ไม่ควรพลาด! Oracle ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน “Modern Customer Experience Summit”
เปิดให้ลงทะเบียนแล้ววันนี้ ดูรายละเอียดและสำรองที่นั่งก่อนใคร ที่ : http://bit.ly/2ph9qNN
ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ที่ The St.Regis Bangkok 8:30 – 16:00 น.
ไม่ควรพลาด! Oracle ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมงาน “Modern Customer Experience Summit”
เปิดให้ลงทะเบียนแล้ววันนี้ ดูรายละเอียดและสำรองที่นั่งก่อนใคร ที่ : http://bit.ly/2ph9qNN
ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ที่ The St.Regis Bangkok 8:30 – 16:00 น.
กลับมาอีกครั้ง Priceza E-Commerce Summit 2020 สุดยอดงานอัพเดทเทรนด์อีคอมเมิร์ซให้ทันโลกสำหรับผู้ประกอบการ อัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระ พ่วงด้วยวิทยากรจากองค์กรชั้นนำพร้อมเสิร์ฟความรู้ให้คุณในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 นี้
นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย เปิดเผยว่า จากผลตอบรับที่ดีทะลุเป้าของงานในปีที่ผ่านมา ต่อยอดความสำเร็จให้เกิดงาน Priceza E-commerce Summit 2020 ขึ้นอีกครั้ง โดยในปีนี้ทาง Priceza จะเน้นให้ความสำคัญในเรื่องของเทรนด์ E-Commerce ในปีหน้า ซึ่งวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคจากข้อมูล Visitor กว่า 14 ล้านคนต่อเดือนที่เข้ามาใช้บริการในแพลตฟอร์มของ Priceza ซึ่งจะทำให้เห็นเทรนด์ที่สำคัญของผู้บริโภค อาทิ ประเภทสินค้าที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ทิศทางมูลค่าสินค้าที่มีการซื้อขายมากที่สุด เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มยอดขาย และกลยุทธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด พร้อมข้อมูลเตรียมความพร้อมกับอีคอมเมิร์ซในปี 2020 ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมงานจะได้อัพเดทข้อมูลเชิงลึกก่อนใคร
“จุดมุ่งหมายที่สำคัญของงาน คือยกระดับวงการธุรกิจ E-Commerce ไทยให้เติบโตในระดับอาเซียนผ่านการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในองค์กรชั้นนำ”
นายธนาวัฒน์ กล่าว
จับตาเทรนด์และกระแส E-Commerce ในปี 2020 ที่คุณต้องรู้
เทรนด์อีคอมเมิร์ซในปี 2020 นั้นจะเป็นการหลอมรวมการค้ายุคใหม่โดยเชื่อมโยงออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกัน และยังคงมองหาวิธีก้าวตามเทคโนโลยีให้ทัน เพื่อที่จะช่วยส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการในธุรกิจ E-Commerce ในการบริหารและปรับกลยุทธ์ให้เท่าทันสถานการณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆก่อนใคร โดยภายในงาน Priceza E-Commerce Summit 2020 ได้รวบรวมเหล่าวิทยากรมากประสบการณ์จากองค์กรชั้นนำทั่วประเทศไทย ที่จะมาแชร์ประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก อาทิเช่น
และประเด็น Hot Topic ในแวดวง E-Commerce อีกมากมายที่คุณต้องรู้ในปีหน้า
รวมสุดยอดกูรู E-Commerce จากบริษัทชั้นนำ
เท่านี้ยังไม่พอ!! นอกจากความรู้จะคับแน่นแล้ว วิทยากรภายในงานที่ร่วมตบเท้าเข้าเสวนาโปรไฟล์ก็แน่นไม่แพ้กันจากบริษัทชั้นนำ
ย้อนดูไฮไลท์งาน Priceza E-commerce Trends ปี 2019
สำรองที่นั่งเข้างานราคาพิเศษจำนวนจำกัดได้แล้ววันนี้
จากการเปิดให้สำรองที่นั่งรอบ VIP ได้รับการตอบรับดีเยี่ยม จนทำให้ตั๋ว Super Early Bird จำหน่ายหมดภายใน 2 วัน นอกจากนี้ผู้ร่วมงานจะได้รับข้อมูลสาระสำคัญและเป็นประโยชน์อีกมากมายมาอัพเดทเพื่อใช้เป็นไอเดียในการสร้างโอกาสทางธุรกิจก่อนใครได้ที่งาน Priceza E-Commerce Summit 2020 ณ โรงแรม S31 สุขุมวิท
ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00น. – 17.00น.
ซื้อบัตรเข้างานราคาพิเศษด่วนจำนวนจำกัด ได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/Priceza-E-Commerce-Summit-2020
หมายเหตุ : หัวข้อสัมมนาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
คุณเชื่อหรือไม่ว่าองค์ประกอบสำคัญข้อหนึ่งที่จะทำให้แบรนด์เข้าไปนั่งในใจของผู้บริโภคได้ ก็คือภาพลักษณ์ของ ‘เจ้าของ’ หรือ ‘ผู้บริหารองค์กร’ นั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคแห่งสมาร์ทโฟนที่เราทุกคนสามารถเข้าถึง ‘ตัวตนบนโลกออนไลน์’ ของผู้บริหารเหล่านี้ได้เพียงปลายนิ้วคลิก ชุติมา ดำสุวรรณ นักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร (Communication Strategist) ที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และเจ้าของเพจ Communicate Different ผู้คร่ำหวอดในวงการพีอาร์มาเกือบ 20 ปีย้ำกับเราในวันนี้ว่า “การสื่อสารการตลาดให้องค์กรด้วยกลยุทธ์แบบเดิมๆ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ใหม่นั่นก็คือการสื่อสารแบรนด์ผ่านอัตลักษณ์ของผู้บริหารในโลกโซเชียล เพราะนี่คือช่องทางหลักที่ผู้บริโภคจะเชื่อมโยงกับแบรนด์ทั้งในวันนี้และอนาคต”
ในมุมมองของชุติมา ทุกวันนี้การสื่อสารอัตลักษณ์ของผู้บริหารบนสื่อโซเชียลนั้น ต้องมุ่งเน้นที่การบอกเล่าถึงตัวตน ความสนใจ ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนมุมมองของผู้บริหารท่านนั้นต่อประเด็นต่างๆ ที่กำลังขับเคลื่อนในสังคม หรือพูดง่ายๆ อีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ไม่ได้มาขายของ’ นั่นเอง
การทำ Personal Branding ให้กับผู้บริหารองค์กรหรือเจ้าของสินค้า คือการนำเสนอตัวตนของเขาด้วยคอนเทนท์ในมุมของไลฟ์สไตล์และแพชชั่น ซึ่งมีกระบวนการทำงานโดยการค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาทิ เว็บไซต์ เพื่อสำรวจว่าคนในสังคมพูดถึงผู้บริหารท่านนั้นอย่างไร รวมทั้งติดตามข่าวที่ปรากฏในสื่ออื่นๆ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประมวลผล จนเราได้ชุดข้อมูลใหม่จากโลกภายนอก ที่ไม่ใช่ข้อมูลแบบที่องค์กรต้องการนำเสนอแต่เพียงฝ่ายเดียว
“ข้อมูลอีกด้านที่สังคมมีต่อผู้บริหารท่านนั้น คือหัวใจสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ว่าเราจะนำเสนอภาพลักษณ์แบบใดกลับคืนออกไปสู่สังคม”
โดยปกติการสื่อสารแบรนด์ก็จะนำเสนอกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือสินค้าถูกมั้ยคะ แต่สำหรับการทำ Personal Branding นี้มันคือการสื่อสารบุคคล เนื้อหาที่นำเสนอจึงมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่
1) ความสนใจของบุคคลท่านนั้น เช่น เป็นคนรักสัตว์ ชอบถ่ายภาพ รักการวิ่งออกกำลัง ฯลฯ
2) ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ความสามารถพิเศษด้านอาชีพการงาน
3) การแสดงความเห็นต่อเรื่องราวต่างๆ เมื่อจำเป็น ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริหารท่านนั้นเป็นผู้หญิง หากมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นแม่เกิดขึ้นในกระแสสังคม หรือในโอกาสของวันสตรีสากล ผู้บริหารหญิงของเราก็ควรออกมาแสดงจุดยืนต่อประเด็นเหล่านี้ในโซเชียลมีเดียส่วนตัวของเธอด้วย เป็นต้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียคือปัจจัยหลักที่ทำให้ ‘วิธีการ’ และ ‘กระบวนการ’ สื่อสารระหว่างผู้บริหารกับผู้บริโภคในโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในแง่ของความรวดเร็ว ความน่าติดตามของเนื้อหา และการเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ของผู้บริโภค ทั้งหมดนี้ทำให้การวางกลยุทธ์เรื่อง Personal Branding กลายเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญกว่าที่เราคาดคิด
งานสื่อสารเป็นงานที่ต้องวางแผนและกำหนดกลยุทธฺ์เป็นขั้นตอนนะคะ ในอดีตการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้บริโภคจะกระทำผ่านสื่อมวลชนในงานแถลงข่าวหรือการให้สัมภาษณ์ผ่านโทรทัศน์ แต่ปัจจุบันเราสามารถโพสต์ข้อความพวกนั้นลงโซเชียลมีเดียได้ทันที ซึ่งจริงๆ ถือว่าเป็นดาบสองคม เนื่องจากข้อความสามารถแพร่กระจายไปได้เร็วมาก บางทีก็เป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อภาพลักษณ์ขององค์กรมากเช่นกัน
ชุติมายกตัวอย่างว่าในบางกรณีที่ผู้บริหารอาจจะพูดถึงเรื่องบางเรื่องในสื่อโซเชียลแบบร้อนแรงไปนิด แม้ต่อมาท่านจะลบโพสต์นั้นออกไป แต่ก็มักจะมีคนเก็บไว้ได้ทันและเผยแพร่ต่ออย่างรวดเร็ว บางทีคำพูดเพียงประโยคเดียวก็สามารถสร้างประเด็นอ่อนไหวได้อย่างมาก ผู้บริหารจึงต้องระมัดระวังอย่างมากก่อนจะโพสต์อะไรก็ตามลงในโซเชียลมีเดียส่วนตัว
ทางที่ดีแล้วท่านควรต้องมีการวางแผนระยะยาวอย่างเป็นระบบเลยล่ะ เพราะหากมีการวางกลยุทธ์ที่ดีก็จะทำให้สามารถคาดการณ์ปัญหาหรือการแสดงความเห็นที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วยให้ท่านเตรียมตัวได้เร็วในกรณีที่ต้องตอบคำถามสังคม คล้ายๆ กับการเตรียมคำตอบให้สื่อมวลชนในงานแถลงข่าว
