และเห็นแล้วรู้ทันทีว่าร้านของคุณขายอะไร
    • และที่สำคัญ คุณควรโพสต์รูปภาพประกอบ และข้อเสนอลงในข้อมูลธุรกิจด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่าธุรกิจโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร และ สร้างความน่าเชื่อถือโดยเชิญชวนให้ลูกค้าที่ได้มาใช้บริการหรือติดต่อกับร้านช่วยเขียนรีวิวให้ เพราะยุคนี้ ใครๆ มักจะเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีรีวิวที่ดี
    • เมื่อข้อมูลของคุณครบสมบูรณ์ มีรูปภาพที่แสดงให้เห็นว่าร้านของคุณหน้าตาหรือบรรยากาศเป็นอย่างไร มีข้อมูลสินค้าและบริการ รวมถึงมีการรีวิวเรทติ้งดีๆ จากลูกค้า สุดท้ายแล้ว AI (artificial intelligent) ของ google จะทำการประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ เพื่อแนะนำร้านของคุณให้กับคนที่สืบหา มองหาสินค้าและบริการประเภทนี้ในพื้นที่ของคุณ หากอยากอยู่อันดับต้นๆ คุณก็ต้องมีความทุ่มเทในการเติมข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ AI ด้วย
2. Shift Mindset & Change Platform – ทลายกับดักทางธุรกิจ อย่ายึดติดอยู่กับกรอบเดิมๆ
      • ในยุคที่เราถูกล้อมด้วยสถานการณ์วิกฤติ บางครั้ง ทางเดียวที่จะออกจากวงล้อมของปัญหาได้ คือการกล้าก้าวออกจากกรอบความคิดเดิมๆ และกล้าสร้างความเปลี่ยนแปลง
      • ไม่ว่าคุณจะอยู่ในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการ ในช่วงเวลานี้ คือเวลาที่ดีมากในการเริ่มทบทวนโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของช่องทางทางการขายซึ่งมีทางเลือกมากมาย แต่เราต้องมีการผสมผสานช่องทางทั้ง online และ offline แบบ Omni Channel การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
      • หากคุณต้องการขายสินค้า ช่องทาง online platform ต่างๆ มีความสำคัญมากในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, Facebook, Line@, หรือ Thailand Post Mart สำหรับสินค้า OTOP หรือ Thai Mice Connect สำหรับธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดงานและการท่องเที่ยว หากแต่ก่อนยังไม่เคยใช้ช่องทางใหม่ๆ
        เหล่านี้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องเปิดรับโอกาสนี้แล้ว
3. Reframe Your Business – รีบปรับ สอดรับกับสถานการณ์
    • จากที่กล่าวมา สิ่งที่เราต้องปรับเปลี่ยน อาจมิใช่แค่ช่องทางการขายอีกต่อไป แต่อาจรวมไปถึงรูปแบบของการทำธุรกิจ หรือ Business Model ที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนให้ตอบรับกับสถานการณ์มากขึ้น
    • ในยุคที่ผู้คนหลีกเลี่ยงการออกมานอกบ้านและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ผู้คนอาจไม่สะดวกใจที่จะมาใช้บริการที่ร้าน แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาหมดความต้องการที่จะใช้บริการของเรา คุณอาจจะต้องเดินเข้าไปหาเขาให้มากขึ้น ร้านอาหารหลายร้านเริ่มปรับรูปแบบให้เป็นรูปแบบ delivery และเปลี่ยนแนวมาทำ
      chef table แบบตามบ้านมากขึ้น หากคุณเคยทำธุรกิจ catering ให้กับงานอีเวนต์ใหญ่ๆ ตอนนี้อาจต้องปรับรูปแบบมาบุกตลาดอาหารส่งประจำแบบผูกปิ่นโตตามสำนักงาน ร้านนวด ร้านทำผม อาจต้องเริ่มบริการถึงบ้านแบบ home service ให้มากขึ้น Hostel หรือโรงแรมขนาดเล็กที่เคยรองรับแต่นักท่องเที่ยว อาจลองเปลี่ยนมาเป็น การจัด private gathering ที่รวมทั้งอาหารและที่พัก สำหรับกลุ่มเพื่อน ญาติมิตรกลุ่มเล็กๆ ที่หาที่สังสรรแต่ไม่อยากปะปนกับคนอื่นๆ
    • แต่เหนือสิ่งอื่นใด โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 เราต้องมอบความปลอดภัยให้กับลูกค้าของเราด้วยมาตรการรักษาความสะอาดที่รัดกุม พนักงานที่จะออกไปให้บริการต้องมีการตรวจไข้ ตรวจเชื้ออย่างเป็นทางการ และที่ร้านของเราเองก็ต้องมีมาตรการการทำความสะอาดหลายระดับ อาทิ ในทุกๆวัน มีการทำความสะอาดทุกพื้นผิวที่ลูกค้าต้องสัมผัส ทุกอาทิตย์มีการฆ่าเชื้อ การขยายช่วงห่างระหว่างโต๊ะอาหารมากกว่าเดิม การใช้ระยะความห่างในการทำกิจกรรมเพื่อความปลอดภัย Social Distance ฯลฯ และต้องสื่อสารสิ่งเหล่านี้ให้ลูกค้าทราบเพื่อเพิ่มความมั่นใจ รวมถึงแนะนำการดูแลรักษาตัวเองให้แก่ลูกค้าเพื่อแสดงความใส่ใจและห่วงใยไปสู่ลูกค้าของเราอีกด้วย
4. Communicate & Connect
      • ในทุกความสัมพันธ์ การสื่อสารคือการเชื่อมต่อที่ดีที่สุด ในที่นี้รวมไปถึงการทำธุรกิจเช่นกัน หากคุณเริ่มเปิดขายสินค้าในแพลตฟอร์มใหม่ๆ คุณต้องมีการสื่อสารให้ลูกค้าของคุณทราบ ซึ่งคุณสามารถเริ่มต้นง่ายๆ โดยผ่าน Social Platform ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้ง Facebook, IG, และ Line
      • สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่เพิ่งเริ่มเปิดขายทางออนไลน์ การจะสร้าง fan page ให้มีฐานใหญ่พอที่จะขายนั้นอาจจะช้าเกินไป คุณต้องรู้จักใช้ ช่องทางส่วนตัว personal network ให้เป็นประโยชน์ โดยใช้หลักทวีคูณของการบอกต่อ word of mouth แชร์ลงไปในหน้าเพจของตัวเอง แล้วขอให้เพื่อนๆช่วยแชร์ ให้ลูกค้าเก่าช่วยแชร์ รวมถึงสร้างหรือมอบ deal พิเศษ ที่ทำให้พวกเขาอยากจะแชร์
      • เวลาจะโพสต์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ให้ยึดหลัก ให้ภาพเป็นตัวนำ เพิ่มคำอธิบายที่สั้นและตรงประเด็น อย่าลืมเน้นโยงไปช่องทางการขาย และให้รายละเอียดที่จำเป็นให้ครบ จบในโพสต์เดียวแบบไม่เยิ่นเย้อ คนยุคนี้ไม่อ่านเยอะ แต่ต้องการข้อมูลครบ ดังนั้น เราจึงต้องให้ในสิ่งที่เขาต้องการให้ได้ พร้อมทุ่มเวลาในการตอบคำถาม และตอบรับลูกค้าที่ติดต่อมาทุกช่องทางอย่างรวดเร็ว จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ยอดขายในอนาคตได้
      • สำหรับแบรนด์ที่มีการขายออนไลน์ หรือมี fan page อยู่แล้ว ควรใช้ช่วงเวลานี้ในการพัฒนาปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและทำให้แบรนด์ active อยู่ตลอดเวลา หรือ พัฒนาดีลพิเศษเพื่อมัดใจให้เขาอยู่กับเราไปนานๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบสมาชิก การเสนอราคาพิเศษ การทำ pre-sale deal ซื้อราคาพิเศษล่วงหน้าเพื่อมาใช้บริการในปีนี้ ฯลฯ

