One of three columns
One of three columns
One of three columns

งานชี้แจงโจทย์ J-MAT Award#30

2.6k
SHARE
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ
บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้าแบรนด์แกมโบล (GAMBOL)
จัดพิธีเปิดโครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award ครั้งที่ 30 พร้อมชี้แจงโจทย์

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย โดยชมรมยุวสมาชิกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย หรือ J-MAT ร่วมกับ บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้าแบรนด์แกมโบล (GAMBOL) จัดงานเปิดโครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award ครั้งที่ 30 เพื่อชิงโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษามูลค่ารวมทั้งสิ้น กว่า 500,000 บาท พร้อมชี้แจงโจทย์ และรายละเอียดการทำแผนการตลาด ภายใต้หัวข้อ “เดิน..เฟี้ยว ไอเดีย..ฟ้าว” ในรูปแบบอีเว้นต์เสมือนจริง (Virtual Event) ในวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

มีนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ เข้าร่วมงานรวมกว่า 800 คน จาก 55 สถาบันทั่วประเทศ โดยมี คุณอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และ คุณนิติ กิจกำจาย ผู้บริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรองเท้าแบรนด์แกมโบล(GAMBOL) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและกล่าวต้อนรับ

(ซ้าย) คุณนิติ กิจกำจาย ผู้บริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด (GAMBOL), (ขวา) คุณอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

โครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award เป็นโครงการที่สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ได้ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษาได้นำความรู้ที่ได้ศึกษาในห้องเรียนมาลองปรับใช้กับโจทย์และสถานการณ์ทางการตลาดจริง เป็นการฝึกคิด วิเคราะห์ และประมวลผลเพื่อนำเสนออย่างสร้างสรรค์ พร้อมฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีมก่อนที่จะออกสู่สนามการทำงานจริง

โครงการประกวดแผนการตลาด J-MAT Award ครั้งที่ 30 นี้ มีช่วงเวลาดำเนินการ ดังนี้

● เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม – 12 กันยายน 2564
● ปิดรับส่งผลงาน ภายในวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564
● ประกาศผล 50 ทีม ในวันศุกร์ ที่ 15 ตุลาคม 2564
● ประกาศผล 24 ทีม ในวันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2564
● ประกาศผู้เข้ารอบ 7 ทีมในวันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564
● นำเสนอผลงานผู้เข้ารอบ 7 ทีมสุดท้าย ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน 2564
● พิธีประกาศผล/มอบรางวัล ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564

ติดตามรายละเอียดและข่าวสารโครงการได้ทาง

Website : J-MAT Award #30
Facebook : J-MAT
Instagram : jmat_official


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Collaboration Marketing กลยุทธ์ความร่วมมือ Win-Win ทั้งผู้บริโภคและเจ้าของแบรนด์

2.6k
SHARE
What is Collaboration Marketing ?

การทำ Collaboration Marketing คือ การผนวกกำลังของธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกันที่อยากขยาย Brand Exposure ขยายฐานลูกค้า และรักษา Momentum ของแบรนด์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกแบรนด์สามารถ Collaborate กันได้ ต้องเป็นแบรนด์ที่มี Common Purpose ไม่ว่าจะเป็นความสนใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ทั้งกลุ่มลูกค้าเดิมและกลุ่มลูกค้าใหม่ บุคลิกและเรื่องราวของแบรนด์ทั้งสอง


Start with Clear Objectives

การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะทำให้การเลือกพันธมิตรได้ง่ายขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์หลักๆ ในการทำ Collaboration Marketing คือ

  1. Penetration/ Reach การขยายฐานลูกค้า การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของอีกแบรนด์ หรือ การดึงความสนใจให้ลอง ของกลุ่มลูกค้าใหม่ ของทั้งสองแบรนด์
  2. Frequency/ Occasion การขยายโอกาส หรือ ความถี่บ่อย ในการบริโภคสินค้า ของกลุ่มลูกค้าเดิม
  3. Brand Image/ Momentum การเสริมภาพลักษณ์ หรือการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับแบรนด์
  4. CRM เป็นแคมเปญทางการตลาดเพื่อเป็นรางวัลให้กับลูกค้าปัจจุบัน

ในฉบับนี้ ทางบริษัท อินเทจ ประเทศไทย ขอแชร์ตัวอย่าง การร่วมมือกันของ 2 แบรนด์ที่สร้างเสียงฮือฮาให้กับผู้บริโภคได้อย่างดีในเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา โดยการเก็บข้อมูลผ่าน Social Listening


Case Study 1: SAPPE x TAKABB
ขยายฐานลูกค้าและโอกาสในการบริโภค

คือแบรนด์ ที่ผู้บริโภคไทยคุ้นเคย และเคยทานกันมาแล้วอย่างแน่นอน เพราะ เป็นแบรนด์ที่อยู่มานาน นั่นคือ “ตะขาบ 5 ตัว” ที่มากับธีม ยุคเปลี่ยน คนเปลี่ยน ตะขาบไม่เปลี่ยน เปิดตัว SAPPE x TAKABB เครื่องดื่มน้ำสมุนไพรบรรจุขวด รุกตลาด Herbal Drink โดยเริ่มจากการสื่อสารทำให้คนมีส่วนร่วม และอยากติดตามว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อยาอมแก้ไอจะผนึกกำลังกับเครื่องดื่มและอาหารเพื่อสุขภาพ และโฆษณาที่สร้างความสงสัยให้ผู้บริโภค ชายคนนี้ตกเป็นผู้สงสัยของทุกคนเพราะ…

เรียกว่าสร้างความสนใจ ให้ทั้งผู้บริโภคและวงการนักการตลาด ได้เป็นอย่างดี เมื่อแบรนด์ในตำนาน ขยายทั้งฐานลูกค้าไปยังกลุ่ม Gen Y และ Gen Z และโอกาสในการบริโภค “ตะขาบ 5 ตัว” จากการที่เป็นยาอมบรรเทาอาการระคายคอ มาเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ที่เข้าถึงง่าย ดื่มง่าย ให้ความสดชื่น เย็นชุ่มคอ จากสมุนไพรหลากหลายชนิด


Case Study 2: ทิวลี่ x โอวัลติน (Tivoli x Ovaltine)
เสริมความเคลื่อนไหวให้กับแบรนด์