“การทำงานร่วมกับนักวางกลยุทธ์ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะทำให้การสื่อสารคอนเทนท์ในโลกโซเชียลของผู้บริหารคนหนึ่งน่าติดตาม และมีเสน่ห์กว่าของคนอื่นได้”
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่านอกจากผู้บริหารจะมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารขับเคลื่อนองค์กรแล้ว ‘ตัวตน’ ของเขาหรือเธอก็ยังมีส่วนสำคัญต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย คอนเทนท์ส่วนตัวที่ผู้บริหารนำเสนอในโลกโซเชียลนี้อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกิจเลยก็ได้ แต่เมื่อใดที่ภาพลักษณ์ของผู้บริหารดูดี มันย่อมส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย
อีกทั้งนอกจากเรื่องงานแล้ว คนเรายังมีมุมอื่นๆ ในชีวิตอีกมากมายที่น่าสนใจ เช่นบางท่านชอบศึกษาธรรมะ บางท่านรักสัตว์ บางท่านชอบถ่ายรูป ฯลฯ คอนเทนท์ที่เรานำเสนอจะสะท้อนตัวตนของผู้บริหารได้ในหลายมุม ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องธุรกิจ และคุณเชื่อไหมคะว่าคนในโลกโซเชียลสนใจ และติดตามคอนเทนท์ในลักษณะนี้มากกว่าด้วย
“น้อยมากที่ภาพลักษณ์ของผู้บริหารไม่ดี แล้วภาพลักษณ์ขององค์กรจะดีได้”
ชุติมาอธิบายต่อว่าสำหรับผู้บริหารที่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักของสาธารณะชน ก็สามารถเริ่มต้นทำ Personal Branding ได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มจากโจทย์ง่ายๆ ว่า “คุณอยากนำเสนอตัวตนของคุณอย่างไร…ผ่านเฟซบุ๊กของคุณ”
แต่หากต้องการสร้างคอนเทนท์ให้มีความต่อเนื่องแบบมืออาชีพ อันนี้ก็ต้องอาศัยมืออาชีพเข้าช่วย ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเป็นคนชอบถ่ายรูป ที่บ้านมีกล้องถ่ายรูปหลากหลายแบบ นักวางแผนกลยุทธ์อาจหยิบยกเรื่องนี้มานำเสนอผ่านมุมมองของคนนอก ทำให้ตัวท่านดูมีความน่าสนใจ โดยที่ท่านเองอาจไม่รู้ตัวเลยว่าไลฟ์สไตล์บางอย่างของท่านนั่นแหละ คือวัตถุดิบชั้นดีต่อการสร้างสรรค์คอนเทนท์
ท่ามกลางมหาสมุทรของข้อมูลในโลกโซเชียล คำถามสำคัญที่ชุติมาหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ให้เราฟังคือ “คุณจะทำอย่างไรให้ผู้คน หยุด – อ่าน – ชม คอนเทนท์ที่คุณนำเสนอพร้อมกับกดไลค์และแชร์ต่อ”
ซึ่งหลักสำคัญนั้นมีง่ายๆ เพียงสามข้อคือ
1) คุณต้องแตกต่างและโดดเด่น ไม่อย่างนั้นคนจะไม่ตามอ่านเรื่องของคุณ ดังนั้นทีมวางกลยุทธ์ต้องระลึกไว้เสมอว่าคอนเทนท์ใดที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของผู้บริหารโดดเด่นขึ้นมาได้
2) ต้องเป็นตัวของตัวเอง การวางภาพลักษณ์นี้ไม่ใช่การสร้างมนุษย์คนใหม่ขึ้นมา แต่ต้องเป็นตัวตนจริงของคนๆ นั้น ดังนั้นในทุกๆ โพสต์ต้องให้ความรู้สึกเสมือนว่าเจ้าของเพจเป็นผู้โพสต์เอง ไม่ใช่ admin มาโพสต์ให้ แม้กระทั่งคำลงท้ายต่างๆ อย่างเช่น “คะ” “ค่ะ” หรือการใช้สรรพนามก็ต้องเป็นสำนวนของเจ้าของเพจทั้งหมด นักวางแผนกลยุทธ์อาจเป็นผู้เขียนเนื้อหาให้ แต่เจ้าของเพจจะต้องเป็นผู้ตรวจทานและแก้ไขเสมอ
3) ต้องมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คอนเทนท์ที่มีคุณค่าต่อสังคมจะได้รับการไลค์และแชร์มากที่สุด โดยเฉพาะคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับการให้กำลังใจ รองลงมาคือการคาดการณ์ต่างๆ จากความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน รวมถึงการให้แนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิต
“การสื่อสารผ่านอวจนภาษา เช่นการแสดงสีหน้า ท่าทางขณะพูดคุย การเลือกเครื่องแต่งกาย ทุกอย่างที่ปรากฏในภาพหรือวิดีโอที่เป็นคอนเทนท์ของเราล้วนมีผลต่อภาพลักษณ์ของเราทั้งสิ้น”
ชุติมาทิ้งท้ายไว้ว่าสำหรับโซเชียลมีเดียของผู้บริหารความถี่ในการโพสต์ที่เหมาะสมคือราว 15-16 ครั้งต่อเดือน หรือ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและช่องทางที่ผู้บริหารจะเลือกใช้ในการสื่อสารด้วย เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม Youtube หรือ Podcast และคอนเทนท์ที่ดีคือคอนเทนท์ที่ทำงานด้วยตัวเองได้ สามารถเรียกยอดไลค์ยอดแชร์ได้แบบออร์แกนิก ซึ่งหากคอนเทนท์ไหนยังทำงานได้ดีอยู่ เราก็ไม่ควรโพสต์เรื่องใหม่ทับลงไป ควรปล่อยให้มันได้ทำงานอย่างเต็มที่ก่อน
อ้วน – ชุติมา ดำสุวรรณ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีประสบการณ์การทำงานกว่า 20 ปีทั้งในด้านชุมชนสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กรในหลากหลายธุรกิจ ก่อนจะตัดสินใจก้าวออกมาทำธุรกิจของตัวเอง ชุติมาทำงานด้านการสื่อสารแบรนด์ให้กับ Jim Thompson อยู่ถึง 14 ปี ปัจจุบันเธอเป็นเจ้าของเพจ Communicate Different และเป็นนักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารให้กับผู้บริหารระดับสูง ทั้งในองค์กรธุรกิจและพรรคการเมือง
บุคคลในฝันที่ชุติมาอยากทำ Personal Branding ให้มากที่สุดคือ ตูน – บอดี้สแลม เพราะนอกจากจะเป็นศิลปินคนโปรดแล้ว ยังรู้สึกประทับใจในความมุ่งมั่นอันแรงกล้าจากภาพยนตร์เรื่อง “ก้าวคนละก้าว” ที่ทำให้เห็นว่าผู้ชายคนนี้เป็นตัวของตัวเอง เสียสละ และเข้าใจคนอื่นอย่างมาก
หลายคนอาจรู้จัก แท็บ – รวิศ หาญอุตสาหะ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทศรีจันทร์สหโอสถ ผู้พลิกชีวิตแบรนด์ SRICHAND เครื่องสำอางเพื่อผิวคนไทยให้กลับมาครองใจสาวๆ เอเชียได้อีกครั้ง แต่วันนี้สมาคมการตลาดขอคุยกับรวิศในอีกบทบาทหนึ่ง นั่นคือการเป็น ‘นักเล่าเรื่อง’ ของเขา ที่สามารถย่อยเรื่องราวสารพัดให้ฟังเข้าใจง่ายและสนุกไปเสียหมด
แท็บ – รวิศ ในวันนี้เป็นเจ้าของ podcast และ facebook page ในชื่อเดียวกันคือ Mission to the Moon ซึ่งเรามองว่าเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ช่วยเติมความรู้ด้านการทำธุรกิจ การตลาด และข้อคิดหลากหลายในการใช้ชีวิต ที่ส่งผ่านแรงบันดาลใจให้คนไทยก้าวเดินตามความฝันของตัวเอง
“ผมทำ podcast นี้มาได้เกินขวบปีแล้วครับ ก็มีหัวข้อพูดคุยกับผู้ฟังทุกวัน (รวม 448 ตอน ณ เดือนมิถุนายน 2562) จุดเริ่มต้นเกิดจากที่ผมพยายามหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อรองรับโลกธุรกิจที่กำลัง disrupt อย่างรวดเร็ว ช่วงแรกผมคิดว่าจะนำองค์ความรู้พวกนั้นมาเขียนเป็นบทความ แต่ไม่สามารถทำได้เพราะสิ่งที่อยากเขียนมีเยอะมาก และมันต้องใช้แรงขับเคลื่อนมากกว่าการพูด สุดท้ายผมจึงเลือกช่องทางการถ่ายทอดผ่าน podcast แทน ซึ่งเมื่อการแชร์ความรู้นี้มาอยู่ในฟอร์แมทของการพูด หัวข้อในแต่ละตอนจึงต้องไม่ซับซ้อน เพื่อให้ผู้ฟังสามารถติดตามได้ง่าย สอดคล้องกับบริบทของการฟัง podcast ที่คนส่วนใหญ่จะฟังในขณะขับรถ หรือขณะนั่งทำงาน มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะเปิดแบบตั้งใจมากๆ เช่นถ้าเป็นข้อมูลเรื่องตัวเลข ผมก็จะนำเสนอในเชิงเปรียบเทียบว่าตัวนี้น้อยกว่าหรือมากกว่าแค่นั้น เพื่อให้ผู้ฟังติดตามได้ง่ายที่สุด”
“Mission to the Moon ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์ระหว่างผู้อ่านและผู้ฟัง podcast ครับ คือผมรู้สึกว่าชีวิตการทำงานของเราทุกคนล้วนต้องเจอทั้งอุปสรรคและความสำเร็จ ผ่านทั้งเรื่องดีและเรื่องร้าย ซึ่งตัวผมเองที่ผ่านมาก็ได้รับแรงบันดาลใจและได้บทเรียนจากหลายๆ สิ่ง ไม่ว่าจะในเรื่องงานหรือเรื่องชีวิต
“ผมเชื่อว่ามนุษย์เราส่งต่อแรงบันดาลใจกันมาจากรุ่นสู่รุ่น หรือบางทีก็ส่งต่อในรุ่นเดียวกันนี่แหละ สำหรับผมแล้วมันเป็นหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของมนุษย์เลยนะ”
คุณเคยสังเกตไหมครับว่าในบางวันที่เราเศร้ามากๆ พอได้อ่านข้อความหนึ่งจากหนังสือ หรือจากเฟสบุ๊ค แล้วคุณกลับรู้สึกดีขึ้นมาได้ ไอ้ ‘ข้อความ’ นั่นแหละคือสิ่งที่ส่งต่อแรงบันดาลใจจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งแล้ว หรือในบางครั้งเราก็สามารถใช้ประสบการณ์ของเราให้คำแนะนำกับผู้ฟังที่ส่งคำถามมา ซึ่งหัวใจของ Mission to the Moon ก็คือตรงนี้ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อยากเล่าเรื่อง และหวังว่าสิ่งที่เราเล่าจะส่งแรงบันดาลใจไปถึงใครสักคนที่ฟังอยู่
“จริงๆ ผมเป็นคนพูดเยอะมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ (หัวเราะร่วน) จะว่าไปจุดเริ่มต้นมันเกิดจากการที่ผมเริ่มเขียนหนังสือก่อน ซึ่งมันก็ต้องใช้กระบวนการคิดเพื่อหาวิธีถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในหัวเราให้คนอื่นเข้าใจ การเล่าเรื่องสำหรับผมไม่ง่ายเลยนะ ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝนพอสมควร ก่อนที่เราจะเขียนให้คนอ่านหรือจะพูดให้คนฟังได้ดี”