4 ข้อแนะนำเบื้องต้น เป็นเช็คลิสพื้นฐานที่ทุกธุรกิจควรทำ หากมีส่วนใดที่ธุรกิจยังไม่ได้เริ่ม ก็ควรพิจารณาเริ่มทำทันที ในส่วนสามารถทำได้ และสามารถทำได้เลยโดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจมากนัก

และสิ่งสำคัญในยุคที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว คือ ไม่ว่าโลกจะเป็นอย่างไร คนก็ยังต้องกินต้องใช้ แต่เราในฐานะ
ผู้ประกอบการ ได้นำเสนอในสิ่งที่เขาต้องการแล้วหรือยัง และธุรกิจของเรา มีจุดเด่นมากพอที่จะสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ หากยัง ก็ควรใช้เวลาในช่วงวาระแห่งวิกฤตินี้มาเป็นจุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างมั่นคงยิ่งๆขึ้นไป

 “ลงมือทำเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนวิกฤติและข้อจำกัดให้เป็นโอกาสทางธุรกิจของคุณ ทำก่อน ชนะก่อนแน่นอน”


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

The Rise of Lazy Economy

9
SHARE

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งวันกับสมาร์ตโฟนเครื่องเดียว ตั้งแต่ตั้งนาฬิกาปลุกไปทำงาน เช็กอีเมล เรียกรถแท็กซี่ สั่งอาหารเที่ยง สั่งเครื่องดื่มและขนม ซื้อของสดของแห้งจากซูเปอร์มาร์เก็ต ชำระบิลต่างๆ โอนเงินค่าผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก ประชุมกับลูกค้าต่างประเทศ และเรียกรถกลับบ้านเมื่อหมดวัน

ผู้คนต่างอยู่ในโหมดประหยัดพลังงาน เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก ยกเว้นนิ้วที่ใช้กดสมาร์ตโฟน เมื่อทุกอย่างสามารถทำได้ด้วยปลายนิ้ว ความคาดหวังในเรื่องความสะดวกสบายและความรวดเร็ว จึงเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงในยุคที่เราเรียกว่า Lazy Economy หรืเศรษฐกิจขี้เกียจ

จากข้อมูลของ GET ในปีที่ผ่านมา เคยมีออเดอร์สั่งชานมไข่มุกมากกว่า 3 แสนแก้ว ในหนึ่งเดือน และมียอดสั่งอาหารว่างตลอดทั้งวัน ตั้งแต่มื้อเช้า เที่ยง บ่าย และมื้อค่ำ และบางครั้งการสั่งซื้อก็อยู่ในระยะทางน้อยกว่า 1 กิโลเมตร ซึ่งแปลว่าคนสั่งจากร้านที่อยู่ใต้ตึกหรือตึกข้างๆ ให้มาส่งที่ทำงาน what a lazy life!

 

บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการสอบถามผู้บริโภคทั้งหญิงและชายรวม 600 คน ในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ไม่น่าแปลกใจว่า Gen Y ซึ่งเป็นหนุ่มสาวออฟฟิศ จะมีการใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่มากขึ้นกว่า Gen อื่นๆ ในขณะที่ Gen X มีแนวโน้มที่จะใช้น้อยลง

ทั้ง 3 Gen เชื่อว่าเหตุผลหลักที่บริการฟู้ดเดลิเวอรี่เป็นที่นิยมมากขึ้น เป็นเพราะ คนขี้เกียจเดินทาง และยอมจ่ายเพื่อเอาเวลาไปทำอย่างอื่น

นอกจากนี้ Gen X และ Gen Y ยังเชื่อว่าบริการนี้เหมาะสำหรับคนในเมืองที่มีชีวิตเร่งรีบ ในขณะที่ Gen Z มองว่าเป็นบริการสำหรับคนขี้เกียจรอ มากกว่า Gen อื่น

เมื่อพูดถึงผลกระทบจากการเติบโตของธุรกิจนี้ น่าสนใจที่ Gen Z มีแนวโน้มจะให้ความสำคัญกับมลภาวะที่เกิดจากทั้งขยะภาชนะ และมลภาวะทางอากาศ สมกับที่เป็น Eco-Shame Gen

ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากแบรนด์จะเห็นโอกาสทางการตลาดในยุค Lazy Economy แล้ว แบรนด์จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย แบรนด์ที่เริ่มคิดก่อน ทำก่อน ย่อมได้ ส่วนแบ่งทางใจจาก Young Generation แน่นอน เพราะพวกเขาเป็น ‘Action Gen’ ที่จะผลักดันทำให้แบรนด์ต้องคำนึงถึง P Planet ให้มากพอๆ กับ P Profit 

Source of Image

Credit Header image: https://kaboompics.com/photo/6981/blue-pillows-on-a-carpet

Tags:

ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

งานชี้แจงโจทย์ J-MAT Award#29

10
SHARE
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
โดยชมรมยุวสมาชิกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย หรือ J-MAT
ร่วมกับ บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด

จัดงานเปิดโครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award ครั้งที่ 29 ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมทั้งสิ้น กว่า 500,000 บาท

พร้อมชี้แจงโจทย์และรายละเอียดการทำแผนการตลาด ภายใต้หัวข้อ “จัดจ้าน สุดไอเดีย” ใน วันพุธที่ 29 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์เธียเตอร์ ชั้น 6 สยามพารากอน มีนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ เข้าร่วมงานกว่า 897 คน จาก 48 สถาบันทั่วประเทศ โดยมี คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย อุปนายกฝ่ายกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และ คุณพร ดารีพัฒน์ Executive Vice President บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ

โครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award เป็นโครงการที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาในห้องเรียน มาลองปรับใช้กับโจทย์และสถานการณ์ทางการตลาดจริง เป็นการฝึกคิด วิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำเสนออย่างสร้างสรรค์ พร้อมฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมก่อนที่จะออกสู่สนามการทำงานจริง โดยในปีนี้ มีนิสิต นักศึกษาให้ความสนใจ สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เป็นจำนวน 2,938 คน รวม 454 ทีม จาก 49 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ

ติดตามรายละเอียดและข่าวสารโครงการได้ทาง

  • https://www.marketingthai.or.th/j-mat-award28
  • Facebook Fanpage ได้ที่ J-MAT
  • Line@ ได้ที่ @smartjmat
  • โทร 02-679-7360-3, 095-952-4453

#JMATAward29
#JMAT
#สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

 

ภาพบรรยากาศวันชี้แจงโจทย์ J-MAT Award ครั้งที่ 29

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563

70
SHARE

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) และสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานพิเศษหัวข้อ “10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563” รายงานฉบับนี้เป็นการจับความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของการตลาดในภูมิภาค ผนวกกับการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญของสมาคมการตลาดจากประเทศสมาชิกในเอเชีย

สหพันธ์การตลาดแห่งเอเชีย Asia Marketing Federation (AMF) เป็นองค์กรระดับภูมิภาคและเป็นเครือข่ายของสมาคมการตลาดในเอเชีย ที่มีภารกิจสำคัญในการมุ่งพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคมการตลาดในแถบภูมิภาคเอเชีย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศสมาชิกจำนวน 17 สมาคมจาก ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ไต้หวัน มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา และ บังคลาเทศ

10 เทรนด์การตลาดแห่งเอเชีย ประจำปี 2563

1. Voice Search Optimization: เทรนด์การค้นหาด้วยเสียง
เมื่อเทคโนโลยี และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจดจำเสียงได้รับความแม่นยำมากขึ้น และมีการตอบสนองอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงเป็นหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงในยุคนี้

ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการความสะดวกสบายรวดเร็วทันใจ พวกเขาแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ในการใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน เทรนด์การค้นหาด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อความค้นหาแบบเดิมๆ จึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ก้าวไกลและแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้จากบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายที่ให้ความสำคัญกับสมาร์ทเทคโนโลยีนี้ อาทิเช่น ระบบสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะของ Apple Smartphone, ระบบให้ความช่วยเหลือผ่านการสั่งการด้วยเสียงของ Amazon และ อุปกรณ์สมาร์ทโฮม Xiaomi ของจีนที่สามารถควบคุมด้วยเสียง ในอนาคตอันใกล้การค้นหาด้วยเสียงจะกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา

2. สินค้าและบริการแบบ Hyper-Personalization ประสบการณ์เฉพาะสำหรับคุณ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวเนื่องกับ Big Data และ AI สร้างโอกาสให้นักการตลาดสามารถสร้างประสบการณ์เฉพาะแบบรายบุคคล ให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่การจะพัฒนาให้ทันความคาดหวังของผู้บริโภคให้ได้นั้น นักการตลาดต้องก้าวสู่โลกของการตลาดแบบ Hyper-Personalization Marketing ซึ่งผสานข้อมูลอันหลากหลายแบบมีการใช้ Data Science และ predictive analytics ในการวิเคราะห์และคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภค ทำการตลาดที่สอดคล้องร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร กับคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า

Hyper-Personalization เป็นกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์จะต้องลงทุนเพื่อตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ พวกเขาต้องการประสบการณ์ที่รู้ใจและเหมาะกับตัวเขาที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เรื่องของกลุ่มเครื่องสำอาง ที่ในปัจจุบันไม่สามารถเหมารวมเรื่องความงามเป็นแบบเดียวได้อีกต่อไป แต่ต้องคำนึงถึงความงามที่หลากหลายและแตกต่าง ทั้งเรื่องของสีผิวและรูปร่าง 

3. Moment-based Marketing: มอบสิ่งที่ใช่ ในเวลาที่ใช่
การใช้ประโยชน์จาก Micro Moments หรือ เสี้ยวเวลาเล็กๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่แบรนด์สามารถจะนำเสนอคุณค่าบางอย่าง ‘ที่เฉพาะเจาะจง’ กับช่วงเวลานั้นๆ ให้แก่ลูกค้าได้

ในปัจจุบัน ขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นของลูกค้าไม่ได้เรียบง่ายเป็นเส้นตรงเหมือนเดิมอีกต่อไป แต่มีรูปแบบอื่นๆ อีกมากมายที่เราต้องเรียนรู้และปรับตัว ตัวอย่างเช่น การโพสต์ที่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้เลย เป็นรูปแบบใหม่ทีย่อกระบวนการ จากการรับรู้ สู่การซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค ให้การตัดสินใจนั้นสั้นและกระชับมาก ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องพาแบรนด์เข้าไปอยู่ใน Micro Moment ของกลุ่มเป้าหมายให้ได้ โดยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาต่างๆ ผ่านการออกแบบการสื่อสารการตลาดและคอนเทนท์ต่างๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทช่วยเหลือเขาอย่างเหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม

หากพูดถึงเหตุการณ์สำคัญระดับโลก ในปี 2563 นี้ ที่สามารถมาเชื่อมโยงความต้องการผู้บริโภคที่นักการตลาดสามารถนำมาสร้างแบรนด์ หรือส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนได้ อาทิเช่น โตเกียวโอลิมปิค ในปี 2563 (กรุงโตเกียวจะเป็นเมืองที่สอง เหมือนกับกรุงลอนดอน ที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมากกว่าหนึ่งครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) และ การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในปี 2563 (Euro 2020) ทั้งสองเหตุการณ์เป็นโอกาสในการสร้างการเชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายได้ตามความเหมาะสม

4. การเติบโตของ Video Search Optimization จะมาแทนที่ SEO แบบเดิมๆ
ผู้บริโภคนิยมใช้สื่อวีดีโอในการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี Video Search Optimization เพิ่มขึ้น ทำให้การขายในปัจจุบันง่ายกว่าที่เคย เพราะเมื่อผู้บริโภคเลือกเข้าไปดูวีดีโอ พวกเขาสามารถทำการค้นหาสินค้าและบริการโดยเพียงแค่แตะที่วัตถุในวิดีโอแล้วทำการซื้อได้เลยโดยไม่ต้องออกจากหน้าวีดีโอนั้นๆ นอกเหนือจากนี้ เทรนด์การหาข้อมูลผ่านวีดีโอสตรีมมิ่งและการหาด้วยเสียงนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่ชื่นชอบและสามารถโต้ตอบกับผู้บริโภคได้มากกว่าจากการอ่านข้อมูลที่พิมพ์ไว้สำหรับการอ่าน

จึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดควรจะสร้างสรรค์เนื้อหาแบบ visual มากขึ้น ที่ส่งผลกับการพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลแบบ Data Visualization, อินโฟกราฟฟิกที่น่าสนใจ, ภาพและเนื้อเรื่องที่ส่งผลต่ออารมณ์และความชื่นชอบในทุกช่องทางของการสื่อสารการตลาดและแบรนด์สินค้า

5. Nano Food Printing: นวัตกรรมเครื่องพิมพ์อาหารนาโน สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้เหมาะสมตอบโจทย์สุขภาพของรายบุคคล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้ตื่นเต้นไปกับความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ การพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing) แต่เมื่อนาโนเทคโนโลยีก้าวเข้ามา เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถปรับแต่งอาหารและโภชนาการให้ตอบโจทย์สุขภาพของเราได้เป็นรายบุคคล

นวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี จะเปิดศักยภาพใหม่และความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการแปรรูปอาหาร ไม่ใช่แค่เรื่องการวิเคราะห์และสร้างสรรสร้างอาหารและโภชนาการที่ร่างกายคนต้องการ เพิ่มเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์ที่ร่างกายต้องการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายขึ้น แต่ยังรวมถึงการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคและส่วนประกอบทางเคมีอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับผู้บริโภคอีกด้วย

6. Space Technology Revolutionary: ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มาจากการสื่อสารทางแสงแบบไร้สายจากดาวเทียมที่จะมาแทนสายเคเบิลใยแก้วแบบเดิมๆ
เมื่อเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โอกาสทางการค้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทั้งบริษัท tech-startup และผู้ลงทุนเริ่มมองเห็นศักยภาพในการมีโดเมนนอกโลก และการพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำเพื่อใช้ในการสื่อสารที่ใช้ดาวเทียมหลายดวงในลักษณะหมู่ดาว (Constellation) จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อครอบคลุมทั่วโลกและด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก แม้จะมีความท้าทายเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองจากประเทศต่างๆ แต่ประโยชน์ที่เทคโนโลยีอวกาศสามารถนำมาใช้นั้นมีความน่าสนใจมาก

เมื่อเทคโนโลยีเลเซอร์ความเร็วสูงในอวกาศมาแทนที่เส้นใยเคเบิลใต้มหาสมุทร ก็จะช่วยให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเชื่อมต่อไร้ขีดจำกัดทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถสัมผัสกับเทคโนโลยีอัจฉริยะได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ยังหมายถึงความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่นระบบอัตโนมัติของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง เป็นต้น

7. การมาถึงของเทคโนโลยี 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่: ความเร็วและแรงที่จะเกิดขึ้นจริงในโลกการสื่อสาร
ระบบ 5Gs และ bandwidth ขนาดใหญ่จะช่วยเสริมศักยภาพของการตลาดในอนาคต โดยเฉพาะในเรื่องของ personalized marketing strategies หรือกลยุทธ์การตลาดระดับบุคคล เพราะความเร็วของเทคโนโลยีนี้จะช่วยเรื่องการส่งต่อของข้อมูลให้ลื่นไหล และการทำการตลาด content marketing จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

และเมื่อเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) สำหรับอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โลกจะยิ่งมีการเชื่อมต่อในระดับที่สูงขึ้นมาก ดังนั้น เราจะได้เห็นพัฒนาการขั้นสูงของแชทบ็อต และการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆที่ง่ายต่อการใช้งาน และระบบ 5G จะมาเปลี่ยนโลกการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเดิมๆที่เราเคยรู้จัก ให้ก้าวไกลไปอีกขั้น