อีกแบรนด์อันดับต้นๆ ของไทยด้านขนมเวเฟอร์ ที่เราทานกันมาตั้งแต่เด็กๆ ได้มาร่วมมือกับแบรนด์ เครื่องดื่มมอลต์สกัดรสช็อกโกแลตอย่าง “โอวัลติน” กลายเป็น “ทิวลี่ x โอวัลติน” (Tivoli x Ovaltine) รสชาติใหม่ เวเฟอร์สอดไส้โอวัลตินช็อกมอลต์และเฟลค เคลือบช็อกโกแลต เพื่อสร้างความแตกต่าง และตอบสนองความต้องการให้กับผู้บริโภคทั้งกลุ่มเด็ก วัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ซึ่งงานนี้ก็ได้เปิดตัวพร้อมกับ พรีเซ็นเตอร์ที่กำลังเป็นที่นิยมสำหรับคนรุ่นใหม่อย่าง คุณ “ไอซ์ พาริส” ศิลปินไอดอล เพื่อต่อยอดให้ทั้งสองแบรนด์มีความแข็งแกร่งสู้กับคู่แข่งในตลาดได้มากยิ่งขึ้น


Case Study 3: ปีโป้ x M-150
เสริมภาพลักษณ์ และสร้าง Emotional Connection

Case สุดท้ายที่จะพูดถึงในฉบับนี้คือการ Collaborate ข้ามกลุ่มลูกค้าของ ปีโป้ และแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง M-150 ออกมาเป็นปีโป้กลิ่น M-150 ทดลองวางขายใน Shopee

ซึ่งทางอินเทจมองว่า ปีโป้ ไม่ได้ทำ เพื่อการขยายฐานลูกค้า ดึงคนที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ให้มาทานปีโป้รสนี้ แต่เป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับฐานลูกค้าปัจจุบัน ที่เป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ในขณะที่ทาง M-150 ก็ได้ภาพลักษณ์ที่สดใสขึ้น เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น นับว่าเป็นการสร้าง Emotional Value ให้กับทั้ง 2 แบรนด์


Current vs. New Customers
ขยายฐานลูกค้าใหม่ อย่ามองข้าม ลูกค้าเก่า

โดยส่วนใหญ่ แบรนด์จับมือกันเพื่อต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากความเชี่ยวชาญชำนาญของแต่ละแบรนด์ มาต่อยอดซึ่งกันและกัน เพื่อขยายฐานลูกค้า ซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าของอีกแบรนด์อยู่แล้ว หรือเป็นลูกค้าใหม่ของทั้ง 2 แบรนด์เลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากคือ แบรนด์ที่เราจะไป Collaborate ด้วย ต้องไม่เป็นแบรนด์ที่ลูกค้าปัจจุบันไม่ชื่นชอบ เพราะนอกจากจะไม่ได้ลูกค้าใหม่แล้ว อาจจะเสียลูกค้าเก่าได้ทีเดียว

Communication
แสดงให้เห็น Value ของการ Collab

นอกจากการกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำแล้ว อีกหนึ่ง Success Factor ในการทำ Collaboration Marketing คือ การสื่อสารให้เห็น Value ของการทำพันธมิตรว่า ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อะไร เช่น ผู้บริโภคได้ลองทานรสใหม่ๆ ได้ Outcome Benefits ที่ดีขึ้น ได้ช่องทางการซื้อที่หลากหลายขึ้น ซึ่งการสื่อสารทำได้ผ่านทั้งโฆษณาในสื่อต่างๆ การสื่อสารบนบรรจุภัณฑ์ รวมถึงในช่องทางการขายด้วย

นอกจากนี้การฟังเสียง Feedback ของผู้บริโภคใน Social Listening หรือการสอบถามกับผู้บริโภค ทั้งกลุ่มที่ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว และ กลุ่มที่ยังไม่ได้ทดลอง ว่ามีความรู้สึกอย่างไร ชอบไม่ชอบอย่างไร เพื่อเป็นการปรับปรุงและเก็บข้อมูลสำหรับการทำ Collaboration Marketing ในอนาคตด้วย

4C – Key Success Factors

สรุป 4C ที่นักการตลาดต้องคำนึงถึงในการทำ Collaboration Marketing คือ

Clear Objectives/ Goal
เป้าหมายทางการตลาด ว่าทำเพื่ออะไร – Penetration, Occasion, CRM หรือ Image

Common/ Shared Purposes
ของทั้ง 2 แบรนด์ว่าไม่มีอะไรขัดกัน จนผู้บริโภคขัดตา หรือตั้งคำถามว่าพวกเขาจะได้อะไร

Customer Focus – Current vs New Customer
ข้อควรระวังมากๆ ในการทำ Collaboration คือ ความรู้สึกของลูกค้าปัจจุบัน โดยเฉพาะเวลาที่แบรนด์ทำการ Collaborate กับอีกแบรนด์ที่มีฐานลูกค้า และประโยชน์ของสินค้าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Communication
ทั้งก่อน ระหว่าง และ หลังการออกสินค้า เพื่อบริหารความคาดหวังของผู้บริโภค – Manage before being managed!

บทความโดย INTAGE (Thailand) Co., Ltd.


ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

MAT CMO Council แนะ 10 Re ช่วยนักการตลาดสู้โควิด

2.6k
SHARE
สมาคมการตลาดฯระดมกว่า 55 CMO และผู้บริหารระดับสูงของไทย
ร่วมระดมสมองออนไลน์ Unlock the Lockdown… แนะ 10 Re ช่วยนักการตลาดสู้โควิด

จากวิกฤติการณ์โควิด-19 ระลอกสามนี้ องค์กร เจ้าของธุรกิจ นักการตลาด รวมถึงบุคคลทั่วไปต่างต้องปรับตัวและหาวิธีในการรับมือกับสถานการณ์ ในโอกาสครบรอบ 55 ปี สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ระดมกว่า 55 CMO (Chief Marketing Officer) และผู้บริหารระดับสูง ร่วมเสวนาสัมมนาออนไลน์ภายใต้หัวข้อ “Unlock the Lockdown… นักการตลาดทำอะไรกันดี?!!” เพื่อร่วมพูดคุย ปลดล็อค แบ่งปันการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมถึงแนะนำวิธีการ ไอเดียในการทำการตลาดใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้วิกฤตการณ์โควิด-19