“อืมม…ผมเป็นคนที่สมัครรับข่าวสารจากหลายๆ แห่งครับ เรียกได้ว่าแทบทุกสำนักข่าว ทุกแหล่งข้อมูลธุรกิจ ฯลฯ คือผมมีข้อมูลในหัวเยอะมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้นำเรื่องสดใหม่ ณ วันนั้นมาเล่าหรอก เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของสำนักข่าวเขาอยู่แล้ว แต่ผมจะเอาเรื่องที่ยังไม่เก่าและน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ฟังมานำเสนอ เช่น ทำไมเครื่องบิน Boeing 737 Max รุ่นใหม่ล่าสุดถึงโดนระงับการใช้งาน หรือทำไม Jay-Z ถึงเป็นนักร้องคนแรกที่ทำเงินเกินพันล้านเหรียญได้ ฯลฯ นอกจากนี้ผมก็มีหัวข้อที่หนักๆ ในเชิงธุรกิจบ้าง รวมถึงการรีวิวหนังสือที่ผมอ่าน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม ที่ผ่านมาพ็อดคาสท์ที่ยาวที่สุดของผมจะเป็นการตอบคำถาม ซึ่งมักจะทำในวันอาทิตย์ ผมตั้งใจให้เวลาตรงนี้มากหน่อย เพราะบางคำถามมันเป็นประโยชน์กับคนฟังได้อีกหลายคนเลย”
“ผมคิดว่าเหตุผลแรกคือเพราะมันย่อยง่าย สองคือพอเราอ่านหนังสือ How to จบเรามักจะอยากเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง มันแตกต่างจากหนังสือกลุ่มที่อ่านแล้วได้ความรู้ แต่คุณจะลุกขึ้นมาทำอะไรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง แต่หนังสือ How to ก็มีข้อเสียเหมือนกันนะ เพราะบริบทของเนื้อหาจากแต่ละวัฒนธรรม เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่ง ไทย มันไม่ได้เหมือนกัน บางทีการนำ How to ของวัฒนธรรมอื่นมาใช้ทั้งหมดก็อาจทำให้เละได้ หลักสำคัญคือเราต้องทำความเข้าใจวิธีคิดของผู้เขียน แล้วค่อยนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องตามบริบทชีวิตหรือธุรกิจของเรา ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าหนังสือประเภท How to นี้จะคุณจะเจอคำว่า “รวย” กับ “ผอม” เยอะมาก มันแสดงให้เห็นว่านี่คือค่านิยมที่คนทั่วไปอยากรวยกับอยากผอมหุ่นดี (หัวเราะ)
“อย่าลืมนะครับว่าผู้เขียนเขาแค่ทำหน้าที่แบ่งปันสิ่งที่เขาได้สัมผัส ฉะนั้นเวลาเราอ่านก็อย่าเคลิ้มตามหมด ให้รู้จักถกเถียงกับหนังสือด้วย เพื่อค้นหาเหตุและผล รวมไปถึงหลักคิดในบริบทที่แตกต่างกัน ก่อนนำมาปรับใช้กับชีวิตเรา”
“เรื่องคน เรื่องระบบ และเรื่องเงิน คือสามสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เจอปัญหาครับ โดยเฉพาะคนกับระบบนี่เรื่องใหญ่ เพราะเงินสมัยนี้ยังพอหาทางเข้าถึงได้ ส่วนตัวผมมองว่า ‘คน’ เป็นปัญหาที่ยากที่สุด และความยากของคนไม่ใช่ใครอื่นนะ คือตัวเราเองนี่แหละ เพราะเรามักมีความเชื่อบางอย่างที่ผิดๆ แต่เราคิดว่าถูก มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้จึงมีอาชีพ ‘โค้ช’ เกิดขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำ
“ผมเชื่ออย่างยิ่งว่าเรื่องคนจะเป็นเรื่องที่เราได้ใช้เวลากับมันมากขึ้นในอนาคต เพราะงานอื่นๆ สามารถถูกแทนที่ด้วย AI หมด”
ดังนั้นนอกเหนือจากศาสตร์เรื่อง AI ผมคิดว่าศาสตร์ที่จะมีความสำคัญอย่างมากในวันหน้าคือเรื่องจิตวิทยา และมนุษยวิทยา เพราะถ้าเราเข้าใจโครงสร้างความคิดของคนนะ เราจะรู้หมดเลยว่าตอนนี้เขาคิดอะไรอยู่ เรื่องนี้ไม่ง่ายครับ เพราะขนาดแฟนที่อยู่กันมาสิบกว่าปีเรายังไม่รู้ความคิดเขาทั้งหมดเลย นับประสาอะไรกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าที่เรารู้จักเพียงแค่ผิวเผิน”
“ประการแรกคือเราไม่สามารถสรุปแนวคิดการทำงานใดๆ จากแค่ในห้องประชุมครับ ห้ามเด็ดขาด เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารนี่แหละที่ควรจะลงพื้นที่ไปสัมผัสกับชีวิตของผู้คนจริงๆ เราต้องไปคุย ไปสัมภาษณ์ ไปสังเกตพฤติกรรมของเขาให้มากที่สุด อย่าลืมนะครับว่าสิ่งที่เราตั้งสมมติฐานไว้ในห้องประชุมนั้นอาจจะผิดหมดเลยก็ได้ หรือคำตอบที่ผู้บริโภคตอบมาในแบบสอบถามก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการจริงๆ แต่ถ้าเราออกไปสังเกตพฤติกรรม การจับจ่าย การใช้ชีวิต ฯลฯ ของผู้บริโภคด้วยตาตัวเอง นั่นแหละเราถึงจะได้รับคำตอบที่น่าจะเป็นจริงที่สุด
และอีกวิธีหนึ่งคือการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ วิธีนี้ก็เป็นประโยชน์มากในการทำธุรกิจ เพราะเราจะเห็นพลวัตของข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งก็คือพลวัตของคนที่นั่งอยู่หลังจอคอมหรือจอมือถือนั่นแหละ การวิเคราะห์ big data บนโลกดิจิทัลจะทำให้เราเห็นเลยว่ามนุษย์สองคนที่อายุเท่ากัน ใช้ชีวิตคล้ายๆ กัน ก็ยังมี customer journey ที่แตกต่างกันได้แบบคนละเรื่อง”
“ปี 2015 การรีแบรนด์ดิ้งศรีจันทร์ของเราประสบความสำเร็จมาก เราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีภาพลักษณ์ร่วมสมัยมากขึ้น สังเกตได้จากการที่ผู้บริโภคหรือคนทั่วไปกลับมาพูดถึงแบรนด์เราอย่างท่วมท้น ตอนนั้นผมมั่นใจในตัวเองมาก คิดว่าจากนี้เราคงจะทำอะไรก็ได้แล้ว เริ่มอยากแหวกแนวเพราะความเชื่อมั่นที่มากเกิน ซึ่งนั่นเป็นชุดความคิดที่ผิดมากครับ หลังจากนั้นแค่สองปี (ปี 2017) ผลิตภัณฑ์ที่เราออกใหม่ถ้าไม่เสมอตัวก็ขาดทุน ถือเป็นปีที่แย่มากๆ
“ความผิดพลาดทั้งหมดเกิดจากอีโก้ของผมเอง มันทำให้ผมเรียนรู้ว่าความสำเร็จเพียงครั้งเดียวไม่ได้พิสูจน์ว่าเราจะทำอะไรก็ได้ในอนาคต”
สรุปว่าการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งคือหนทางเดียวในการพัฒนาธุรกิจที่ถูกต้อง หาใช่การคิดเอาเองของผู้บริหารที่เคยประสบความสำเร็จมาก่อน เหมือนกับที่ บิล เกตส์ เคยพูดไว้ว่า “ความสำเร็จเป็นครูที่แย่มาก” อันนี้เป็นเรื่องจริงครับ ช่วงปี 2017 เป็นปีที่ผมและทีมงานได้รับบทเรียนจากข้อผิดพลาด ซึ่งก็ถือว่าเป็นประโยชน์มหาศาลในการก้าวเดินต่อไปของบริษัท ทำให้เราวางแผนการทำงานอย่างรอบครอบ จนในปี 2018 เราก็กลับมามียอดขายที่สูงขึ้น และในปีนี้ (2019) ก็เป็นปีที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดเลยที่ขายต่ำกว่าเป้า ทั้งหมดเกิดจากการที่เราเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง”
“ก็ภูมิใจระดับหนึ่งครับ เดี๋ยวนี้คนรู้จักแบรนด์ศรีจันทร์มากขึ้นเยอะ นอกจากนี้เรายังมีแบรนด์คอสเมติกส์ชื่อ ‘ศศิ’ (SASI) และอีกแบรนด์หนึ่งที่กำลังพัฒนาอยู่ โดยจะใส่คำว่า Bangkok คู่ไปกับแบรนด์ด้วยเพื่อสร้างความภูมิใจในเมืองที่เราถือกำเนิด ส่วนในอนาคตผมก็หวังว่าในวันหนึ่งเราจะมีที่ยืนในตลาดระดับภูมิภาคและในระดับโลก นั่นคือความฝัน ถึงแม้วันนี้ประเทศเราจะมีเรื่องแปลกเกิดขึ้นมากมาย แต่ผมก็ยังรู้สึกภูมิใจในความเป็นไทยและในเมืองกรุงเทพนะ ผมว่าเราเป็นเมืองที่เจ๋ง เลยอยากเล่าเรื่องราวของกรุงเทพผ่านผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาด้วย
ติดตามพ็อดคาสท์ Mission to the Moon ได้ทาง soundcloud:missiontothemoon
อ่านเรื่องราวการส่งต่อแรงบันดาลใจเกี่ยวกับธุรกิจ เทคโนโลยี และข้อคิดในการใช้ชีวิตได้ที่ missiontothemoon.co และทางเฟสบุ๊ค facebook:marketingeverythingbook
ภาพประกอบ: Srichand
“อยากทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่มีความเท่าเทียมกันในการเดินทาง เพราะผมคิดว่ามันเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริบทชีวิตหลายเรื่อง คนกรุงเทพใช้เวลาเดินทางแต่ละวันเยอะมาก และมีความทรมานด้วย มันส่งผลต่อปริมาณ ‘ความสุข’ ในชีวิต ทั้งในด้านการใช้เวลากับครอบครัว ความเครียดระหว่างวัน ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนในที่นี้ผมอยากเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือเลยครับ เช่นที่อัมสเตอร์ดัมเขาปิดเมืองเพื่อให้จักรยานเข้าอย่างเดียว มีคนเคยกล่าวว่าเมืองที่เจริญไม่ใช่เมืองที่มีรถยนต์แพงๆ แต่เป็นเมืองที่คนทุกฐานะใช้ระบบขนส่งมวลชนร่วมกันต่างหาก”
“มีสามคนครับ หนึ่งคือคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา (นักเขียน) สองคือคุณอานันท์ ปันยารชุน (อดีตนายกรัฐมนตรี) และอีกคนที่ผมอยากดื่มด้วยแต่ท่านไม่อยู่แล้วคือ อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผมรู้สึกว่าคนเหล่านี้มีมุมมองต่อโลกแบบที่ลึกซึ้งแตกต่างจากผม รวิศจะเป็นคนเร็วๆ และฉาบฉวยหน่อย ดังนั้นถ้าเลือกได้จึงอยากนั่งดื่มและสนทนากับคนที่ลุ่มลึก มันเป็นเสน่ห์ที่ผมอยากสัมผัส”
“ส่วนตัวผมไม่ได้เป็นคนที่เที่ยวเยอะ ถ้าไปทะเลก็จะไปนอนอ่านหนังสือเฉยๆ เวลาเดินทางก็ไม่เน้นกิจกรรม ชอบนั่งเฉยๆ ไม่ต้องทำงานก็พอ (หัวเราะ) สถานที่พักผ่อนที่ผมจะเลือกต้องตอบโจทย์พฤติกรรมข้อนี้ มีมุมเงียบๆ ให้ผมได้อยู่นิ่งๆ ผมมองว่าความเงียบคือ Luxury อย่างหนึ่งนะครับ ในอนาคตเราอาจต้องจ่ายแพงขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความเงียบนี้ เป็นพื้นที่ที่เราได้ตกผลึก ได้ทบทวนตัวเอง อันนี้ผมไม่ได้หมายถึงความเงียบในเชิงปฏิบัติธรรมนะ แค่เป็นการอยู่กับตัวเองโดยไม่เล่นมือถือ ไม่ดูซีรีย์ ได้เลือกเสพในสิ่งที่มันไม่พุ่งใส่เรา แต่เป็นเราเองที่ค่อยๆ ละเลียดกับมัน เช่นการอ่านหนังสือเป็นต้น”