8. Holographic Technology & Imagining Technology: เมื่อโลกแห่งจินตนาการกลายเป็นเรื่องจริง
เทคโนโลยี 5G จะช่วยทำให้ Holographic Technology & Imagining Technology กลายเป็นเครื่องมือทางเลือกที่มาแทนที่จอโทรทัศน์ที่เป็นภาพ 2 มิติ สำหรับโลกบันเทิงและการสื่อสารในอนาคต

อีกไม่ช้าเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ 3D โฮโลแกรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์สตาร์วอร์ออกสู่ท้องตลาดมากมาย ความเป็นไปได้ของธุรกิจนี้จะขยายไปอีกมากจากการเติบโตของเทคโนโลยี อาทิ โทรทัศน์สามมิติสำหรับความบันเทิง และเกมโฮโลแกรม สำหรับสมาร์ทโฟน 5G ความเร็วสูง ผู้บริโภคจะได้เปิดประสบการณ์การชมภาพยนตร์ในรูปแบบโฮโลแกรมเสมือนจริงที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบความบันเทิงที่คุ้นเคย ตัวอย่างเช่นผู้บริโภคสามารถย้อนกลับไปสัมผัสกับประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต เช่นการดูคอนเสิร์ตเก่าของศิลปินอมตะในอดีตหลายๆท่าน เป็นต้น

9. Co-working Space: ไม่ใช่แค่การแบ่งปันสถานที่อีกต่อไป แต่รูปแบบธุรกิจใหม่คือการแบ่งปันทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ
การแบ่งปันพื้นที่ทำงานร่วมกันนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการและผู้เริ่มธุรกิจมาสักพักหนึ่งแล้ว และเทรนด์นี้ยังนำไปสู่แนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy ที่มีการแบ่งปันทั้ง ทรัพยากร และ องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยลดต้นทุนโดยรวม ซึ่งการดำเนินงานและรูปแบบธุรกิจดังกล่าวเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่และบริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นเป็นอย่างมาก

แนวคิดสถานที่ทำงานร่วมกันแบบเปิด แบบที่เรียกว่า Co-working space ยังช่วยส่งเสริมการสนทนาและการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ให้ผู้คนสามารถแบ่งปันความคิดอย่างเปิดเผยและพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ

เราได้เห็นแนวคิดเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จากวิธีการหลายๆธุรกิจในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น บริการ app ทางโทรศัพท์มือถือ ที่เป็นสื่อกลางให้กับผู้ขับขี่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่มีความต้องการของลูกค้า ผันตัวเองมาเป็นคนจัดส่งของอิสระ (delivery drivers) แทนที่จะจ้างต้องพนักงานประจำเพื่อจัดส่งสินค้าดังกล่าว

10. Travel intentions for social causes: เทรนด์การท่องเที่ยวเพื่อสังคม
โครงสร้างทางสังคมยุคนี้ เอื้อให้เราสามารถเดินทางได้ง่ายขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง ดังนั้นเราจึงเห็นความเติบโตของเทรนด์การเดินทางรูปแบบใหม่เพื่อช่วยเหลือสังคม และวิธีการท่องเที่ยวก็จะช่วยเติมเต็มความต้องการส่วนตัวของผู้เดินทาง ส่วนหนึ่งมาจากความตั้งใจทำให้ทริปแต่ละทริปมีความหมายยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเติมเต็มเป้าหมายให้แก่ชีวิตของตนเองผ่านการให้ การช่วยงานสาธารณประโยชน์ และคืนสิ่งดีๆ กลับสู่สังคมนอกเหนือชุมชนที่พวกเขาพักอาศัยอยู่เท่านั้น


ขอขอบคุณสำหรับการเผยแพร่ข่าวและหากต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โทร 02 – 679 7360 – 3
ม.ร.ว. สุทธิภาณี ยุคล (หญิงนุ่น) 099 – 979 2963
หรือ จิราภรณ์ พึ่งสัตย์ (จิ๊บ) 085-1994991

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

มูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯ เปิดรับสมัครนักศึกษาทุนต่อเนื่อง ปี2563

451
SHARE

โอกาสดีๆ ที่มากกว่าการรับทุน

รับสมัคร จำนวน 13 ทุน ทุนการศึกษาละ 36,000 บาท ต่อปีการศึกษา
พร้อมโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ ฟรี!
สามารถสมัครได้แล้ว วันนี้ – 9 มิถุนายน 2563
คุณสมบัติผู้สมัคร

• เกรดเฉลี่ย 2.0 ขึ้นไป
• กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 หรือ 2
• นักศึกษาที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลหรือราชภัฏ
• ไม่ได้รับทุนจากสถาบันอื่นอยู่ (กู้กยศ.สามารถขอทุนได้)

เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก

• Download ใบสมัคร คลิก
• จดหมายรับรองสถานะการเป็นนักศึกษา และความประพฤติจากมหาวิทยาลัย
• ผลการเรียน
• บทความบรรยายประวัติส่วนตัว
• บทความบรรยายความตั้งใจเป็นนักการตลาด – ตัวอักษรขนาด 16pt ความยาวเต็ม 1 หน้ากระดาษ A4

ขั้นตอนการสมัครชิงทุน

• ผู้สมัครส่ง เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก มาทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 9 มิ.ย. 2563
ตามที่อยู่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เลขที่ 1168/21 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
• คณะกรรมการมูลนิธิฯ คัดเลือกและตรวจสอบเช็คประวัติ
• มูลนิธิฯ ส่งจดหมายแจ้งผลการคัดเลือก และระเบียบปฎิบัติถึงนักศึกษา ผู้ได้รับคัดเลือก

** ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก 13 ทุน ทาง Facebook และเว็บไซต์ ของสมาคมการตลาดฯ วันที่ 17 ก.ค. 2563

 


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

The Rise of Gen Z – The Next Power Generation

2.5k
SHARE

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักการตลาด ให้ความสนใจกับ 2 Generations เป็นอย่างมาก คือ Gen Y และ Silver Gen โดย Gen Y ได้รับความสนใจด้วยขนาดประชากรที่ใหญ่
ส่วน Silver Gen (กลุ่มอายุ 55 ปีขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออย่างมาก

นอกจาก 2 Gen นี้แล้ว ตอนนี้ถ้าใครไม่พูดถึง Gen Z ก็อาจจะตกเทรนด์ได้ ถึงแม้ว่า Gen นี้จะมีขนาดไม่ใหญ่เท่ากับ Gen ก่อนหน้านี้ แต่มีพฤติกรรมและแนวความคิดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

Who is Gen Z

 


ที่มา: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php

Gen Z คือคนในช่วงอายุ 10-24 ปี เป็นลูกของ Gen X ซึ่งเป็น Bridging Gen ระหว่าง Digital and Analog Lifestyle เป็น Gen ตัวกลางระหว่าง Gen Y และ Baby Boomer ในที่ทำงาน และเป็น Bridging Gen ระหว่างคนหลากหลาย Gen ในบ้าน

Gen Z ไม่ใช่กลุ่มคนที่อายุน้อยที่สุด เพราะยังมี Gen Alpha ที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปีในตอนนี้ ซึ่งเป็นลูกของ Gen Y or Me Generation ที่เติบโตมาพร้อมกับ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงลูกของพวกเขาเลยว่า จะ Digital Life ขนาดไหน ของเล่นเด็กAlpha ก็จะเป็นแนว Internet of Toy

Genderless Gen

Gen Z เห็นเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นเรื่องใหญ่
คำสรรพนามที่ไม่แยกเพศ ‘ze’ ถูกใช้แทนคำว่า he หรือ she
นอกจากนี้พวกเขายังยอมรับความรักในเพศเดียวกันด้วย จากการสอบถามความคิดเห็นเรื่องความรักระหว่างเพศเดียวกัน เกือบ 60% ของ Gen Z เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าความรักระหว่างเพศเดียวกันไม่ควรถูกกีดกัน ในขณะที่เพียง 44% ของ Gen X ที่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับเรื่องนี้