ในวันงาน นายอนุวัตร เฉลิมไชย นายกสมาคมการตลาดฯ ได้กล่าวว่า “MAT CMO Council มีจุดประสงค์ในการสร้างเครือข่ายของผู้บริหารระดับสูงและนักการตลาดระดับแนวหน้าของประเทศ เพื่อต่อยอดประสบการณ์และเสริมพลังด้านการตลาดของประเทศไทย โดยจำนวนสมาชิก MAT CMO Council นี้ ได้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นถึงกว่า 100 ท่าน และเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ไม่สามารถจัดงานแบบปกติ Face-to-Face ได้ จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนา Exclusive Online Forum ในครั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้ร่วมพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ พร้อมส่งต่อคำแนะนำให้กับภาคธุรกิจอื่นๆ และยังเป็นการร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าฟันความยากลำบากในวิกฤติการณ์ครั้งนี้” ทางสมาคมฯได้รับเกียรติจาก ดร.สมชาติ วิศิษฐชัยชาญ คุณสุภาวดี ตันติยานนท์ และผศ. ดร.เอกก์ ภทรธนกุล มาร่วมดำเนินรายการชวนผู้ร่วมงานพูดคุยและแชร์ประสบการณ์ภายใต้ 2 หัวข้อ คือ

WHAT – อุปสรรค Key Challenge และ Key Learning ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ทางสมาคมฯได้ส่งแบบสอบถามไปให้ CMO และผู้บริหาร รวมถึงสมาชิกของสมาคมฯเอง พบว่าในส่วนของ CMO และผู้บริหารนั้น เกือบทุกองค์กรต้องมีการปรับแผนธุรกิจใหม่ มีการทำ Digital Transformation เน้นออนไลน์มากยิ่งขึ้น รวมถึงการรักษา Team Spirit และ Reskill บุคลากรในองค์กร ในส่วนของสมาชิก พบว่ามีความกังวลในเรื่องของสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน กำลังซื้อในตลาดที่ลดลง รวมถึงความรู้ที่คิดว่าต้องพัฒนาต่อไป

ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO & MD บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก จาก Consumer เป็น Prosumer มีตัวเลือกเยอะ มีความระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้นเพราะความไม่แน่นอนในสถานการณ์โควิด-19 การเลือกแบรนด์นอกจากเรื่องประโยชน์ของตัวสินค้า ยังเลือกแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นยุคของ Responsible Marketing ที่ไม่ควร Focus เพียงนึกถึงผู้บริโภคว่าเป็น Customer ที่เราจะขายของให้เขาซื้อเราเท่านั้น แต่ต้องนึกถึงเขาในมุม Human Centric ว่าแบรนด์เราจะแก้ปัญหา Pain Point เขาอย่างไร ช่วยทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น รู้สึกดีขึ้นต่อตัวเองอย่างไร และสิ่งที่เราทำมีผลกระทบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรด้วย

ในช่วงระยะเวลาที่ล็อกดาวน์และนักท่องเที่ยวหดหายนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อห้างสรรพสินค้า ช็อปปิ้งมอลล์ต่างๆ คุณวิศาล สิปิยารักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายบริหารพื้นที่เช่าและผู้เช่าสัมพันธ์ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) นอกเหนือจากมาตรการลดค่าเช่าแล้ว ยังได้มีการช่วยเหลือผู้เช่าโดยการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ร้านค้าภายในศูนย์ฯได้มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ผ่านช่องทางของเอ็ม บี เค อาทิ การนำเสนอแคตตาล็อกสินค้าในเว็บไซต์เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ การไลฟ์สดขายสินค้าทุกวันพุธผ่านเฟซบุ๊ก MBK Live Market และ การนำสินค้าเข้าไปวางจำหน่ายในลาซาด้า มีการนำข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์แบบลงลึกเพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง (Personalized Marketing) ปรับกลยุทธ์ที่เน้นกลุ่มลูกค้าคนไทยมากยิ่งขึ้น และยังมีการทำ CSR ร่วมกับภาครัฐให้การสนับสนุนพื้นที่ในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มอบน้ำดื่ม MBK และหน้ากากอนามัย จัดทำกิจกรรมเพื่อสังคมในโครงการ PLUS TOGETHER พอยท์ต่อชีวิต เชิญชวนสมาชิกแอปพลิเคชัน เอ็ม บี เค พลัส ร่วมแบ่งปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19 ด้วยการบริจาคคะแนน เอ็ม บี เค พอยท์ เปลี่ยนเป็นเงินบริจาค โดย MBK PLUS ร่วมสมทบทุนให้อีกเท่าตัว เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์มอบให้โรงพยาบาลกลาง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19

ในมุมของการสื่อสารและคมนาคม คุณพงษกรณ์ คอวนิช หัวหน้าส่วนงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ได้ร่วมแชร์ว่าทางบริษัทฯ ได้เฟ้นหาบริการและข้อเสนอที่เติมเต็มและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในช่วงล็อคดาวน์และ WFH นี้ เช่น เพิ่มประกันสุขภาพโควิด-19 การนำเอาช่อง Disney + Hotstar เข้ามาเสริมในส่วนของบันเทิง และการนำเสนอเบอร์มงคลที่เน้นในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดเหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้บริษัทฯ สามารถรักษาฐานลูกค้าปัจจุบันได้ และยังได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆเพิ่ม นอกจากนี้ พนักงานขายที่ช็อปต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีช่องทางขายให้ลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้นทั้งออฟไลน์และออนไลน์เพื่อให้การขายไม่หยุดชะงัก

HOW – กลยุทธ์ในการปรับตัวในสถานการณ์โควิดปัจจุบัน Survival Strategy การเปิดใจยอมรับ รวมถึงการแชร์เคล็ดลับทำการตลาดในช่วงโควิด-19 ให้ธุรกิจไม่สะดุด

ร้านอาหารก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก คุณนงชนก สถานานนท์ ผู้ช่วยรองประธานบริหาร กลุ่มการตลาด บจก.เอส แอล อาร์ ที จำกัด กล่าวว่า สำหรับปีนี้ ผลกระทบจากโควิด-19 มากกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากร้านส่วนใหญ่อยู่ในห้าง ทีมงานได้กลับไปคิดและปรับกระบวนการใหม่ แปลงข้อจำกัดเป็นโอกาส ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ มีการทดลอง เรียนรู้ และปรับเปลี่ยน จึงเป็นที่มาของ Cloud Kitchen ที่เป็นการผนึกกำลังของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Sizzler Bon Chon Swensen’s หรือ Dairy Queen ผ่านครัวของ The Pizza Company