“พี่ต่อ – ธนญชัย ศรศรีวิชัย ผู้กำกับหนังโฆษณา ครับ สำหรับผมพี่ต่อเป็นคนที่ถ่อมตัวมาก มองโลกในแง่ดีมาก ที่สำคัญคือมีความเพียรมากกว่ามนุษย์ทั่วไป สังเกตจากเวลาทำงานร่วมกัน พี่ต่อจะใส่ใจทุกรายละเอียดแม้เป็นจุดเล็กๆ การทำงานแบบนี้สะท้อนถึงความตั้งใจจริงของมนุษย์และความเป็นมืออาชีพ ส่วนการมองโลกในแง่ดีที่ผมได้ยินมา คือช่วงที่เกิดไฟป่าที่เชียงใหม่ แล้วไฟกำลังลามถึงที่ที่พี่ต่อซื้อไว้ ซึ่งแทนที่พี่เขาจะหาวิธีป้องกันไฟ เขากลับเริ่มค้นหาข้อมูลว่า “ไฟป่ามีประโยชน์อย่างไร” มันเป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงนะ ผมว่าอันนี้คือทัศนคติที่ดี เป็นการมองสถานการณ์หนึ่งๆ ในเชิงบวก พี่ต่อเป็นคนหนึ่งที่ให้แรงบันดาลใจผมมากๆ ในการดำเนินชีวิต”
พฤกษา เรียลเอสเตส ชื่อนี้การันตีความเป็นผู้นำในวงการอสังหาริมทรัพย์ของไทยมายาวนาน ด้วยการออกแบบที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม รองรับทุกความต้องการของชีวิต ทั้งยังไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อช่วย ‘จัดการชีวิต’ ให้ดีขึ้นอีกหลายระดับ เป็นอีกครั้งที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยมีโอกาสพูดคุยกับ อังคณา ลิขิตจรรยากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานการตลาดองค์กร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ที่วันนี้เธอได้เผยแนวคิดการทำงานเบื้องหลังแคมเปญสำคัญ “พฤกษาใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต”
แคมเปญนี้เกิดจากวิสัยทัศน์ของคุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (ผู้ก่อตั้งบริษัทพฤกษา) ที่เรานำมาตีโจทย์เป็นพันธกิจของแบรนด์อีกทีค่ะ คุณทองมาเคยกล่าวว่าอยากเห็นคนไทยมีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพดี เราจึงนำคำกล่าวนั้นมาขยายความต่อให้เป็นเรื่องของการยกระดับคุณภาพชีวิต ดังนั้นแท็กไลน์ของแบรนด์ที่ว่า “พฤกษาใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต” จึงครอบคลุมทุกบทบาทของสินค้าและบริการที่เรามุ่งมั่นจะทำให้ลูกบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะในความคิดของหลายคนการซื้อบ้านก็คือการลงทุนทั้งชีวิตนะ ที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องดูแล ซึ่งสำหรับพฤกษาแล้ว การใส่ใจไม่ใช่แค่ story telling แต่เป็น story doing คือพูดแล้วต้องทำจริงให้ได้ เพราะโลกการตลาดทุกวันนี้เปลี่ยนไปจากสมัยก่อนมาก แบรนด์ที่ลูกค้าเชื่อถือต้องมีความเป็นของจริง เทคโนโลยีบนโลกออนไลน์เปิดช่องให้เราทุกคนสืบหาความจริงได้ไม่ยาก ดังนั้นถ้าแบรนด์พูดแล้วไม่ทำ มันก็ไม่มีประโยชน์ แถมอาจจะมีโทษด้วยซ้ำ
คำว่าคุณภาพชีวิตนี้มันขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งไม่เหมือนกัน บางคนซื้อบ้านเพราะเป็นความต้องการพื้นฐาน บางคนซื้อเพราะเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจ เพราะฉะนั้นในระยะยาวมันอาจไม่ได้มีคำตอบตายตัว แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วคุณภาพชีวิตคือเรื่องของความสุข และนั่นเป็นเรื่องหนึ่งที่ลูกบ้านของเราจะรู้สึกสบายใจได้
ปัจจุบันพฤกษามี 5 แกนหลักที่ทุกคนรู้กันว่าต้องให้ใส่ใจ หนึ่งคือ เทคโนโลยีการก่อสร้าง เราเป็นบริษัทที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยควบคุมมาตรฐานคุณภาพและความสม่ำเสมอ สองคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่จะต้องตอบรับกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างตรงจุด สามคือ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต สิ่งนี้คือกุญแจที่จะช่วยให้ชีวิตประจำวันของลูกบ้านสะดวกสบายมากขึ้น สี่คือ คอมมูนิตี้ หมายรวมถึงภาพรวมภายในชุมชนของทุกโครงการ ที่ต้องให้ทั้งความรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น สะดวกสบาย และห้าคือ งานบริการ ซึ่งเราจำเป็นต้องให้ใส่ใจในทุกทัชพอยท์ ครอบคลุมตั้งแต่ก่อนการซื้อไปจนถึงหลังการขายค่ะ
“สิ่งที่เราพยายามทำคือการเข้าใจ customer journey ให้ได้อย่างละเอียดเพื่อจะนำแบรนด์ของเราไปอยู่ให้ถูกที่”
เราต้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วันที่เขาคิดจะเลือกซื้อบ้าน ชีวิตช่วงไหนที่คนมองหาบ้านล่ะ เช่น เพิ่งแต่งงาน หรือเพิ่งมีลูก หรือเมื่อลูกค้าตกลงใจเลือกบ้านเราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการมอบประสบการณ์และบริการที่ดี เริ่มตั้งแต่การติดต่อธนาคาร ส่งสินเชื่อกู้ กระทั่งถึงการส่งมอบบ้าน พฤกษาเรามีทีมตรวจสอบคุณภาพบ้านก่อนส่งมอบ มีการวัดระดับความพึงพอใจ นี่คือประสบการณ์ร่วมที่ลูกบ้านทุกคนของเราจะได้รับค่ะ
ถ้าเราใช้ลักษณะหรือรูปแบบของการอยู่อาศัยมาจัดกลุ่ม ปัจจุบันเรามีทาวน์เฮ้าส์ 4 แบรนด์ ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มีโครงการบ้านเดี่ยว 3 แบรนด์คือ The Plant, Passorn และ The Palm ส่วนคอนโดเรามีหลายแบรนด์มาก ตอบโจทย์ทุกกลุ่มลูกค้าตั้งแต่ระดับ Value ไปจนถึงระดับ Premium
ปีนี้เรามีโครงการ Pruksa Living Tech ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกนนวัตกรรมที่เรากล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ค่ะ โปรเจ็กท์นี้คือการคัดสรรเทคโนโลยีที่เราเชื่อว่าจะตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของลูกบ้านได้มาพัฒนาต่อยอด ซึ่งจะประกอบไปด้วย 4 หัวข้อหลักคือ Green, Health, Safety, และ Smart และภายใต้หัวข้อเหล่านี้ก็จะมี insight ที่แตกต่างกัน นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมารองรับวิถีการอยู่อาศัยของลูกบ้านพฤกษาค่ะ
ยกตัวอย่างเช่น O2 Lounge ที่อยู่ภายใต้หัวข้อ Health บริการนี้เราพัฒนาขึ้นจากวิกฤติมลพิษ เรื่องฝุ่นและคุณภาพอากาศ ในบางโครงการเราจึงจัดให้มีออกซิเจนเล้าจน์ (O2 Lounge) เป็นห้องที่ปล่อยออกซิเจนคุณภาพสูงสุดออกมาให้ลูกบ้านได้มานั่งพักปอดพักสมองกันได้ เพราะจากงานวิจัยเราพบว่าสมองของมนุษย์จะปลอดโปร่งขึ้นมากหากได้รับออกซิเจนในระดับที่เหมาะสม นี่คือหนึ่งใน Living Tech ที่เรานำ insight และประเด็นในสังคมมาออกแบบเป็นบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ลูกบ้าน
หรือถ้ามองในมุมของความปลอดภัย (Safety) ทุกวันนี้ครอบครัวที่ซื้อบ้านเดี่ยวจะมีข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยมาก จากแต่ก่อนที่เคยมีประตูแค่สองชั้น (Double gate) วันนี้เราทำประตูสามชั้นให้ลูกบ้านเลย (Triple gate) เชื่อไหมคะว่าการยกระดับเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย มันสามารถจะเปลี่ยนความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยได้มาก
ส่วนในหัวข้อเรื่อง Green ทุกวันนี้เราได้เพิ่มการใช้เทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ไว้ในส่วนกลาง และดีไซน์ระบบหมุนเวียนถ่ายเทอากาศในทาวน์เฮ้าส์ให้ดีขึ้น สุดท้ายในส่วนของ Smart Tech เราได้เพิ่มระบบ Home Automation ไว้ในบางโครงการแล้ว บางโครงการมีกระทั่งกระจกอัจฉริยะที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเสิร์ชเน็ต-เล่นโซเชียลบนกระจกในห้องน้ำได้เลย ซึ่งทั้งนี้เราจะคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด มานำเสนอแก่กลุ่มลูกบ้านที่มีไลฟ์สไตล์และความต้องการแตกต่างกันไป
เราได้รับข้อมูลดิบมาจากเครื่องมือที่หลากหลายมากค่ะ ทั้งการทำ social listening การเข้าไปคุยกับลูกบ้าน การศึกษาเทรนด์ เพราะบางครั้งความต้องการบางอย่างของผู้คนยังไม่ถูกค้นพบเนื่องจากความไม่รู้ (unknown & unmet need) เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราสร้างขึ้นบางทีไม่ได้มาจากคำขอของผู้บริโภคตรงๆ แต่มันมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่เรานำมาใช้ในการประมวลผลและสร้างบทสรุปร่วมกัน บางทีก็ต้องศึกษาตัวอย่างที่น่าสนใจจากต่างประเทศด้วย ฯลฯ ทีมการตลาดต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผู้คนในบริบทที่ต่างกันไป
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุกระตุ้นให้เรารับรู้ว่างานดีไซน์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดีเทลเพียงเล็กน้อยเช่นขั้นบันไดที่เตี้ยลง คนหนุ่มสาวอาจไม่รู้สึกอะไร แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วมันมีผลกระทบมหาศาล ในบางโครงการที่ลูกบ้านเป็นครอบครัวใหญ่ มีปู่ย่าตายายอยู่ด้วย เราก็จะลดความสูงของขั้นบันไดลง หรือปรับบางส่วนให้เป็นทางลาด และทำราวจับให้พอดี นอกจากนั้นเรายังดีไซน์ห้องส่วนตัวชั้นล่างเป็นห้องเอนกประสงค์เพิ่มเติมขึ้นมา ในกรณีที่ครอบครัวไหนมีสมาชิกสูงวัยก็สามารถปรับเป็นห้องนอนได้เลย นี่คือแนวคิดที่พฤกษาพยายามทำให้บ้านทั้งหลังเป็นพื้นที่ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน
สื่อออนไลน์มีข้อดีที่เป็นเรียลไทม์ เห็นผลชัดเจน ประมวลผลได้เร็ว สมัยก่อนกว่าเราจะรู้ถึงผลลัพธ์ของโจทย์บางอย่าง เราต้องรอกันเป็นเดือน แต่ทุกวันนี้เราแค่รับฟัง social listening ก็รู้ฟีดแบ็คได้ทันทีว่ามาร์เก็ตติ้งแคมเปญหนึ่งสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมอย่างไร คอมเมนท์ทั้งดีและไม่ดีจากโลกออนไลน์ช่วยให้แบรนด์จะปรับตัว และขับเคลื่อนการสื่อสารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าสมัยก่อน
“ถ้าแบรนด์รู้ฟีดแบ็คช้า ความเสียหายก็อาจเพิ่มมาก แต่ถ้ารู้เร็ว ก็แก้ไขได้เร็ว มันเป็นเรื่องของใจเขาใจเราด้วย”
นอกจากนี้โลกออนไลน์ยังมีประโยชน์ในเรื่องการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย เมื่อก่อนเราเข้าใจคนได้ในไม่กี่มิติ จากแค่ข้อมูลประชากรศาสตร์ ฯลฯ แต่วันนี้เรารู้จักลูกค้าคนหนึ่งในแทบทุกมิติชีวิต เช่นรู้ว่าคนๆ นี้มีแนวโน้มกำลังจะซื้อบ้าน เขามีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไร ทำงานแถวไหน น่าจะซื้อบ้านแบบไหน การยิงโฆษณาต่างๆ ไปหาเขาก็จะแม่นยำมากขึ้น เพราะเราเข้าใจผู้บริโภคได้ดีขึ้นในทุกมุมค่ะ
เราจะมองลูกบ้านเป็นเสมือนคู่ชีวิต ร่วมกันทำให้ทุกเรื่องดีขึ้น ไม่ได้แบ่งว่าเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็ก ทุกเรื่องสามารถขับเคลื่อนหรือสร้างความแตกต่างได้ ถ้ามันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของเขา
“การสร้างประสบการณ์ที่ดีคือการ delight customer ทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้มากกว่าที่คิดไว้ ได้ประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับเขาคนเดียว”
วลีที่ว่า “ใส่ใจ เพื่อทั้งชีวิต” นี้จะต้องอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรของเราเลย ไม่ใช่แค่แคมเปญการตลาด เราพยายามสร้างจุดยืนนี้ให้อยู่ในใจพนักงานทุกคน เรื่องเล็กน้อยของลูกค้าจะไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับเรา ดังนั้น Story doing เป็นสิ่งที่ฝ่ายการตลาดทำเองคนเดียวไม่ได้นะคะ ทั้งองค์กรต้องช่วยกัน คือถ้าเราไม่ได้ ‘เอาใจไปใส่’ มันก็สร้างเรื่องเหนือความคาดหมายขึ้นไม่ได้หรอก ตั้งแต่พนักงานขาย ฝ่ายก่อสร้าง คนดูแลระบบบริการ ฯลฯ เราต้องพร้อมช่วยเหลือลูกบ้านในทุกขั้นตอน เพราะความสำเร็จสูงสุดของพฤกษาคือการทำให้คำว่า ‘ความใส่ใจ’ นี้ไม่ใช่แค่แท็กไลน์ทางการตลาดเท่านั้น แต่เป็นระเบียบวาระขององค์กรทั้งองค์กรเลย
ภาพ: ศรัณย์ แสงน้ำเพชร
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ผู้หญิงไทยคนหนึ่งจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในบริษัท FMCG ระดับโลกอย่างยูนิลีเวอร์ได้ แต่คุณจุ๋ม – สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ ที่เรานั่งคุยด้วยวันนี้เธอก็ทำสำเร็จมาแล้ว ในวัยห้าสิบกว่าเรากล้าบอกเลยว่าผู้หญิงเก่งคนนี้ยังไม่หมดไฟ เธอเลือกที่จะพาประสบการณ์ร่วมสามทศวรรษ ‘ข้ามสายธุรกิจ’ มารีแบรนด์และสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับกลุ่มบริษัทพฤกษา โฮลดิ้ง (Pruksa Holding) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่คนไทยรู้จักกันดีมากว่า 25 ปี
อันดับแรก คือ เรากล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเสมอค่ะ ไม่ชอบทำอะไรตามคนอื่น ชอบเรื่องท้าทาย
สอง คือ เป็นคนชอบแก้ปัญหา โจทย์เลขยากๆ นี่จะชอบทำ ยิ่งทำได้ก็ยิ่งอยากทำโจทย์ที่ยากขึ้นอีก (หัวเราะ)
สุดท้าย คือ เป็นคนชอบลงมือทำ เราจะภูมิใจก็ต่อเมื่อเห็นผลงานสำเร็จ เป็นคนประเภท action oriented และ achievement driven ซึ่งเวลาเราเจอโจทย์ใหม่ๆ ข้อดีคือมันทำให้เราเป็นคนอ่อนน้อม อีโก้ลดลง ที่สำคัญคือไม่ลืมตัว เปิดใจรับฟัง ได้เรียนรู้ ได้คิด และพัฒนาตัวเอง
“ถ้าเรากำลังทำอะไรที่ซ้ำกับเครื่องจักร หรือทำในสิ่งที่หุ่นยนต์ทำแทนได้ อันนั้นเราแย่เลย วันนี้โชคดีที่เรายังมีคุณสมบัติบางอย่างในตัวที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้”
มองย้อนไปชีวิตเรามีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า big game changing ในหลายมุมเหมือนกันนะ ในเรื่องงานเราเริ่มต้นจาก support function แล้วก็มาทำ market research แล้วก็โดดมา media ต่อมาย้ายอีกมาเป็นนักกลยุทธ์ จากนั้นค่อยย้ายมาเป็นทัพหน้าทำมาร์เก็ตติ้ง เป็น GM ดูฝ่ายขาย จนสุดท้ายถึงขึ้นมาเป็น CEO แต่ถ้ามองในมุมของ industry เราเริ่มจากธุรกิจ laundry ก่อน แล้วข้ามมาดูอาหาร มาดู personal care ดู beverage ดูไอศครีม จนล่าสุดย้ายมาดูอสังหาฯ หรือถ้ามองในมุมของ geography เราก็โยกย้ายมาเยอะ จากประเทศไทยข้ามไปดูที่มาเลเซีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9 ประเทศ อะไรแบบนี้
ตอนเป็น CEO ของยูนิลีเวอร์ก็ภูมิใจมากแล้ว เพราะบริษัทต่างชาตินี้อยู่ในเมืองไทยมา 80 กว่าปีมี CEO ไทยแค่ 2 คน เราเป็นคนที่ 2 และเป็นคนแรกเลยที่เป็นผู้หญิง แต่ที่ภูมิใจที่สุด ณ วันนี้คือการที่เราได้นำเอาประสบการณ์ที่สั่งสมมา 26 ปี มาช่วยรีแบรนด์และกำหนดวิถีการตลาดใหม่ให้กับธุรกิจของคนไทย เรากำหนดเป้าหมายให้กับแบรนด์ที่ไม่ได้พูดเฉพาะกับคนอื่น แต่เราพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจากข้างในเพื่อให้มันสร้างอิมแพ็คไปสู่ภายนอกได้เอง
“ในบางธุรกิจ ‘เป้าหมาย’ และ ‘คุณค่า’ ของแบรนด์กับขององค์กรเป็นคนละเรื่องกันเลยคือพูดกับคนข้างนอกอย่างหนึ่ง พูดกับพนักงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรามองว่านั่นไม่ถูกต้อง”
การที่เรามารีแบรนด์พฤกษาในวัยเบญจเพสนี้เปรียบได้การสร้างจุดเริ่มต้นใหม่ให้กับธุรกิจในยุคดิจิทัล พฤกษาจะเป็นทั้ง purposeful company และ purposeful branding นี่คือที่มาของคำว่า ใส่ใจ…เพื่อทั้งชีวิต ที่เราพยายามสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่าหน้าที่ของเราไม่ใช่แค่ซื้อที่ สร้างบ้าน และขายบ้านเท่านั้นนะ แต่เป็นการส่งมอบบริการและคุณภาพสินค้าให้กับลูกค้าด้วยความสุขในใจของเรา
ขั้นแรกคือเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก House มาสู่ Home ก่อน และปีนี้จะยกระดับเป็น Living Solutions เราต้องการทำมาร์เก็ตติ้งที่มีจิตวิญญาณ เกิดจากความจริงใจ จากปณิธานความมุ่งมั่น ตอนนั้นเราเลือกใช้คุณตูน บอดี้สแลม มาเป็น brand endorser ซึ่งก็ประสบความสำเร็จมาก แบรนด์พฤกษากระโดดมาเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในโซเชียลมีเดียติดต่อกันหลายเดือน ส่วน negative impact ที่เมื่อก่อนเราอยู่อันดับต้นๆ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ใช่แล้ว ระดับความพึงพอใจของลูกค้าสูงกว่า 90% ต้องขอขอบคุณสมาคมการตลาดฯ ด้วยที่ให้รางวัลเราในปีที่แล้ว
การเปลี่ยนแปลงสองเรื่องนี้ต้องใช้เวลาค่ะ แต่ที่สำคัญคือต้องมีความจริงใจ ผู้นำต้อง walk the talk คือพูดแล้วต้องทำจริง คนต้องสัมผัสได้ด้วยใจ เขาต้องเชื่อเราก่อนว่าเราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองนะ เราทำเพื่อองค์กร เพื่อพวกเขาทุกคน ซึ่งตรงนี้เราจะไปเร่งความคิดคนไม่ได้ แต่เราเร่งที่ตัวเราเองได้ ต้องแสดงผลงานแบบ quick win ถ้าลูกน้องเห็นความทุ่มเทที่มาคู่กับความสำเร็จเมื่อไหร่ การเปลี่ยนแปลงก็จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้น
ตอนนี้ตลาดแรงงานประกอบไปด้วยคน 4 รุ่น คือ Baby Boomer, Gen X, Gen Y และ Gen Z เรียกว่าเป็นยุคไฮบริด ผู้นำจากยุค Baby Boomer หรือ Gen X อาจจะตามเทคโนโลยีทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่จะขยัน อดทน ทุ่มเท ในขณะที่ลูกน้อง Gen Y และ Gen Z ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีเขาก็จะมีแนวคิดและสไตล์การทำงานไม่เหมือนคนรุ่นก่อน ดังนั้นผู้นำที่ดีจะต้องเข้าใจและเข้าถึงคนทั้ง 4 กลุ่มนี้ ต้องเชื่อมโยงความต่างของพวกเขาให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องยากนะ คนรุ่นห้าสิบอย่างเราต้องคบเด็กไว้จะได้ไม่ตกยุค (หัวเราะ) แล้วเด็กรุ่นนี้จริงๆ ก็คือลูกค้าของเราในอนาคต ถ้าเราเข้าใจ insight ของเขาได้ถ่องแท้ เราก็นำมาใช้ในการกำหนดวิถีการทำธุรกิจได้