People, Planet and Not Only Profit

ในห้วงเวลานี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก น้อง เกรต้า ธันเบิร์ก ชาวสวีเดน วัย 16 ปี กับหลายๆ ประโยคเด็ดของเธอ เช่น “No one is too small to make a difference” “ไม่มีใครเด็กเกินไปที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง” ที่กระตุ้นให้เด็กหลายล้านคนลุกขึ้นมา ทวงสิทธิ์อากาศสะอาดของโลกใบนี้จากผู้ใหญ่ ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา มีเด็กวัยรุ่นมากกว่า 4 ล้านคนใน หลายประเทศที่ประท้วงไม่ยอมไปเรียนหนังสือ เพื่อแสดงจุดยืนของพวกเขาเรื่องโลกร้อน จากการจุดประกายของน้องเกรต้า

และจากการประชุม UN Climate Summit ที่นิวยอร์ก ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่เธอได้ทวงถามผู้นำประเทศทั้งหลายว่า “The eyes of all future generations are upon you. And if you choose to fail us, I say – we will never forgive you.” “สายตาทุกดวงของวัยแห่งอนาคตจะจับจ้องพวกคุณ และถ้าคุณทำให้เราผิดหวัง เราจะไม่ให้อภัยพวกคุณอย่างแน่นอน” ซึ่งเป็นประโยคที่ทำให้ระดับผู้นำประเทศจุกอกกันเลยทีเดียว


ทั้ง Gen Z และ Gen Y ใส่ใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่า Gen ใดๆ เพราะผลกระทบ ของโลกร้อนมันใกล้พวกเขามากขึ้นทุกที ทั้งสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป อาหารที่ปนเปื้อนมากขึ้น สัตว์โลกที่ล้มตาย และโรคภัยไข้เจ็บที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อถาม Gen Z ถึงลักษณะของบริษัทที่พวกเขาอยากทำงานด้วย ก็จะเห็นแนวโน้มว่า Gen นี้ให้ความสำคัญกับบริษัท ‘ที่ดี’ มากพอๆ กันกับบริษัทที่ให้ ‘เงินดี’

I’m Loyal to Myself, Not a Brand

Gen Z ส่วนใหญ่ไม่ใช่พวก Brand Loyal ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ หรือแม้กับบริษัท ที่ทำงาน ชาว Gen Z ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่หลากหลายมากกว่าจะยึดติดที่แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง

ในการซื้อสินค้า Gen Z ให้ความสำคัญกับรีวิวของผู้ใช้จริงมากกว่าคำโฆษณาของแบรนด์เอง

ในการทำงาน Gen Z ก็ไม่ได้คิดถึงความมั่นคงเหมือนรุ่นพ่อแม่ของตน การเปลี่ยนงานบ่อยๆ เป็นเรื่องธรรมดาของคน Gen นี้ ที่ต้องการหาประสบการณ์ที่แตกต่าง

จากข้อมูลบางส่วนของงานวิจัยของ บริษัท อินเทจ ประเทศไทย ข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า Generation Marketing ยังมีผลในการชนะใจผู้บริโภคใน Gen ที่แตกต่างกัน สำหรับแบรนด์ที่จะเจาะกลุ่ม New Gen นี้ นอกจาก P Marketing Mix เดิมแล้ว อีก 3 Ps ที่ขาดไม่ได้เลยในการทำการตลาดกับ Gen Z คือ: Purposeful, Popular, Planet-Minded

Purposeful เนื่องจาก Gen Z เป็น True Gen ที่ไม่ได้คิดแต่เรื่องของตัวเอง เป็น Gen ที่ยอมรับความแตกต่าง ไม่ชอบการแบ่งแยกไม่ว่าจะเป็นเพศหรือเผ่าพันธุ์ แบรนด์ที่จะชนะใจ Gen นี้ได้ต้องมีจุดยืนและความหมายที่ชัดเจน และเนื่องจาก Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง พวกเขาจะมองหาแบรนด์ ที่ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสแสดงตัวตนของตัวเองด้วย

Popular แบรนด์ที่มีคนพูดถึงเยอะ มีการรีวิวจากประสบการณ์จริงเยอะ Micro and Nano Influencer จะมีบทบาทต่อ Gen นี้ค่อนข้างมาก

Planet-Minded เป็นแบรนด์ที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาโลกเป็นหนึ่งในขบวนความคิดและการทำงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่งาน PR เท่านั้น Gen นี้ให้ความสำคัญกับ ‘เรื่องจริง’ ของโลกและของแบรนด์ มากกว่า ‘เรื่องเล่า’

Source of Image


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

SINGLE IS A NEW BLACK โสดพร้อมเปย์ ตลาดใหม่ที่คุณต้องตามจีบ

145
SHARE

KEY FOCUS

– ปริมาณคนโสดบนโลกใบนี้มีตัวเลขที่สูงขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจและงานบริการจำเป็นต้องปรับตัวต้อนรับลูกค้าแบบ “ข้ามาคนเดียว”

– คนโสดมีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวประมาณ 11%

– สัตว์เลี้ยง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ และการท่องเที่ยว คือธุรกิจหลักที่เริ่มมีการปรับตัวตามวิถีชีวิตใหม่ของชาวโสด

ต้องโสดเลเวลไหนถึงสามารถกินบุฟเฟต์ จิ้มชาบู ดูหนังโรง เที่ยวอะโลน แถมตบท้ายด้วยบิงซูชามใหญ่เพียงคนเดียวอย่างมีความสุข

คนโสด — สเตตัสที่จะเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม วันนี้เขาและเธอได้กลายเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อ ‘สูงมาก’ สังเกตจากการที่ธุรกิจในหลายภาคส่วนเริ่มปรับจูนความคิดใหม่เพื่อกวาดเม็ดเงินออกจากกระเป๋าชาวโสดเหล่านี้ โดยเฉพาะกับคนโสด Gen Y ที่จำนวนมากเลือกใช้ชีวิตโสดเองด้วยความสมัครใจ เป็นโสดอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ก้มหน้ารับชะตากรรมไร้คู่เพื่อแลกกับอิสรภาพหรือความเป็นตัวเอง รวมไปถึงคนโสด Gen X โดยเฉพาะเพศหญิง ที่สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้อย่างดี ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และเริ่มหันมาปรนเปรอเติมสุขให้ตัวเองแบบไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง  ตัวอย่างเช่น ป้าเอื้อย – สราลีศ์ ผลเกิด กับสโลแกนประจำตัว “ไม่มีแฟนก็แค่ลำพัง แต่ไม่มีตังค์ทนไม่ได้ค่ะ!” สาวโสดหกทศวรรษที่สูงวัยมาอย่างเปี่ยมคุณภาพท่านนี้ เธอเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว มีร้านค้าออนไลน์ และมีเคล็ดวิชาครองโสดอย่างสุขมาแบ่งปันให้กับคนอื่นๆ ด้วย นั่นคือ 1) เที่ยวเองไม่ง้อทัวร์ 2) สัตว์เลี้ยงดีต่อใจ 3) ฟิตเนสฟิตปั๋ง 4) ออมเงินเพื่ออนาคตหลังเกษียณ

โสดพร้อมเปย์ (หนัก)

รายงานจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส และการจดทะเบียนหย่าจากกรมการปกครองพบว่า ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ. 2550 – 2560) การจดทะเบียนสมรสของคนไทยลดลง 5.1% สวนทางกับจำนวนการจดทะเบียนหย่าที่เพิ่มขึ้นถึง 19.7%  ตัวเลขนี้สอดคล้องกับข้อมูลสถิติของ MeetNLunch เว็บไซต์หาคู่ระดับพรีเมี่ยมที่ระบุว่าตัวเลขคนโสดวัยทำงานในสังคมไทยมีจำนวนกว่า 40% หรือประมาณ 17 ล้านคนของจำนวนประชากรทั้งหมด ไม่ต่างกับตัวเลขคนโสดของชาวอาทิตย์อุทัยที่ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีชายชาวญี่ปุ่นถึง 25% และหญิงชาวญี่ปุ่นถึง 15% ที่ไม่มีประวัติการแต่งงานก่อนอายุ 50 ปี ซึ่งเป็นตัวเลขไม่เคยสูงขนาดนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ในขณะที่ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติปี 2561 ระบุว่าคนโสด (ที่มีอายุมากกว่า 20 ปีตามเกณฑ์อายุที่จดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมาย) มีรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวมากกว่าคนมีครอบครัวเฉลี่ยประมาณ 11%  และเมื่อเปรียบเทียบรายจ่ายในด้านต่างๆ แล้วก็พบว่าคนโสดใช้จ่ายมากกว่าคนมีครอบครัวในหลายด้าน เช่น จ่ายค่าอาหารนอกบ้านสูงกว่า 12% จ่ายค่าน้ำมันสูงกว่า 4% จ่ายเพื่อความบันเทิงสูงกว่า 5% และจ่ายเพื่อการท่องเที่ยวมากกว่าถึง 40%  มีเพียงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเท่านั้นที่คนมีครอบครัวใช้สูงกว่าคนโสดราว 48%  นอกจากนั้นเมื่อดูข้อมูลความสามารถทางเศรษฐกิจเรายังพบว่าทุกวันนี้สาวโสดพร้อมเปย์วัย 31-40 ปีส่วนใหญ่มีรายได้มากพอที่จะกู้ซื้อที่อยู่อาศัยในราคา 3 ล้านบาทขึ้นไปได้โดยผ่อนชำระเงินกู้เฉลี่ยแค่ 20,000 บาทต่อเดือน

ปรับโมเดลธุรกิจรับเงินคนโสด

เมื่อน้องหมา น้องแมว น้องปลา น้องงู น้องกระต่าย ฯลฯ ถูกยกฐานะจากสัตว์เลี้ยงประจำบ้านให้กลายเป็นลูกรักมัดใจคนโสด เรื่องอาหารการกิน เสื้อผ้าหน้าผม ที่หลับที่นอน ของบรรดาน้องๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นธุรกิจเซ็กเมนต์ใหม่ที่มีตัวเลขการเติบโตน่าสนใจอย่างยิ่ง

กรมปศุสัตว์ระบุว่าในปีพ.ศ. 2560 คนไทยมีสัตว์เลี้ยงมากถึง 13.2 ล้านตัว แบ่งเป็นน้องหมา 61% แมว 24% และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีก 15% โดยมูลค่าตลาดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงนั้นไต่ระดับขึ้นไปสูงถึง 32,230 ล้านบาท แบ่งเป็นอาหารสัตว์ 14,600 ล้านบาท สถานพยาบาล 10,200 ล้านบาท และสินค้าสำหรับสัตว์อีก 7,430 ล้านบาท โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของอาหารสัตว์นั้นมีมูลค่าสูงขึ้นถึง 20-30% เหตุเพราะคนโสดสมัยนี้รักสัตว์เลี้ยงอย่างกับลูก อาหารธรรมดาๆ จึงไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป มันต้องอาหารชั้นดีระดับพรีเมี่ยมเท่านั้น! นอกจากนี้การเติบโตของโรงแรมสัตว์เลี้ยง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฯลฯ ที่คนสามารถเข้าไปเล่นกับน้องหมาน้องแมวได้ก็มีอัตราการเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น The Barkyard BKK คอมมูนิตี้สัตว์เลี้ยงในซอยสุขุมวิท 26 ที่ด้านในมีสนามหญ้า สระว่ายน้ำ และโรงแรมไว้บริการสัตว์เลี้ยงอย่างหรูหรา

มาดูเทรนด์ร้านอาหารกันบ้าง Ichiran Ramen คือหนึ่งโมเดลตัวอย่างที่น่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น ร้านราเมงนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ที่เมืองฟุกุโอกะ รองรับลูกค้าที่เข้ามาทานราเมงแบบคนเดียวโดยมีฉากกั้นระหว่างที่นั่งเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ซึ่งสำหรับในประเทศไทยก็มีคนนำเข้าแนวคิดนี้เปิดเป็นร้านราเมงข้อสอบ หรือร้าน Eenmaal ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มจัดโต๊ะเก้าอี้สำหรับหนึ่งคนไว้ตอบโจทย์ลูกค้าที่มีวิถีสันโดษโดยเฉพาะ นั่นคือชอบมาทานคนเดียวและอยากให้เวลากับตัวเองในร้านอาหารดีๆ

ซึ่งหากจะวิเคราะห์กันดีๆ แล้ว โมเดลธุรกิจสไตล์นี้ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้ที่ต้องการอยู่คนเดียว อย่างในประเทศไทยเราก็พบเห็นร้านอาหารญี่ปุ่นหลายแห่งที่จัดพื้นที่สำหรับลูกค้านั่งทานคนเดียวบนเคาน์เตอร์บาร์ ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวโต๊ะนาน ยกตัวอย่างเช่นร้าน Hama Ichi ที่ขายอาหารปิ้งย่างแบบชายหาด หรือร้าน Sake no Mise ที่ขายเมนูสไตล์อิซากาย่า เป็นต้น

คนเดียวเที่ยวถึงใจ (กว่า)

ผลสำรวจเทรนด์การท่องเที่ยวในปีที่ผ่านมาของอโกด้า โดย YouGov พบว่าความนิยมของชาวเอเชียในการเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวนั้นจะตกอยู่ในกลุ่มคนรุ่นใหม่เสียเป็นส่วนมาก นั่นคือ Gen Millennials 41% และ Gen Z 38% ในขณะที่ทางโลกตะวันตก เทรนด์นี้กลับร้อนแรงในกลุ่มคนอายุมากกว่า นั่นคือกลุ่ม Baby Boomer 39% และ Gen X 24%  สิ่งที่น่าสนใจคือแรงจูงใจที่ทำให้ผู้คนอยากเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวนั้น คือการพักผ่อนให้สบายใจ การได้ทำอะไรที่แตกต่างไปจากกิจวัตรเดิมๆ และการมีโอกาสไปสัมผัสกับวัฒนธรรมของผู้คนต่างถิ่น

จึงไม่น่าแปลกใจที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เริ่มปรับกระบวนยุทธ์มาจับกลุ่มเป้าหมายคนโสดเปย์หนักนี้แล้ว โดยนำเสนอการท่องเที่ยวเมืองรองแบบ Unseen เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตแท้ๆ และความท้องถิ่นนิยม เช่นเส้นทางท่องเที่ยว ‘ลำพูน…ไม่ลำพัง ทริปตัวคนเดียว 3 วัน 2 คืน’ พร้อมเส้นทางแนะนำสำหรับโซโลทราเวลเลอร์ที่มองหาความสงบ บรรยากาศอบอุ่นน่ารัก มีศิลปวัฒนธรรมล้านนาและของกินอร่อยๆ ให้ลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมสักการะพระธาตุหริภุญชัย ทานมื้อเที่ยงที่ก๋วยเตี๋ยวหมูตุ๋นลำไย ชมสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่วัดจามเทวี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน ฯลฯ  ผนวกกับการที่แอพพลิเคชั่นการจองที่พัก จองพาหนะ การวางรูทเดินทาง ข้อมูลร้านกินดื่มและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวยุคใหม่สามารถออกแบบการเดินทางด้วยตนเองได้อย่างสะดวกสบาย จึงไม่น่าแปลกใจว่าจำนวนนักท่องเที่ยวสไตล์โซโลทราเวลเลอร์นี้ มีแต่จะขยับสูงขึ้นต่อเนื่องทุกปี

พอเห็นเค้าลางๆ กันแล้วใช่ไหมว่าสเตตัส “โสด” ในยุคนี้ไม่ได้ผูกติดอยู่กับความเหงาเศร้าสร้อย หรือความกล้าๆ กลัวๆ ที่จะโบยบินอีกต่อไป คนโสดสมัยใหม่ได้ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตที่มีคุณภาพ สามารถท่องโลกกว้างได้อย่างอิสระ เปย์เต็มเหนี่ยวได้ทั้งเรื่องกิน เที่ยว ความสุข และสุขภาพ  ที่สำคัญพวกเขาและเธอกำลังกลายเป็นเซ็กเมนท์ใหม่ที่ชวนฝันของนักการตลาด เพราะหากเอาอกเอาใจกันได้ถูกทางแล้วล่ะก็ รับประกันว่าเขาและเธอจะเทเม็ดเงินก้อนโตให้ธุรกิจของคุณได้แบบไม่ยั้ง!