ในมุมของ Digital CRM หรือ Loyalty Program น้ัน คุณณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่าได้มีการปรับเปลี่ยนองค์กร มีการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อช่วยเหลือกลุ่มธุรกิจ SME ในการนำสินค้าขึ้นขายใน Marketplace บนแพลตฟอร์ม e-Commerce ชั้นนำต่างๆ พร้อมช่วยทำการตลาดให้ และอีกบริการคือการกระโดดเข้ามาทำ Food Delivery ให้กับแบรนด์มีช่องทางโดยตรง เพื่อได้มีฐาน Database เป็นของตัวเอง และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังปรับเปลี่ยนสิทธิพิเศษเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้าในช่วงโควิด-19 มากยิ่งขึ้น ด้วยแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่ว่า ‘ทุกที่มีโอกาส เมื่อคิดแล้วให้ลงมือทำทันที และเราไม่จำเป็นต้องสร้างโอกาสจากเค้กก้อนเดิมเสมอไป’

คุณเพชร พะเนียงเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เล่าว่ามีการปรับเปลี่ยนแผนการตลาด จากเดิมที่ส่วนแบ่งการตลาดและอัตราการเติบโตของมาม่าแบบคัพจะมากกว่าแบบซอง แต่เมื่อเกิดโควิด-19 สัดส่วนการขายและอัตราการเติบโตของมาม่าแบบซองเริ่มมากกว่าแบบคัพ จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ อีกทั้งการขายที่จากเดิมใช้พนักงานขาย ก็เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการขายแบบออนไลน์แทน ดังนั้น ต้องเรียนรู้และปรับตัวให้เร็ว

สำหรับธุรกิจ B2B นั้น คุณวิชาญ จิตร์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) ร่วมแชร์ว่าตอนนี้ทุกคนกำลังประสบอยู่กับ Pandemic Crisis อย่างไรก็ดี ไม่ว่า Crisis ใดก็ต้องมีวันจบ เราจะบริหารองค์กรให้ก้าวข้ามผ่าน Crisis ในสภาพไหน สิ่งที่สำคัญ คือ การใส่ใจและให้ความมั่นใจแก่กลุ่มลูกค้า ดูแลบุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง คุณวิชาญแนะนำว่า Cash is King ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลงทุนในสิ่งที่สำคัญสำหรับอนาคต ปรับ Mindset เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ “Never Normal”

ในส่วนของภาคเกษตรนั้น คุณพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เล่าว่าช่วงโควิด-19 มีกลุ่ม Young Smart Farmer ที่นำวิธีการทำ Smart Farming เข้ามาใช้ เกษตรกรมีการใช้งานออนไลน์เพิ่มจากเดิม 9% เป็น 70% โดยทางคูโบต้าเอง ก็มีการปรับตัวในเรื่องของกิจกรรมทางการตลาดและ Transition จาก On-ground มาเป็นออนไลน์มากขึ้น มีการพัฒนา Mobile Application และเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรโดยได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี

สำหรับฝั่งรัฐวิสาหกิจ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ จากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า สถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนหันมาทำธุรกิจออนไลน์มากยิ่งขึ้น จากแสนร้านค้าเป็นล้านร้านค้า ทางไปรษณีย์ไทยมองว่าระบบขนส่งและระบบหลังบ้านที่ดีจะช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการเหล่านี้ และพร้อมตอกย้ำหน้าที่และ Commitment โดยเน้นความเป็น Companionship กับคนไทย และในอนาคตอันใกล้นี้ ทางไปรษณีย์ไทยจะมีการ Collaborate กับพันธมิตรอื่นๆเพื่อขยับขยายและมอบการบริการที่ดียิ่งขึ้นและครอบคลุมมากกว่าเดิม

จากการร่วมพูดคุย การได้มุมมอง กลยุทธ์ ข้อคิดต่างๆจาก CMO และผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดนั้น ก่อให้เกิดข้อสรุปทั้งสิ้น 10 Re อันได้แก่

  • Responsible Marketing เล็งเห็นถึงความสำคัญของสังคมและสิ่งแวดล้อม เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน
  • Rethink เปิดใจให้กว้าง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด
  • Retarget ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อขยายฐานลูกค้าและหากลุ่มลูกค้าใหม่
  • Reconnect ใส่ใจในฐานลูกค้าเดิม หาวิธีเพื่อดึงลูกค้าเก่าให้กลับมา
  • Resources เสริมสร้างและพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากร
  • Rescale ปรับแผนให้ง่ายขึ้นและมีความคล่องตัวมากขึ้น
  • Restructure ทดลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
  • Reshape the Future วางกลยุทธ์สำหรับอนาคต
  • Reform ศึกษา Consumer Behaviour เพื่อปฎิรูปและหาหนทางแก้ไขปัญหาที่ตอบโจทย์
  • Relieve บรรเทาปัญหาและความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคม

พร้อมกันนี้ คุณจักรพล จันทวิมล กรรมการสมาคมการตลาดฯ และผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ได้นำเสนอ

โครงการ HELP Marketing

ประกอบด้วย 4H คือ

  • Head: ค้นหาผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้แนวคิดการตลาดใหม่ๆ มีไอเดียดีๆ สามารถสร้างความแตกต่างเพื่อเพิ่มยอดขายในช่วงโควิด-19 นี้
  • Hand: ประชาสัมพันธ์ร้านเพื่อเป็นกรณีศึกษา พร้อมอุดหนุนสินค้าและส่งมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าและบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์นี้
  • Heart: เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยและสมาชิก MAT CMO Council
  • Hope: ใช้วิถี “การตลาด” อันเป็นหนึ่งในความหวังของประเทศ

โครงการ HELP Marketing นี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศาสตร์ทางด้านการตลาด อีกทั้งยังเป็นการให้กำลังใจและช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์โควิด-19 นี้ โดยเบื้องต้น ทางสมาคมฯ ได้มอบเงินตั้งต้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 50,000 บาท ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากสมาชิกของ MAT CMO Council

ท่านที่ต้องการร่วมกิจกรรม HELP Marketing สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
คุณจันทร์เพ็ญ โทร. 095-952-4453, 02-679-7360-3 หรือ
Line ID : @matsociety

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

มูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดฯเปิดรับสมัครนักศึกษาทุนต่อเนื่อง ปี2564