ต้องปรับเยอะค่ะ เทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็น เพราะต่อไปธุรกิจทุกแขนงจะใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่มนุษย์ ยิ่งเทคโนโลยี 5G มาเมื่อไหร่ ความเร็วในชีวิตคนก็จะเปลี่ยน ซึ่งถ้าเราไม่ปรับเราก็ไม่รอด องค์กรใหญ่ๆ อย่างพฤกษาเองก็ต้องกลับมาดูโครงสร้างพื้นฐานว่าเรามีความพร้อมแค่ไหนแล้วที่จะรองรับการมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ เรามีระบบ Cloud, Internet of Things, Big Data พวกนี้พร้อมแล้วหรือยัง เพราะต่อไปสิ่งที่พูดมานี้จะกลายเป็นกระดูกสันหลังของงานโอเปอเรชั่นและงานมาร์เก็ตติ้งทุกอย่าง แต่สำหรับพฤกษาเราไม่ตกขบวนแน่นอนค่ะ เป้าหมายของเราคืออย่างน้อยเราต้องก้าวให้ไกลกว่าคนอื่นหนึ่งก้าวเสมอ
มันเริ่มจากพันธกิจของคุณทองมาที่อยากสร้างบ้านคุณภาพดีแต่ราคาไม่แพงมากให้คนไทยได้อยู่อาศัย ซึ่งเราก็มาขยายความต่อว่าสำหรับบางคน บ้านคือการลงทุน ‘ทั้งชีวิต’ นะ เราถึงต้องมุ่งมั่นที่จะส่งมอบบ้านที่อยู่แล้วมีความสุขให้กับเขา ส่วนคำว่า ‘ใส่ใจ’ มีนัยยะถึงพนักงานของพฤกษาทุกคน ที่สามารถจะทำให้ good กลายเป็น great ได้ หากเราทุกคนใส่ใจเพิ่มขึ้นทั้งเรื่องการก่อสร้าง การขาย การบริการ การบริหารงานบุคคล ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรของเราส่งมอบสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ให้กับสังคมไทย
เรามองว่ามี 6 เทรนด์ที่มาแน่ๆ คือ 1) Smart Living เช่นเรื่อง Home Automation ที่ทุกอย่างสั่งการได้จากมือถือ จะเปิดปิดแอร์ เปิดปิดไฟ ตั้งระบบความปลอดภัย แจ้งซ่อม จองคลับเฮ้าส์ ฯลฯ ทุกอย่างจะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยหมด 2) Green Living เช่นจะออกแบบบ้านอย่างไรให้ประหยัดพลังงาน หรือจะนำเทคโนโลยี O2 System มาช่วยลดความเครียดได้ไหม 3) Sharing economy ข้อนี้จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ไม่สามารถซื้อทุกอย่างเป็นของตัวเองได้ เช่นถ้าบ้านทั้งหลังแพงไป คนยุคใหม่อาจจะซื้อแค่ห้องนอนแล้วแชร์ฟังก์ชั่นอื่นๆ กับเพื่อนบ้าน 4) Ageing Society ชัดเจนว่าการออกแบบบ้านสมัยใหม่ต้องตอบรับกับชีวิตของคนวัยเกษียณ 5) Rent and Second-handed Home เป็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ที่มีที่ดินจำกัด ถ้าราคาบ้านใหม่แพงมาก ผู้คนจะหันไปดูบ้านมือสองหรือบ้านเช่าแทน 6) Infrastructure เรื่องนี้กรุงเทพฯ เราเห็นชัดเจนที่สุด ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกันจะส่งผลให้ไลฟ์สไตล์ ‘คนเมือง’ เปลี่ยนไปมหาศาล
เป็นเรื่องจริงนะ เดี๋ยวนี้ไม่มีใครซื้อบ้านที่อิฐ หิน ปูน แล้ว เขาซื้อเพราะมันมีคุณค่าอะไรบางอย่างที่มากกว่านั้น หลักๆ คือมีบริการเพื่อไลฟ์สไตล์ที่มีคุณภาพ เช่นเรื่อง Internet of Things, Home Automation ฯลฯ แบรนด์ดิ้งก็ต้องผูกโยงกับค่านิยม ไลฟ์สไตล์ และภาพลักษณ์ที่เฉพาะเจาะจง แนวโน้มนี้แหละคือสิ่งที่บ่งบอกว่าโปรดักท์ในวันนี้มันคือทั้งเซอร์วิสและอิมเมจ มันเป็น added valued ที่ทำให้เกิดความยั่งยืนต่อแบรนด์ในระยะยาว
“สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าหน้าที่ของมาร์เก็ตติ้งคือการสร้างเอกลักษณ์บางอย่างที่ผู้บริโภคชื่นชม แม้เราจะมีเซอร์วิสหรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยอย่างไร แบรนด์อิมเมจที่ดีคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเติบโต”
เรื่องนี้เป็นความฝันของคุณทองมา – ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัทเลยค่ะ ท่านมองว่าที่อยู่อาศัยคือหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งการรักษาพยาบาลเองก็เช่นกัน โรคภัยไข้เจ็บเป็นอะไรที่มนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณทองมาเห็นว่าโรงพยาบาลรัฐมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็ราคาสูงเหลือเกิน Pain point นี้คือที่มาของโรงพยาบาลวิมุตที่จะเป็นทางสายกลางให้กับการรักษาพยาบาลที่ดี คนชั้นกลางจะเข้าถึงได้ นี่คือส่วนหนึ่งที่เราตัดสินใจเลือกทำงานกับพฤกษา เพราะเรารู้สึกศรัทธาในปณิธานและความตั้งใจของคุณทองมา จำได้ว่าตอนคุยกันเรื่องนี้เราบอกคุณทองมาว่าเราทำโรงพยาบาลเองคนเดียวไม่ไหวหรอก แต่คุณทองมาบอกว่าถ้าเราไปจับมือกับหุ้นส่วนแล้วเกิดมีความคิดไม่ตรงกัน เช่นถ้าเขาจะเอาแต่เงิน สุดท้ายปณิธานของเราก็จะบิดเบี้ยว เลยตัดสินใจว่ายังไงก็ต้องทำกันเองและหาคนที่มี value ตรงกันมาช่วย
ง่ายๆ เลยคือดูจากตัวเองค่ะ เวลาเรามีความสุข งานก็จะออกมาดี ความสุขในการทำงานเกิดจากการที่เรามีจุดมุ่งหมาย เรารู้ว่าเรากำลังทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร ไม่ใช่ทำไปเพื่อรอรับเงินเดือนอย่างเดียว เป้าหมายนี้มีประโยชน์มากนะคะ บางทีแม้ยังเดินไปไม่ถึง แต่เราก็ได้เรียนรู้ ได้พัฒนา และได้เติมเต็มคุณค่าบางอย่างในใจเราเสมอ คนที่จะมีความสุขในการทำงานคือคนที่รู้ว่าตัวเองมีความสำคัญต่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง นั่นคือได้ทำในสิ่งที่ส่งผลต่อคนอื่นๆ ในสังคมด้วย
ต้องมี 3Ps ค่ะ คือ 1) Purpose รู้ว่าจุดมุ่งหมายของเราคืออะไรในชีวิตในการทำงาน ถ้าจุดมุ่งหมายชัดเจน แม้เจออุปสรรคเราก็จะไม่อ่อนไหวท้อถอยง่าย 2) Passion คือมีความรักและภูมิใจในสิ่งที่ทำ หรือที่เรียกกันว่าทำงานด้วยใจ ข้อนี้ทุกคนต้องหาให้เจอ ต้องหัดมองว่างานส่วนไหนที่เรารักแล้วเอาใจไปโฟกัสตรงนั้น
3) Persistence คือมีความวิริยะอุตสาหะ ผู้นำต้องอดทนมากๆ เพราะความสำเร็จมันเกิดจากความทุ่มเทระยะยาว เหมือนนักวิ่งที่อยากได้เหรียญทองโอลิมปิกก็ต้องฝึกๆๆๆ เพื่อที่จะไปแข่งวิ่งเพียงไม่กี่นาทีในงานที่ 4 ปีมีครั้ง
ภาพ: พฤกษา โฮลดิ้ง
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้บริโภคยุคดิจิทัล มีขบวนการคิดและ
ตัดสินใจซื้อสินค้าที่รวดเร็วขึ้นมาก จนมีคำกล่าว่า ‘Milliseconds earn millions’ – ความต่างกันในระดับเสี้ยววินาที มีผลต่อยอดขายระดับล้าน
และด้วยความซับซ้อนและรวดเร็วนี้เอง ที่ทำให้นักการตลาดต้องกลับมาทบทวน ทำความเข้าใจไลฟ์สไตล์และพฤติกรรม โดยเฉพาะ Customer Journey ของลูกค้าตัวเองใหม่
Customer Journey หรือเส้นทางการเดินทางของผู้บริโภคตั้งแต่ก่อนเป็นลูกค้า จนกลายเป็นลูกค้าในสมัยก่อนไม่ซับซ้อน เพราะแทบจะเป็นเส้นตรงที่คาดเดาได้ เนื่องจากช่องทางการสื่อสารยังไม่ซับซ้อน ไม่มี Social Media เหมือนสมัยนี้ การสื่อสารของแบรนด์ก็แทบจะเป็นเส้นตรงที่แบรนด์เป็นผู้บริหารข้อความ ตั้งแต่โฆษณา จนถึงช่องทางการปิดการขาย แต่ในยุคสมัยนี้ การตัดสินใจของผู้บริโภค อาจจะไม่ได้เริ่มจากการรับรู้ลักษณะของสินค้าหรือบริการจากโฆษณาของเจ้าของแบรนด์ แต่อาจจะรู้จักสินค้าของแบรนด์ จากคำสนทนาหรือรีวิวใน Social Media แล้วก็ตัดสินใจซื้อเลย
แล้วนักการตลาดจะสามารถ ‘ถอดรหัส’ เส้นทางการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อย่างไร เพราะเราต่างรู้ว่าการเข้าใจเส้นทางนี้ ย่อมช่วยให้การวางกลยุทธ์ของแบรนด์ให้อยู่ใน Short List จนถึงเป็น Final List มีประสิทธิภาพขึ้น หนึ่งในเครื่องมือที่นักการตลาดยุคดิจิตัลนำมาประยุกต์ใช้คือ การนำหลักการตลาด 5A ของปรมาจารย์ทางการตลาด – Phillip Kotler มาใช้ร่วมกับ การถอดรหัส Customer Needs State และ Customer Journey
5A คือแนวคิดของคุณ Phillip Kotler เกี่ยวกับการทำการตลาดตามขั้นตอนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค ตั้งแต่การสร้างรับรู้ถึงสินค้า ยี่ห้อ สร้างความน่าสนใจของสินค้า กระตุ้นขบวนการตัดสินใจซื้อ จนถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีที่ลูกค้าพึงพอใจและบอกต่อ
Aware คือ การสร้างการรับรู้
Appeal คือ การทำให้ลูกค้าสนใจ
Ask คือ การตอบคำถามลูกค้าที่สนใจ กระตุ้นขบวนการตัดสินใจซื้อเพื่อปิดการขาย
Act คือ การทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ไม่ใช่เพราะเพียงสินค้าและบริการน่าสนใจ แต่การซื้อขายเป็นไปได้โดยง่าย
Advocate คือ การทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีผ่านทั้งสินค้าและบริการของแบรนด์ จนต้องบอกต่อ
เมื่อเรานำทั้ง 5A เป็นตัวตั้ง และทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าของเราผ่านขบวนการ Customer Immersion ซึ่งคือการคิดและทำแบบผู้บริโภค ไม่ใช่คิดแบบนักการตลาด
เราก็จะได้สามารถวางแผนการตลาดในแต่ละ A ได้และวัดผลได้ด้วย
Awareness
ขั้นตอนนี้แบรนด์ต้องเข้าใจว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จะรู้จักสินค้าหรือบริการเราได้จากที่ไหนบ้าง สื่อไหนบ้าง เช่น ทีวี สื่อโซเชียล สื่อบนรถไฟฟ้า และเมื่อจุดประสงค์หลักของขั้นตอนนี้เน้นการนำเสนอสินค้าและบริการในภาพใหญ่ไม่ลงรายละเอียดมากเกินไป ตัวชี้วัดจะไม่ใช่ยอดขาย แต่จะเน้นที่จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เห็นโฆษณาหรือข้อความของแบรนด์ ถ้าเป็นการวัดผลในงานวิจัยก็จะดู % ของผู้เอ่ยถึงแบรนด์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Top-of-mind หรือแบรนด์ที่ผู้บริโภคเอ่ยถึงเป็นยี่ห้อแรก