อ้างอิง : Thaiquote, Facebook มนุษย์ต่างวัย, matichon, nippon, marketeeronline, sentangsedtee, brandinside.asia, eenmaal, the barkyard bkk, thai tourism thailand, ichiran

 


ผู้เขียน
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์

เป็นเหมือนร้านค้าสร้างสรรค์ที่ชวนให้ใครต่อใครมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจนถึงดีไซน์ในอีกซีกโลก อีกมุมหนึ่งเขาคือคนล่องเรือ เดินเมืองเก่า ที่ไม่เคยหยุดเดินทางเพราะความหลงใหลวิถีชีวิตท้องถิ่น

glove clinic คลินิกสุขภาพเพื่อ LGBTQ ลบภาพสำส่อนสู่เฮลตี้ไลฟ์สไตล์

230
SHARE

KEY FOCUS

– การสื่อสารแบรนด์กับผู้บริโภค LGBTQ ไม่ใช่แค่เทรนด์การตลาดที่วูบวาบตามกระแส แต่คือการจับกลุ่มเซ็กเมนท์ใหม่ของสินค้าและบริการในโลก

– งานบริการด้านสุขภาพที่ดีต้องการทีมงานที่มีทัศนคติถูกต้อง พร้อมมีสัมพันธภาพที่ดีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

– แอดมินเพจเฟสบุ๊คคือคนสำคัญที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้ผู้มีความเสี่ยงกล้าเดินเข้ามารับบริการด้านสุขภาพ

– glove คือ community of Love ที่พร้อมส่งมอบความสบายใจแก่ลูกค้ามากกว่าแค่การมาตรวจรักษาโรค ทุกคนสามารถเดินเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ในฐานะเพื่อน เปลี่ยนนิยามของการมาคลินิกตรวจสุขภาพทางเพศจาก “ส่ำส่อน” สู่ “สุขภาพดี”

ในเดือนมิถุนายนของทุกปี เรามักจะได้เห็นภาพพาเหรดคอลเล็กชั่นสินค้า LGBTQ จากแบรนด์ดังระดับโลกวางขายถล่มทลายทั้งในตลาดออนไลน์และออฟไลน์เพื่อร่วมฉลองเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ Pride Month) อาทิคอลเลคชั่น BETRUE ของ Nike ที่นำธงแปดสี (Pride Flag) มาเป็นกิมมิกในการออกแบบ ในขณะที่แก้วสีรุ้งของ Starbucks โดดเด่นด้วยตัวอักษรคำว่า ‘LOVE’ มีวางจำหน่ายเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา หรือกระทั่งแบรนด์ขวัญใจครอบครัวอย่าง Disney ก็มี Rainbow Disney Collection ที่มาพร้อมกับตุ๊กตา Mickey Mouse สีรุ้ง เสื้อยืด เสื้อกล้าม กระเป๋าสะพาย หมวก เข็มกลัด ที่คาดผม ฯลฯ โดยจะวางขายเฉพาะที่ร้านค้าของ Disney เองเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีงานบริการด้านการท่องเที่ยวอีกหลายแบรนด์ที่เจาะกลุ่มเป้าหมาย LGBTQ โดยเฉพาะ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน (ตัวเลขประมาณการณ์ปัจจุบันอยู่ที่ 6.64 ล้านล้านบาท) และเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไปถึงร้อยละ 40 โดยเมื่อเร็วๆ นี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ตอกย้ำจุดแข็งข้อนี้ด้วยการเป็นโต้โผจัดการประชุมใหญ่ภายใต้ชื่องาน LGBT + Travel Symposium ส่งสัญญาณให้ตลาด LGBTQ ทั่วโลกเบนเข็มทิศมาเที่ยวเมืองไทยกันมากขึ้นในอนาคต

กลุ่ม LGBTQ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยซึ่งถือว่ามีข้อได้เปรียบเชิงวัฒนธรรมเป็นทุนอยู่แล้ว เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับเพศทางเลือกอย่างมาก (Gay-friendly) เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีข้อจำกัดทางศาสนา

เห็นช่องว่าง สร้างโอกาส

นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของไทยแล้ว งานบริการด้านสุขภาพและการแพทย์ (Healthcare and Wellness) ก็เป็นอีกธุรกิจที่ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง (เมืองไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลิสต์ต้นๆ ของ Medical Tourist Destination มายาวนาน) ในประเด็นนี้ นพ. เกริก อัศวเมธา ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อพูดคุยกับเราว่า “มันคือโอกาสทางการตลาดที่ผู้บริโภคกลุ่ม LGBTQ ในประเทศและกลุ่มนักท่องเที่ยวยังขาดพื้นที่ตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบครบวงจร”

“มันเป็นปัญหาใต้สะดือที่พูดยาก คนไข้มักเขินอายและกลัวจะโดนตำหนิ หมอเห็นบางครั้งพยาบาลส่งผู้ป่วยไปคลินิกรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแม้ว่านั่นจะรักษาอาการเฉพาะของโรคได้ แต่มันก็ไม่ครบวงจร เพราะคนไข้อาจติดเชื้ออื่นมาจากการมีเพศสัมพันธ์อีกก็ได้ มันทำให้เขาหมดโอกาสที่จะดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่นๆ”

ด้วยแนวคิดนี้ นพ.เกริก จึงตัดสินใจจับมือกับหุ้นส่วนที่คิดตรงกันอีกจำนวนหนึ่ง อาทิ นพ.ศุภวัฒน์ วีรภัทรรุ่งโรจน์ เพื่อนหมอที่สนิทกัน รวมถึง ชาญวิทย์ ปาคำ และ วาสนา เสถียรธรรมวิทย์ สองที่ปรึกษาด้านโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่คร่ำหวอดในวงการมายาวนาน เปิดตัว glove clinic” เป็นคอมมูนิตี้ด้านสุขภาพสำหรับชาว LGBTQ ที่มีบุคลิกกลางๆ ให้บริการตั้งแต่การป้องกันโรค (ด้วยการฉีดวัคซีน) ไปจนถึงการรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ (รวมถึง HIV) พร้อมเน้นจุดขายด้านการให้คำปรึกษาการดูแลไลฟ์สไตล์ทางเพศ การวางแผนครอบครัว ฯลฯ

“บทบาทหลักของ Glove Clinic คือการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่เราตั้งใจทำอะไรที่มากกว่านั้น เราอยากสร้างพื้นที่นี้ให้เป็นคอมมูนิตี้ของความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้ผู้เข้ารับการบริการรู้สึกสะดวกใจที่จะพูดคุยรวมถึงกล้าที่จะเดินเข้ามาตรวจเช็คในวันที่เขาไม่มั่นใจว่าตนเสี่ยงติดโรคอะไรมาหรือไม่” นพ.ศุภวัฒน์ บอกกับเราถึงความมุ่งหวังที่จะทำลายค่านิยมผิดๆ ว่าโรคทางเพศเป็นเรื่องของคนส่ำส่อนเท่านั้น

“สำหรับพวกเราทุกคนที่นี่ คนที่ sexually active ไม่ได้ทำผิดอะไรเลย การที่เขามาตรวจโรคก็เป็นไปเพื่อสุขภาวะที่ดี เป็นเรื่องของการมีเฮลตี้ไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง”