2.6k
SHARE
ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาฯ
ของมูลนิธิเพื่อการศึกษาของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 คน จากผู้สมัครรับทุนจากมูลนิธิฯ จำนวน 62 คน
ขอแสดงความยินดีกับนิสิต นักศึกษาๆ ทุกคนที่ผ่านการคัดเลือกในครั้งนี้ด้วยนะคะ


ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือก ให้เข้ารอบสัมภาษณ์ทางออนไลน์
ในวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2564 มีรายชื่อดังต่อไปนี้

และจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือก จำนวน 9 ทุน
ในวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.00 น.
ทาง Facebook : MAT Society และ www.marketingthai.or.th


โอกาสดีๆ ที่มากกว่าการรับทุน

รับสมัคร จำนวน 9 ทุน ทุนการศึกษาละ 36,000 บาท ต่อปีการศึกษา
พร้อมโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ ฟรี!
ขยายเวลาเปิดรับสมัคร  วันนี้ – 25 มิถุนายน 2564
คุณสมบัติผู้สมัคร

• เกรดเฉลี่ย 2.0 ขึ้นไป
• กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 หรือ 2
• นักศึกษาที่เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตลาด ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลหรือราชภัฏ
• ไม่ได้รับทุนจากสถาบันอื่นอยู่ (กู้กยศ.สามารถขอทุนได้)

เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก

1. ใบสมัคร Download คลิก
2. จดหมายรับรองสถานะการเป็นนักศึกษา และความประพฤติจากมหาวิทยาลัย
3. ผลการเรียน
4. บทความบรรยายประวัติส่วนตัว
5. บทความบรรยายความตั้งใจเป็นนักการตลาด – ตัวอักษรขนาด 16pt ความยาวเต็ม 1 หน้ากระดาษ A4

ขั้นตอนการสมัครชิงทุน

• ผู้สมัครส่ง เอกสารข้อมูลประกอบการคัดเลือก มาทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 25 มิ.ย. 2564
ตามที่อยู่ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
เลขที่ 1168/21 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพมหานคร 10120
• คณะกรรมการมูลนิธิฯ คัดเลือกและตรวจสอบเช็คประวัติ
• มูลนิธิฯ ส่งจดหมายแจ้งผลการคัดเลือก และระเบียบปฎิบัติถึงนักศึกษา ผู้ได้รับคัดเลือก

** ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก 9 ทุน ทาง Facebook และเว็บไซต์ ของสมาคมการตลาดฯ วันที่ 16 ก.ค. 2564

 


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Work from Home VS. Human Social Needs

2.6k
SHARE

ด้วยการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงปลายปี 2020 ส่งผลให้เหล่า Office Worker ต้องกลับสู่ภาวะ WFH (Work from Home) กันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ หลายๆ ท่านสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น

ในขณะที่บางท่านบ่นว่า WFH ครั้งแรก ทำให้น้ำหนักขึ้น บางท่านเสีย Work-life Balance เพราะต้องทำงานจนดึกจนดื่น และมีความเครียดมากขึ้น จากการที่ไม่ได้คุยกับคนอื่น เพราะต้องกักตัวอยู่กับบ้าน แต่บางท่านก็ชอบ เพราะมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม บางท่านหันมาสั่งอาหาร Delivery มากขึ้น บางท่านก็ถึงขั้น เริ่มเป็นเชฟมือสมัครเล่นแล้ว

จากการสัมภาษณ์บุคคลทั่วไปจำนวน 500 ตัวอย่าง ผ่านทาง Asia Panel ของกลุ่มบริษัทอินเทจ เพื่อสอบถามว่าคนส่วนใหญ่ รู้สึกอย่างไรกับการ WFH รอบนี้ พบว่า ผู้คนปรับตัวกับการ WFH ในรอบนี้ได้ดีขึ้น บางท่านสามารถปรับจนมี Work-life Harmony ได้ดีกว่าในช่วงที่ผ่านมา

หนึ่งในสามของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ มีความสุขที่ได้ WFH มากกว่า โดยที่ตัวเลขนี้มีความแปรผันกับอายุ เมื่อลงไปดูตามวัย พบว่ากลุ่มเด็กนักศึกษามหาวิทยาลัย มีสัดส่วนที่ไม่ชอบการเรียนออนไลน์สูงกว่า เนื่องจากมองว่า ผู้สอนบางท่านยังไม่มีความเข้าใจในระบบออนไลน์ ทำให้รู้สึกว่า Experience ในการเรียนด้อยลง

 

ความสุขที่ได้รับจากการ WFH

  • ได้ใช้เวลากับคนในครอบครัวมากขึ้น 24%
  • ประหยัดเวลาเดินทาง 20%
  • มีอิสรภาพในการทำงานสูงขึ้น 12%
  • มีสมาธิดีกว่า 9%
  • รู้สึกสะดวกสบายมากกว่า 9%

สิ่งที่ขาดจาก WFH

  • ต้องการพบปะผู้คน 58%
  • อยู่บ้านนานๆ ก็เบื่อ 15%
  • ทำงานไม่สะดวก 12%
  • ขาดการติดต่อกับคนอื่นๆ ไม่ทันข่าวสาร 12%
  • เสียโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น 12%

 

ในทางกลับกัน กลุ่มวัยทำงานมองว่า การได้ WFH ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และ ประหยัดเวลา ในการเดินทางได้เป็นอย่างมาก ทำให้สามารถใช้เวลาที่ได้กลับมานี้ กับงานได้เต็มที่ อีกทั้งยังสามารถแบ่งเวลาเพื่อตัวเองได้ โดยได้ไปออกกำลังกาย หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สบายใจมากกว่า ซึ่งถือว่า เป็น Work-life Harmony

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การ WFH มีความสุข คือ สิ่งที่ทำให้เกิด Efficiency และความสามารถในการจัดสรรเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่น ในขณะที่ สิ่งที่ผู้คนรู้สึกขาดหายไป ก็คือ Human Interaction หรือ Social Needs นั่นเอง

 

 

    ออกจากบ้าน 1-2 วันต่อสัปดาห์
    ครั้งละ 2-5 ชั่วโมง

 

 

การมีเวลาให้กับตัวเองมากขึ้น เป็นหนึ่งในข้อดีของการ WFH โดยที่ 57% ของผู้สัมภาษณ์กล่าวว่า เขาสามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมานี้ โดยที่สามารถทำได้ทุกวัน เป็นระยะเวลาครั้งละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง โดยกิจกรรมออกกำลังกายสุดฮิต คือการวิ่ง Jogging ในบริเวณบ้าน และการออกกำลังกายประเภทโยคะ