Appeal
ขั้นตอนนี้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะทำการค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูลที่มีในรายละเอียดมากขึ้น ตัวชี้วัดในการวิจัยในขั้นตอนนี้จะดู % ของ Brand in Consideration Set ว่าแบรนด์ของเราสามารถอยู่ใน Short list ของผู้บริโภคได้หรือไม่ ด้วยคุณลักษณะหรือคุณสมบัติใดที่ทำให้ลูกค้าสนใจแบรนด์เรามากกว่ายี่ห้ออื่น
Ask
ขั้นตอนนี้ต้องเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายจะสอบถามเพิ่มเติมเรื่องสินค้าและบริการเราอย่างไร ที่ช่องทางไหนได้ การวัดผลในช่วงนี้คือบทสนทนา ไม่ใช่แค่จำนวนคลิกหรือเข้าชม
Act
ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมากๆ เพราะเป็นขั้นตอนที่ลูกค้าตัดสินใจเลือกจะซื้อสินค้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งแล้ว การชำระเงิน การจัดส่งสินค้าจนถึงการบริการหลังการขายต้องเป็นเรื่องง่ายและสะดวกต่อลูกค้ามากที่สุด ‘ความยืดหยุ่นและทางเลือก’ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมายในยุค ‘Lazy & Convenient Economy’
Advocate
เมื่อลูกค้าประทับใจในสินค้าหรือบริการของแบรนด์ นอกจากจะซื้อซ้ำแล้ว ลูกค้าจะช่วยแบรนด์ขายของด้วย โดยการช่วยประชาสัมพันธ์สิ่งดีงามที่เขาประทับใจ ในขั้นตอนนี้แบรนด์ต้องรักษากลุ่มลูกค้านี้ให้ดี โดยการนำเสนอสิทธิพิเศษ หรือการสื่อสารที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าตนเป็นบุคคลพิเศษเสมือนเป็น Presenter ของแบรนด์
เมื่อนักการตลาดสามารถทำความเข้าใจพฤติกรรมและ Potential Touch Points ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแล้ว ก็จะสามารถวางกิจกรรมทางการตลาด ในช่องทางต่างๆ ของแต่ละขั้นตอนในการตลาด 5A ได้
สิ่งหนึ่งที่นักการตลาดต้องพึงรำลึกในการใช้ 5A ในการวางแผนกิจกรรมทางการตลาดคือ ผู้บริโภคในยุคนี้ไม่จำเป็นต้องเดินทางจาก A ที่ 1 ผ่าน A ที่ 2 ตามลำดับไปจนถึง A ที่ 4 และ 5 เพราะผู้บริโภคอาจมีทุก A อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันได้เลย เช่น เด็กวัยรุ่นคนหนึ่ง เห็นคนต่อแถวร้านชานมไข่มุกยี่ห้อดังจากต่างประเทศ เลยสนใจซื้อมาลองชิมบ้าง เมื่อรสชาติเป็นที่ถูกใจ และเพื่อบอกต่อให้โลกรู้ว่าตัวเองได้ลิ้มรสชานมไข่มุกยี่ห้อดังกล่าวแล้ว ก็โพสต์ภาพตัวเองถือแก้วชานมไข่มุกลง IG จากกรณีตัวอย่างนี้จะเห็นว่า Customer Journey ของวัยรุ่นรายนี้เกิดขึ้นทั้ง 5 ขั้นตอนในช่วงเวลาที่สั้นมาก การตัดสินใจในแต่ละขั้นตอนเป็น Milliseconds เลยว่าได้
ในยุคดิจิตัลที่ปลาเร็วกินปลาช้า การตัดสินใจของผู้บริโภคเป็นระดับ Milliseconds นักการตลาดต้องหมั่นทบทวนและทำ Customer Immersion บ่อยๆ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่มีตัวเลือกมากขึ้นแต่มีความอดทนรอคอยน้อยลง การทบทวน Conventional Touch Points to Crossover Touch Points เป็นเรื่องสำคัญ รวมทั้ง Mindset ต่างๆ ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนมุมมองด้วย
Source of Image:
วันนี้เป็นโอกาสดี ที่ ‘ไวซ์ไซท์’ ได้ทำการเปิดบ้าน บนชั้น 33 อาคาร Sun tower ต้อนรับสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยและสมาชิก ได้เข้าเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งอัปเดตความรู้ โดยมีผู้บริหารให้การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง
นำทัพโดย คุณพเนิน อัศววิภาส COO ,Wisesight Thailand ที่มาบอกเล่าความเป็นมาของ และ การทำงานของ บริษัท wisesight ต่อด้วย คุณกล้า ตั้งสุวรรณ CEO ,Wisesight Thailand ที่มาให้ความรู้ ในหัวข้อเรื่อง Social data analytic in Action ว่า Social Data นั้นมีผลต่อการ Run Business อย่างไร พร้อมยกเคสให้เห็นภาพว่านำมาใช้งานกับแบรนด์หรือธุรกิจของเราได้อย่างไร
การรับฟังบรรยายครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าแต่ละแบรนด์หันมาใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์มากขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องราวที่แบรนด์ต้องการจะนำเสนอ และหากเรามีข้อมูลที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการประกอบธุรกิจต่อไปในอนาคต ขอขอบคุณทีม Wisesight Thailand ที่เปิดบ้านต้อนรับ สมาชิก MAT อย่างอบอุ่นค่ะ
เมื่อได้ยินคำว่า “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” หลายคนมักนึกไปถึงภาพการทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือวิถีชีวิตแบบพออยู่พอกิน หรือการความมั่นคงทางอาหารที่ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเงินทองแลกซื้อ ฯลฯ แต่การเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี The Creator 4 ทำให้เราได้เรียนรู้หลายมุมมองใหม่ๆ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโลกธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด และทำให้ธุรกิจ ‘เติบโตได้’ อย่างยั่งยืนแท้จริง
3 ห่วง 2 เงื่อนไข สู่การสร้างธุรกิจที่เติบโตอย่างพอดี
เมื่อคิดจะลงทุนทำธุรกิจสักอย่าง หลายคนเริ่มต้นจากโจทย์ข้อแรกว่า “ฉันอยากจะทำอะไร” ซึ่งนั่นก็ถูกต้องแล้ว เพราะแพชชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามาได้ แต่โจทย์ข้อต่อๆ มาที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้แตกฉาน และบันทึกไว้เป็นคัมภีร์ในการทำธุรกิจอย่างพอดี นั่นก็คือโจทย์ของ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อันประกอบไปด้วย
ห่วงที่ 1: รู้จักตน – ประมาณตน ข้อนี้หมายถึงการรับรู้และเข้าใจในจุดยืนของตนเอง เช่นรู้ว่าเรามีทรัพยากรอะไรในมือบ้าง อะไรที่เราดี อะไรที่เราขาด รวมถึงไม่คิดลงทุนเกินกำลังหรือเกินทุนทรัพย์ที่ตนเองมี ไม่ว่าจะเป็นทุนทางกายภาพ ทุนทางมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนทางธรรมชาติ ฯลฯ ซึ่งการรู้เท่าทันตนเองในห่วงแรกนี้จะนำธุรกิจของเราไปสู่การเลือกใช้และบริหารทรัพยากรที่เรามีอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเรา (SWOT Analysis) ภายใต้บริบทการแข่งขันและตลาดที่เป็นจริงอย่างเหมาะสม
ห่วงที่ 2: มีเหตุ – มีผล หมายถึงการรู้จักวางแผนธุรกิจอย่างรอบคอบ ทำความเข้าใจตลาด เข้าใจคู่แข่ง เพื่อวางเป้าหมายและแนวการดำเนินงานอย่างมีเหตุผล (Strategic Management) สามารถคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากธุรกิจได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่นว่าธุรกิจของเราจะมีผลกระทบต่อใคร ต่ออะไร ในมิติไหน และอย่างไรบ้าง เป็นต้น
ห่วงที่ 3: สร้างภูมิคุ้มกัน ข้อนี้หมายถึงการเตรียมพร้อมต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่บรรลุผล เช่น ในกรณีที่ธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคหรือความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด (Risk Management) การสร้างภูมิคุ้มกันไว้ล่วงหน้านี้จึงเปรียบเสมือนการฉีดวัคซีนที่จะพยุงธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้
เงื่อนไขที่ 1: มีความรู้ เงื่อนไขข้อแรกในการทำธุรกิจให้สำเร็จอย่างพอดีคือการที่เรามีความรอบรู้ต่อสถานการณ์ต่างๆ เช่นรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด เข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง รวมถึงรู้ว่าตนยังขาดความรู้ความชำนาญในด้านใด (เพื่อที่จะได้หาทางเติมเต็มในส่วนนั้น) ทั้งนี้เพราะความเท่าทันในธุรกิจทุกด้านย่อมทำให้เราตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงสุด
เงื่อนไขที่ 2: มีคุณธรรม เงื่อนไขข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือเราต้องมีจริยธรรม มีจรรยาบรรณ และมีธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจ หมายถึงการที่เราไม่คิดเอาแต่ได้หรือคิดหาประโยชน์ให้พวกพ้องเพียงกลุ่มเดียว ในทางตรงกันข้าม เราต้องคิดถึงผลดีผลเสียอย่างรอบด้าน คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ที่ธุรกิจของเราอาจมีต่อผู้อื่น ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ในยุคที่ 3Ps คือหัวใจของธุรกิจที่สมดุลและยั่งยืน
ในอดีตนั้นเราล้วนเคยร่ำเรียนกันมาว่า 4Ps คือหลักการตลาดที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ แต่ในโลกทุกวันนี้การที่ธุรกิจหนึ่งๆ จะประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น การบริหาร 4Ps ได้อย่างชาญฉลาดอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคสมัยใหม่ได้หันมาให้ความสำคัญกับอีก 3Ps ที่เขามองว่าเป็นพื้นฐานการทำธุรกิจที่น่าสนับสนุน นั่นก็คือ