ปั้นโมเดลธุรกิจให้ตอบรับความต้องการส่วนลึก

แม้ว่า glove clinic จะเพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฏาคม 2562 แต่ทีมงานที่ร่วมก่อตั้งล้วนมีประสบการณ์ในวงการมาร่วม 20 – 30 ปี พวกเขารู้ว่ากลยุทธ์สำคัญที่จะนำพาธุรกิจสู่ความสำเร็จต้องประกอบไปด้วยหลักการ 5G อันได้แก่ 1) Good Team – ทีมเวิร์คที่ดี 2) Good Service – บริการที่เป็นมิตร 3) Good Attitude ทัศนคติที่เปิดกว้าง 4) Good Location & Environment – สถานที่ตั้งที่เข้าถึงง่าย มีบรรยากาศอบอุ่น และ 5) Good Networking – มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลากรในหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

“การมีเน็ตเวิร์คที่ดีมีส่วนช่วยให้ผู้เข้ารับการบริการรู้สึกสบายใจ ทั้งยังช่วยสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับองค์กรด้วย เช่น ถ้าผลเลือดของคนไข้เป็นอะไรที่มากกว่าขอบเขตการรักษาของคลินิก เราก็จะคอนเน็คคนไข้ไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือไปที่โรงพยาบาลที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของคนไข้ และมีศักยภาพที่ดีพอในการรักษาโรคเหล่านั้น”

ชาญวิทย์และวาสนา สองที่ปรึกษาที่เรียกได้ว่าคร่ำหวอดและอยู่เบื้องหลังการก่อตั้งคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มามากมายหลายแห่งบอกกับเราว่า “คลินิกแต่ละแห่งล้วนมีกลุ่มเป้าหมายที่ไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน ใครที่เป็นเกย์จ๋าๆ หรือสายดาร์ก ก็จะไปตรวจที่คลินิกแห่งหนึ่งย่านถนนสีลม ในขณะที่ glove clinic เราจับกลุ่มเกย์ที่ไม่เปิดตัวมาก อาจยังเขินอายและต้องการพื้นที่ที่ทำให้เขาสบายใจที่จะเดินเข้ามารับการตรวจ”

ทั้งสองย้ำว่าการออกแบบบริการและการใช้จิตวิทยาเชิงพื้นที่จะมีความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมายมาก “สำหรับ glove clinic จะแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในออกเป็นหลายฟังก์ชั่น เช่นมีพื้นที่นั่งพักผ่อนสบายๆ คลายกังวลก่อนพบแพทย์ มีพื้นที่นั่งคอยที่หลบเร้นเป็นส่วนตัวสูงสุด รวมไปถึงการออกแบบบริการ (service design) ที่ตั้งใจให้ผู้รับบริการได้อยู่ในห้องเพียงห้องเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ โดยเจ้าหน้าที่ รวมถึงแพทย์และที่ปรึกษา จะเป็นผู้เข้ามาให้บริการอย่างเป็นส่วนตัวภายในห้องตรวจ ตั้งแต่การเจาะเลือด การพูดคุย การฟังผล ฯลฯ เป็นงานบริการแบบครบวงจรที่จบในห้องเดียว”

“ทำเลย่านราชเทวีมีภาพลักษณ์ที่เป็นกลางๆ ไม่ดูเกย์จ๋าและไม่บ้านนอกเกินไปสำหรับชาวเกย์ ทั้งยังอยู่ใกล้ BTS มาก ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการเกิดความสบายใจที่จะเดินทางมาตรวจ ซึ่งเราเปิดรับดูแลคนไข้ทุกเพศ ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็น LGBTQ เท่านั้น”

ในเรื่องของการสร้างรายได้ ทีมงานคุณภาพกลุ่มนี้มองว่า Glove Clinic จะสร้างรายได้จาก 3 ช่องทางคือ 1) Test – การตรวจเชื้อ 2) Treat – การรักษาด้วยยา และ 3) Prevention – การป้องกันการติดเชื้อ  ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักจะมาจากการ Treat และ Prevention เป็นส่วนใหญ่ แต่ทีมงานมุ่งหวังว่าในอนาคตคลินิกจะมีรายได้จากการ Test มากขึ้น “เพราะเราอยากสร้างค่านิยมใหม่ที่ถูกต้องในสังคม คือให้คนที่มี Sexually Active Lifestyle รู้จักประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง เช่นเข้ามาตรวจเช็คร่างกายกันทุกๆ 3 เดือน รวมถึงเราจะมีการให้คำปรึกษาระยะยาว (Consultation) สำหรับครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งตรงนี้เรามองว่าเป็นจุดแข็งสำคัญของ Glove Clinic ที่ถึงแม้จะไม่ได้สร้างรายได้โดยตรง แต่จะส่งผลให้ผู้รับบริการกลับมาหาเราอีกในวันข้างหน้า”

ยอดไลค์น้อย แต่หลังบ้านเพียบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อออนไลน์เช่น “เพจเฟสบุ๊ค” คือช่องทางการพูดคุยกับกลุ่มเสี่ยงที่เวิร์คที่สุด โดยเฉพาะในช่วงการเริ่มต้นบทสนทนาก่อนตัดสินใจเข้ารับการตรวจรักษา ชาญวิทย์เล่าว่า “ทุกคนที่มีข้อสงสัยมักจะสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตก่อนว่ามีคลินิกใดให้บริการบ้าง หลายคนเข้ามาอ่านเพจเราจริงจัง แต่เขาจะไม่กดไลค์หรือคอมเมนท์เลย เพราะเขาไม่อยากเปิดเผยตัวตน แต่หลังบ้านนี่ส่งข้อความกันวุ่นเลยนะ เพราะเขาสบายใจที่จะคุยกับเราเป็นการส่วนตัวมากกว่า บางรายคุยกันอยู่เป็นปีกว่าจะยอมเข้ามารักษา”

“แอนมินเพจมีบทบาทสำคัญมาก เราต้องมีทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญมาคอยตอบพื่อให้คนถามรู้สึกสบายใจ และเกิดความเชื่อมั่นมากที่สุด ส่วนเรื่องที่โพสต์บนไทม์ไลน์เราก็ไม่ควรเน้นแต่เรื่องโรคติดต่อทางเพศ แต่ควรนำเสนอเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ LGBTQ ทั้งหมด เป็นการสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ สร้างรอยยิ้มให้คนอ่าน ไม่ใช่เปิดเข้ามาเจอแต่เรื่องโรคติดต่อเครียดๆ เหล่านี้ล่ะคืออินไซต์ที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสมมา” วาสนากล่าวเสริม

“ความไว้เนื้อเชื่อใจสำคัญอย่างยิ่งในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ ถ้าเราซื้อใจคนกลุ่มแรกได้แล้ว การบอกต่อจะเกิดขึ้นเอง และนั่นคือเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญที่สุด”

อ้างอิง : voice tv, nike, marketingoops, shopDisney

CREATIVE JUICE

ชื่อนี้มีที่มา

เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายหลักของคลินิกนี้คือชาว LGBTQ ที่ยังมีความเขินอาย ไม่ใช่แนวแรงๆ และไม่เปิดตัวมาก การตั้งชื่อที่ส่อความเกย์เกินไปอาจทำให้ลูกค้าไม่สะดวกใจที่จะเข้ามาหา ทีมงานจึงนำคำว่า “love” ที่สื่อถึงความรัก มาผสมกับตัวอักษร “g” ที่สื่อถึงกลุ่มเกย์ ผนวกกันกลายเป็นคำว่า “glove” พร้อมโลโก้รูปมือโอบหัวใจแสดงถึงความรักและการดูแลเอาใจใส่ สังเกตว่าชื่อคลินิกจะใช้ตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมดเพื่อสื่อถึงความเท่าเทียมกันของคนทุกเพศทุกวัยด้วย


ผู้เขียน
สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์

เป็นเหมือนร้านค้าสร้างสรรค์ที่ชวนให้ใครต่อใครมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตั้งแต่ภูมิปัญญาท้องถิ่นไปจนถึงดีไซน์ในอีกซีกโลก อีกมุมหนึ่งเขาคือคนล่องเรือ เดินเมืองเก่า ที่ไม่เคยหยุดเดินทางเพราะความหลงใหลวิถีชีวิตท้องถิ่น

สมัครรับข่าวสาร

logo