อีกทั้ง 35% ของกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ บอกว่าเขาได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา

สาเหตุหลักของการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากคนเหล่านี้มองว่า เขาได้โอกาสในการบริหารเวลาได้ดีขึ้น และเรียนรู้ที่จะควบคุมน้ำหนักดีขึ้นกว่าการ WFH ครั้งที่แล้ว

อีกทั้ง การอยู่บ้าน ทำให้เขาได้มีเวลาตั้งใจหาอาหารที่ดีให้กับตนเอง เมื่อเปรียบเทียบกับตอนทำงานหรือเรียน ที่ต้องเจออาหาร Junk Food ค่อนข้างเยอะ ทำให้คนกลุ่มนี้ตั้งปณิธานในการดูแลตัวเองให้ดีขึ้น เมื่อได้รับโอกาสครั้งใหม่นี้

ถึงแม้การ WFH จะช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และยังทำให้มี Efficiency ได้ดีในระดับหนึ่งแต่ในภาพรวมแล้ว คนส่วนใหญ่ยังคงต้องการที่จะกลับไปทำงานที่ออฟฟิศหรือเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยด้วยปัจจัยหลักๆ ด้านสถานที่ อุปกรณ์การทำงาน การเรียนการสอนที่พร้อมกว่า ระบบอำนวยความสะดวกในที่ทำงาน ที่ทำให้การประสานงานราบรื่นยิ่งขึ้น ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที

Work at Office 47%

ปัจจัยที่ทำให้อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ

  • สามารถพูดคุยปรึกษากับคนอื่นได้ 22%
  • ประสานงานได้ง่ายกว่ามาก 20%
  • มีอุปกรณ์พร้อมมากกว่า 19%
  • สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วกว่า 13%
  • รู้สึกมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า 11%

WFH 14%

ปัจจัยที่ทำให้อยาก WFH

  • มีสมาธิในการทำงานมากกว่า 24%
  • ทำงานได้เพิ่มขึ้น 24%
  • ประหยัดเวลาในการเดินทาง 24%
  • สบายใจมากกว่า 12%
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 10%

Indifference 39%

จากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่า Functional Benefits ของการ WFH จะดีเช่นไร ความต้องการทาง Social Needs ก็จะเป็นจุดผลักดันให้คนอยากมีเวลาที่ออฟฟิศบ้าง

ถ้ามองในด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กร นโยบายการสลับวันเข้าทำงานของพนักงาน อาจเป็นแนวทาง Win-Win ให้ทั้งพนักงานและองค์กร ในการบริหารค่าใช้จ่าย เวลา และประสิทธิภาพการทำงาน

ส่วนในมุมมองการตลาด เห็นได้ชัดว่า ไม่ว่าสินค้าหรือบริการของเราจะดีอย่างไรใน Functional Benefits แต่ถ้าไม่มี Emotional หรือ Social Fulfillment Benefits เลย ก็อาจจะไม่สามารถรักษาลูกค้าให้อยู่กับเรา หรือ รักเดียวใจเดียวกับแบรนด์ของเราได้ยาวนาน

บทความโดย INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

Tags:

ผู้เขียน
INTAGE (Thailand)

INTAGE (Thailand) Co., Ltd.

MAT Clubhouse LIVE
Skill สำคัญ เพื่อ Successful Digital Marketing

2.6k
SHARE

วันนี้ สมาคมการตลาดฯ ได้จัด Clubhouse session เพื่อชวนนักการตลาดมาคุยกันเกี่ยวกับเรื่อง “Skill สำคัญ เพื่อ Successful Digital Marketing” ได้ความรู้ใหม่ๆ มากมายทีเดียว

ก่อนอื่นเลย เราต้องบอกว่า มุมมองที่ถูกต้องของหัวข้อนี้ คือ “Marketing in Digital Era” มากกว่า เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า หัวใจ และหลักการสำคัญของโลกการตลาดไม่เคยเปลี่ยนไป แต่ Digital เข้ามาเป็น Tools ในการช่วยให้ นักการตลาดหรือเจ้าของแบรนด์ สามารถ Connect กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ในทุกๆ จังหวะการตัดสินใจของพวกเขา

ทีนี้ มาเข้าประเด็นกันดีกว่า … จากการคุยกันในคืนนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า ในโลกการตลาดยุคดิจิตอล ที่มี Covid-19 มาช่วยกระตุ้นให้เราต้อง active เป็นทวีคูณ นักการตลาดต้องให้ความสำคัญกับ 13 C ที่ เป็น CORE ของ Marketing in Digital Era ดังนี้