1) PROFIT สร้างกำไรให้พอดี แน่นอนว่าการทำธุรกิจนั้นย่อมต้องมุ่งหวังผลกำไรเป็นเป้าหมาย ซึ่งกำไรดังกล่าวอาจได้มาจากการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดี มีความแตกต่างที่ตรงใจผู้บริโภค หรือมีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์และการขายที่แข็งแรงเหนือชั้น ฯลฯ ในบริบทของการทำธุรกิจแบบพอแล้วดีก็เช่นกัน เราต้องระลึกไว้เสมอว่าการหากำไรอย่างพอดีคืออะไร ไม่ใช่ทำธุรกิจที่ดีต่อสังคม ดีต่อชุมชน ดีต่อใจ แต่ไม่มีกำไรทางเศรษฐกิจเลย
2) PEOPLE ใส่ใจผู้คนที่เกี่ยวข้อง นอกจากกำไรที่เป็นมูลค่าทางธุรกิจแล้ว กำไรที่เป็นคุณค่าต่อผู้คนและสังคมคืออีกสิ่งที่ธุรกิจในปัจจุบันต้องคำนึงถึง การที่แบรนด์ใดจะก้าวขึ้นมาเป็นที่หนึ่งในใจของผู้คนได้ แบรนด์นั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อทั้งลูกค้า คู่ค้า ลูกจ้าง รวมไปถึงคนทุกคนที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียจากการทำธุรกิจของแบรนด์ดังกล่าว เพราะท้ายที่สุดแล้ว ‘การชนะใจคน’ ไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจของคุณเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ บนพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่าย พันธมิตร พนักงาน ผู้คนในชุมชน รวมไปถึงผู้ใช้สินค้าและบริการด้วย
3) PLANET ดูแลโลกและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันทางเลือกการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวใจที่ทุกธุรกิจต้องให้ความสำคัญและวางแผนล่วงหน้าอย่างครบวงจร นับตั้งแต่ที่มาของวัตถุดิบ การผลิตสินค้า การขนส่ง การทำการตลาด การตกแต่งร้าน การทำแพคเกจจิ้ง เพราะผู้บริโภคสมัยนี้เขาสนใจว่าในการดำเนินธุรกิจของแบรนด์ๆ หนึ่งมันสร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างไรบ้าง เช่น การผลิตและขนส่งก่อให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินท์อย่างไร เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วเขาจะสร้างขยะให้โลกแค่ไหน ฯลฯ
คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าการสร้างแบรนด์ยุคใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน คุณจำเป็นต้องบริหารทั้ง 4Ps และ 3Ps ให้ได้อย่างมีเอกภาพ โดยต้องระลึกไว้ด้วยว่า “พอ” ไม่ได้แปลว่า “หยุด” แต่หมายถึงการ “คิด” และ “ทำ” อย่างพอดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำร้ายสังคม และช่วยดูแลโลกใบเดียวที่เรามีอยู่นี้เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้
“ถ้าคุณทำธุรกิจที่ดีแต่กับผู้อื่น แต่คุณเองขาดทุนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในที่สุดคุณจะกลายเป็นภาระสังคม ฉะนั้นจำไว้ว่าการทำธุรกิจต้องมีกำไร แต่กำไรอย่างพอประมาณ”
– ดร. ศิริกุล เลากัยกุล / Director & Trainer โครงการพอแล้วดี The Creator
ภาพประกอบ: โครงการพอแล้วดี The Creator
เมื่อวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีทำให้วิถีการบริโภคสินค้าและบริการของมนุษย์เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือ ‘ความสะดวก’ และ ‘รวดเร็ว’ กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเรียกดาว 5 ดวงจากผู้บริโภคได้ เห็นชัดจากการเติบโตของแอพจส่งอาหารต่างๆ เช่น Grab Food, Line Man, Get Food ฯลฯ ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์เหล่านี้คือสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ทุกคนให้คุณค่า และนักพัฒนาบริการก็ต้องหันมาตีโจทย์ข้อนี้ให้ได้ในทุกอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือไอเดียการ ‘แฮควิธีอ่านหนังสือ’ ของสตาร์ทอัพนาม Blinkist ผู้พัฒนาแอพลิเคชันสำหรับนักอ่านที่มีเวลาน้อย โดยจะย่อยประเด็นสำคัญจากหนังสือ nonfiction ต่างๆ มาให้คุณเข้าใจได้ในเวลาไม่เกิน 15 นาที
ปฎิวัติการอ่านผ่านแอพ BLINKIST
สวัสดีนักอ่านทุกท่าน…ทุกวันนี้คุณรู้สึกเหมือนกันกับเราไหมว่าหนังสือตั้งใหญ่ที่เราถอยมาจากงานสัปดาห์หนังสือทุกๆ ปีนั้นถูกอ่านจบจริงแค่ไม่ถึง 5 เล่มต่อปี ยิ่งเป็นหนังสือประเภท nonfiction ที่มุ่งเน้นการให้สาระความรู้แก่ผู้อ่านด้วยแล้ว สปีดการอ่านของเราก็ยิ่งเชื่องช้าลงเรื่อยๆ ตามความหนาของเล่ม
Pain point ข้อนี้เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในทุกมุมโลก สตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมันาม Blinkist จึงทดลองนำเสนอวิธีการใหม่ในการ ‘เสพสาระ’ จากหนังสือให้เหลือแค่เพียง 15 นาที (ไม่ว่าจะด้วยการอ่านหรือการฟัง) โดยการสรุปความจากหนังสือทุกเล่มนั้นได้ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยมันสมองของนักเขียนและบรรณาธิการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และรับประกันว่าไม่มีการใช้สมองกลเข้าช่วยในการย่นย่อเนื้อหาสาระแม้แต่น้อย
“ปัจจุบันมนุษย์เท่านั้นที่มีศักยภาพพอในการทำให้มนุษย์ด้วยกันเข้าใจเรื่องราวหนึ่งๆ ได้อย่างชัดเจนและจดจำเรื่องราวนั้นได้ยาวนาน”
หลังเปิดตัวในปี 2012 Blinkist มีหนังสือให้เราเลือกเสพกันแล้วกว่า 3,000 เล่ม ครอบคลุมหัวข้อด้านการพัฒนาบุคคล จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ การสื่อสาร การบริหารจัดการ ความเป็นผู้นำ การสร้างแรงจูงใจ การค้นหาแรงบันดาลใจ ฯลฯ โดยในทุกเดือน Blinkist จะมีหนังสือออกใหม่มาให้สมาชิกได้เลือกอ่านเลือกฟังกันราว 40 เล่ม และจากเดิมที่มีแต่หนังสือภาษาเยอรมัน ปัจจุบันก็เติบโตสู่ตัวเลือกหลายภาษา (ภาษาอังกฤษเป็นเซ็กเมนต์ที่ใหญ่ที่สุด) ด้วยตัวเลขสมาชิกที่วิ่งฉิวขึ้นเรื่อยๆ จนทะลุหลัก 10 ล้านคนทั่วโลกไปแล้ว
ฝ่าวิกฤติด้วยการระดมทุนแบบ Venture Capital
แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่าแม้แนวคิดธุรกิจของสตาร์ทอัพรายนี้จะดีแสนดี แต่พวกเขาก็เกือบจะเอาตัวไม่รอดจากภาวะล้มละลายมาแล้ว (เพราะขาดเงินทุนในการทำวิจัยพัฒนา ขยายสเกลธุรกิจ และทำการตลาดอย่างจริงจัง) โชคยังดีว่าโลกของเรามีแพลทฟอร์มการลงทุนที่เรียกว่า Venture Capital เกิดขึ้น และนักลงุทนอิสระกลุ่มนี้เองที่ได้ช่วยให้ Blinkist ผู้ล้มลุกคลุกคลานมากว่า 2 ปีสามารถลืมตาอ้าปากได้ในที่สุด
“การระดมทุนจาก Venture Capitalist ทั่วโลก คือเครื่องปั๊มหัวใจในนาทีสุดท้ายที่เรียกสัญญาณชีพของธุรกิจกลับมาอีกครั้ง”
ในปี 2016 บริษัทมีรายได้เพิ่มจากปี 2015 สูงขึ้นถึง 3 เท่า พร้อมทีมงานที่เติบโตขึ้นอีก 200% สำหรับกรณีศึกษานี้นาย Harley Miller รองประธานบริษัท Insight Venture Partners กล่าวว่า “ผมเชื่อว่า Blinkist คือหนึ่งสตาร์ทอัพที่ยอดเยี่ยมของโลก เป็นคลังความรู้สำเร็จรูปที่ช่วยให้เราเพิ่มทักษะการพัฒนาตนเองได้จริง”
ปัจจุบัน Blinkist สามารถระดมทุนผ่าน Capital Venture ได้แล้วถึง 35 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมี Insight Venture Partners (ผู้อยู่เบื้องหลังการระดมทุนให้ Twitter, Tumblr และ HelloFresh) เป็นที่ปรึกษาให้
การไฮไลท์เนื้อหาไม่มีวันฆ่าหนังสือเล่มจริง
เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายหลักของ Blinkist คือกลุ่มคนทำงานที่มีตารางชีวิตมากมายระหว่างวัน เป็นกลุ่มคนที่ต้องการ ‘ประสิทธิภาพ’ และ ‘ประสิทธิผล’ สูงสุดจากการใช้ชีวิตประจำวันของตน ดังนั้นหนังสือที่ขายดีเป็นพิเศษกับคนกลุ่มนี้ จึงมักเกี่ยวของกับกลไกการทำงานของสมอง ยกตัวอย่างเช่น หนังสือเรื่อง Thinking, Fast and Slow ที่รวบรวมผลงานวิจัยตลอด 40 ปีของ Daniel Kahneman, หนังสือเรื่อง Outliers โดย Malcolm Gladwell ที่สรุปปัจจัยการทำธุรกิจให้สำเร็จผ่านเรื่องราวที่คุณไม่มีทางเคยรู้ หรือเรื่อง A Brief History of Time ของ Stephen Hawking ที่ชวนให้คุณค้นหาคำตอบต่อความพิศวงของเวลาและอวกาศ เป็นต้น นอกจากนี้ Blinkist ยังจัดทำอันดับหนังสือแนะนำขึ้นตามหมวดหมู่เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงเรื่องราวที่กำลังต้องการได้อย่างสะดวกด้วย
ที่ผ่านมาแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบบ้าง เช่นว่าการย่อเนื้อหาทำให้อรรถรสการอ่านหายไป หรือเนื้อหาสำคัญตกหล่นไม่ครบถ้วน แต่ทีมงาน Blinkist ก็กล่าวว่า หน้าที่ของพวกเขานั้นไม่ใช่การเข้ามาแทนหนังสือฉบับเต็ม แต่เป็นแค่เพียงหนึ่งทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้รักการอ่าน (แต่ไม่มีเวลา) สามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระของหนังสือดีๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเท่านั้น
หรือหากเราจะมองเขาในแง่บวกขึ้นอีกนิด Blinkist อาจเป็นเครื่องมือการตลาดชั้นเลิศของสำนักพิมพ์ต่างๆ ในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายของหนังสือเล่มแต่ละเล่มตัดสินใจถอยหนังสือเล่มเต็มมาอ่านอย่างละเอียดก็เป็นได้
อ้างอิง: blinkist, medium, pehub