  1. CLEAR PURPOSE แบรนด์ต้องมีจุดยืน รู้ใน value ของตัวเอง และรู้ว่า เราต้องการตอบโจทย์ value ใดให้แก่ลูกค้า
  2. CRACK THE BUSINESS QUESTION เราต้องรู้โจทย์ของธุรกิจ หากเราเข้าใจอย่างถ่องแท้ เราจึงจะสามารถตั้งทิศทางของการตลาดได้อย่างไม่หลงทาง เราต้องตีโจทย์ให้แตก แล้วใช้ digital เป็นเครื่องมือเพื่อพาเราไปสู่จุดหมาย
  3. CUSTOMER CENTRIC ในโลกการตลาด ขอให้เรา “ตั้งต้นที่ลูกค้าเสมอขอให้นึกอยู่เสมอว่า สิ่งที่เราทำอยู่นี้ ตอบโจทย์อะไรให้แก่ลูกค้า แก้ปัญหาให้เขา และทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร นั่นคือสิ่งสำคัญ
  4. CURIOSITY การจะเข้าใจลูกค้า เราต้องมีต่อมเอ๊ะ มีความช่างสงสัย และ Start with why เสมอๆ การจะได้คำตอบที่ชัดเจน เราควรถาม Why 3 ครั้ง “Why they do that?” คำตอบครั้งแรกอาจเป็นแค่ผิวเผิน แต่หากคุณถามถึง 3 ครั้ง คุณจะได้ insight ว่าอะไรเป็นตัวขับเคลื่อนให้เขาทำอย่างนั้น หากเราเป็นแบรนด์เล็กๆ เราก็สามารถหา insight ลูกค้าได้ง่ายๆ ด้วยการเป็นคนช่างสงสัย ลองสังเกตุและใส่ใจในทุกๆคำถามที่ลูกค้าส่งเข้ามา คุณอาจได้ insight สำคัญเอามาทำการตลาดต่อได้ ด้วยการใช้ ตาดู หูฟัง และถามคำถามที่เหมาะสม
  5. CREATE VALUE เมื่อเราเข้าใจ รู้ insight รู้ Value และ pain point ของลูกค้าแล้ว หน้าที่สำคัญของนักการตลาด ไม่ใช่การขายของ แต่คือการมอบคุณค่าให้แก่เขา จำไว้เสมอว่า ลูกค้ายุคนี้ไม่ได้ซื้อแค่สินค้า แต่เขาซื้อ Value หรือ คุณค่า ที่เรามอบให้เขา คนซื้อครีมทาหน้า ไม่ได้ซื้อเพราะแค่อยากได้ครีมที่มีสารสกัด 10 อย่าง แต่เขาอยากได้หน้าขาวใส คุณแม่ไม่ได้ซื้อยางกัดลูกน้อยเพราะมันเหนียว ทน น่ารัก แต่เพราะการกัดยางกัดช่วยเสริมพัฒนาการ
    สังเกตเห็นได้ว่า ลูกค้าซื้อสินค้า เพราะต้องการสิ่งที่มากกว่า functional benefit เสมอ … คุณแค่ต้องหาให้เจอ ว่า Value ที่คุณจะส่งมอบให้ลูกค้าของคุณคืออะไร
  6. CONTEXT & CLARITY หลังจากหา Value เจอ อย่าลืมสื่อสารให้ชัดเจน ตรงประเด็น ตรงใจ ตรงช่องทาง ในโลกยุคนี้ที่การแข่งขันสูง ย้ำอีกที! ว่าอย่ามัวแต่ไปพูดสิ่งที่เราอยากจะขาย แต่ขอให้พูดในสิ่งที่ลูกค้าต้องการฟัง พูดใน value ที่เขาจะได้รับจากสินค้าและบริการของเรา การสื่อสารนั้นมีสองส่วน คือ สื่อ กับ สาร ถ้าสารไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะสื่อผ่านอะไร ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
  7. CUSTOMER JOURNEY & COLLECT DATA แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่า อะไรคือสิ่งที่ ตรงประเด็น ตรงใจ ตรงช่องทาง … ก็ขอให้เราย้อนกลับไปที่ Customer journey ในยุคนี้มี Marketing Funnel ที่สำคัญคือ 5A ของ Philip Kotler คือ Aware – Appeal – Ask – Act – Advocate เราต้องตั้ง objective ที่ชัดเจน ว่าตอนนี้ brand ของเราอยู่ใน stage ไหน เราต้องการให้แคมเปญการตลาดบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และเราจะทำการตลาดในรูปแบบไหนให้บรรลุผลในแต่ละ objective … จะทำเช่นนั้นได้ หากเราเก็บข้อมูลที่มากพอ เราจะสามารถวิเคราะห์ profile ของลูกค้าเราในแต่ละ stage ได้เลย ซึ่งในยุคนี้ ก็มี tools มากมาย ที่จะมาเป็นผู้ช่วยให้แก่เราตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลใน excel เอง ไปจนถึงการใช้เครื่องมืออย่าง Facebook Analytic, Pointillist, ConnectX CDP & Marketing Automation, Analytist, ฯลฯ อีกมากมาย
  8. COMPETENCY เมื่อเรามีข้อมูลแล้ว เราต้องมี Competency ในการอ่านข้อมูลเหล่านั้นด้วย ในยุคนี้ Big Data ไม่สำคัญเท่า Meaningful Data การจะเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์นำมาใช้ได้ เราต้องรู้จักตั้ง Objective ว่าเราต้องการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ทำอะไร ให้อ่านข้อมูลเพื่อเข้าใจวิธีคิดของลูกค้าและศึกษาให้เห็น journey การตัดสินใจของพวกเขาผ่านช่องทางต่างๆ เมื่อเราเข้าใจเราจึงจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลและนำมาออกแบบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าได้
  9. CRM เมื่อเรามีข้อมูลลูกค้าแล้ว ส่วนสำคัญที่ละเลยไม่ได้ คือการทำ CRM  สิ่งนี้สำคัญมากๆ เพราะการรักษาลูกค้าเก่า หรือการเพิ่มยอดขายในกลุ่มลูกค้าที่รักเราทำง่าย และใช้งบประมาณต่ำกว่าการหาลูกค้าใหม่ๆตลอดเวลา การทำ CRM ไม่ใช่แค่การ keep connect กับเขาแต่เราต้องสร้างสรร และเสนอ value ที่ตรงใจ ให้เขารัก และอยู่กับเราไปนานๆ Ultimate goal ของการตลาดยุคนี้ ไม่ใช่แค่การให้ลูกค้ามาซื้อซ้ำ แต่คือการเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็น Brand Advocator ให้แก่เรา หากคุณสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีความรักในแบรนด์จนถึงขั้นเป็นสาวกของแบรนด์ได้ คุณจะมีแหล่งการตลาดและนักการสื่อสารชั้นดีหนุนหลังให้อุ่นใจเลย
  10. CX IN ACTION คือ Customer Experience in Action ซึ่งมี 3 ข้อหลัก คือ Informative ตลอดเส้นทางต้องมีข้อมูลพร้อมให้หาได้ + Interactive สามารถตอบโต้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ + Immersive คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้ ให้เกิดประสบการณ์เสมือนจริง ให้ลูกค้าได้สัมผัสกับประสบการณ์ของแบรนด์อย่างเต็มที่
  11. CHANGE & COURAGE เทคโนโลยีในโลกยุคใหม่มาขับเคลื่อนให้โลกการตลาดเกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นักการตลาด หรือคนทำธุรกิจยุคนี้ต้องไว ต้องทันโลก ทันความเปลี่ยนแปลง ต้องรู้จักปรับตัว และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ต้องกล้าที่จะเปลี่ยน กล้าที่จะก้าวออกจาก comfort zone เดิมๆ “รู้อะไร ไม่สู้ รู้แล้วไม่ได้ทำ”
  12. CREATIVE MIND เมื่อโลกการตลาดยุคใหม่มีความเปลี่ยนแปลงสูง นอกจากความกล้าที่จะเปลี่ยน เรายังต้องมีความสร้างสรรค์ที่จะปรับด้วย นักการตลาดยุคนี้ต้องไม่หยุดคิดอย่างสร้างสรรค์
  13. CARE ในโลกยุคดิจิตอล อะไรๆ ก็เร็ว อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ นักการตลาดในโลกยุคใหม่ ควรให้ความสำคัญกับ C ตัวสุดท้ายนี้ให้มาก แบรนด์ในโลกยุคดิจิตอลต้องมีความห่วงใย มีความจริงใจ มีความรับผิดชอบต่อการกระทำ และ ที่สำคัญ นักการตลาดเองก็ต้องมี Social Skill ในการควบคุมตนเองด้วย เราอยู่ในยุคที่ Digital เป็นเครื่องมือในการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อให้เราข้ามไปถึงใจของลูกค้า หรือเป็นเครื่องมือในการสร้างกำแพงกั้นระหว่างเรากับลูกค้าก็ได้เช่นกัน ในยุคนี้ แค่ของคุณภาพดีมันไม่พออีกต่อไป เราอยู่ในยุคที่คนให้ความสำคัญกับ value มากๆ อย่าละเลยในเรื่องของ brand integrity & sustainability สุดท้าย สิ่งนี้จะทำให้แบรนด์ของเราอยู่ยงคงกระพันในโลกธุรกิจ

ในคอร์ส Digital Marketing In Action ของ สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เราจะมาสอนตั้งแต่แนวคิดการตลาดยุคใหม่ไปจนถึงการลงมือทำใน หลากหลายประเด็นน่าสนใจ

  • เข้าใจภาพความเปลี่ยนแปลง ทั้งในมุมของ tools & insight
  • เห็นความต่างของ Big data และ Meaningful Data
  • Updateตัวเองเรื่องการวางกลุทธ์และแผนการตลาดในโลกยุคดิจิตอล
  • รู้ความเปลี่ยนแปลงของ media landscape ที่จะนำไปสู่ On Life Media Strategy
  • ไปจนถึงการวัดผลให้เห็น return of investment

ที่สำคัญ ตลอดการเรียน 8 วัน ทุกท่านจะได้เรียนแบบ Workshop Based “เรียนหลักการที่สำคัญ เอามาวางแผนจริง ลงมือทำจริง พร้อมรับคำปรึกษาจากวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในสายงานนั้น”

เปิดรับสมัครแล้ววันนี้! เริ่ม 6 มีนาคม 2564 ดูรายละเอียดหลักสูตร


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

คุณทำการตลาดด้วย
Marketing Strategy หรือ Tactic ?

2.6k
SHARE
  • ถ้าคุณต้องการให้การตลาดมี impact สูงสุด คุณต้องต้องแยกความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ได้คือ Market Strategy และ Tactics โดยเฉพาะผู้บริหารที่ต้องกำหนดทิศทางให้กับทีมงาน
  • การตั้งเป้าหมายนั้นง่าย แต่การหาวิธีไปถึงเป้าหมายคือสิ่งที่ยากและสำคัญกว่ามาก
  • Market Strategy คือการหาวิธีการที่ดีที่สุด ที่คุณจะชนะในเกมส์การตลาดได้ตามเป้าหมายของคุณ ส่วน Tactics นั้นคือ ยุทธวิธีหรือแผนปฏิบัติการย่อยที่ทำเพื่อสนับสนุน Market strategy นั่นเอง
  • ปัญหาส่วนใหญ่ที่เจอ คือ นักการตลาดคิด tactics เยอะมาก แต่ไม่มี Market Strategy เลย ทำให้ทุกคนทำงานคนละทิศคนละทาง ทุ่มเททรัพยากรแบบไร้จุดหมาย ซึ่งเป็นกับดักที่เจอบ่อยสุดในงานการตลาด

จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาด้านการตลาด และชอบสังเกตงานการตลาดมากมายในประเทศไทย พบว่าปัญหาคลาสสิคที่ทำให้แผนการตลาดไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรคือ การมี Market Strategy และ Tactics ที่ไม่แข็งแรง เช่น

  • มีสินค้าใหม่ออก เราควรมีออนไลน์เคมเปญ?
  • อยากทำ Online application ให้ลูกค้า เพราะว่าใครก็ทำ Digital Marketing ในตอนนี้
  • อยากเพิ่มยอดขาย เราต้องเพิ่มสาขาและโฆษณาให้มากขึ้น

ตัวอย่างเหล่านี้เราเริ่มการตลาดด้วยการวาง Tactics คือตอบคำถามว่าทำอะไร แต่ไม่ได้เริ่มด้วย Strategy คือทำไมต้องทำ ?

วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันใหม่ดีกว่าโดยเฉพาะผู้บริหาร ถ้าคุณเข้าใจสองสิ่งนี้ คุณจะมีแผนการตลาดที่ทรงพลังขึ้นมากเลย ทุกครั้งที่ทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นงานชิ้นเล็ก ถึงงานชิ้นใหญ่ ให้ถามตัวเองใน 3 สิ่งต่อไปนี้ คือ Goal / Strategy / Tactics ของเราคืออะไรกันแน่ ?

Goal / Strategy/ Tactics ทีนี้มาคุยทีละขั้นตอนกันนะคะ
1. Goal เป้าหมายการตลาด

นักการตลาดต้องวางแผนชัดเจนว่า เป้าหมายทางการตลาดของเราคืออะไร

  • ถ้าเป้าหมายไม่ชัด เหมือนกันเราไม่รู้จะเดินไปไหนกันแน่ แล้วก็เดินไม่ถึงซักที เรื่องนี้ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่เชื่อไหมพลาดทุกที เพราะเป้าหมายไม่ชัดเจนนี่แหละ คือจุดอ่อน อันแรกของแผนเลย
  • เป้าหมายที่เจอบ่อยๆคือ การเพิ่มยอดขาย แต่เป้าหมายแค่นี้เรียกว่ายังไม่ชัดเจนนะคะ เพราะไม่ได้ระบุว่ายอดขายจากไหน? ยอดขายมาจากกลุ่มเป้าหมายใด? เช่น ถ้าคุณเป็น Website ขายเสื้อผ้า วิธีการในเพิ่มยอดขายได้ มีได้ทั้งจากลูกค้าประจำ ลูกค้าที่หายไปนานแล้ว ลูกค้าคู่แข่ง หรือ คนที่ไม่เคยซื้อของคุณเลย ทั้งหมดนี้มี insight และวิธีการที่ต่างกันในการทำตลาด ดังนั้นคุณต้องวางเป้าหมายให้ชัดที่สุดก่อน
2. Strategy กลยุทธ์การตลาด

การตั้งเป้าหมายนั้นง่าย แต่ไปให้ถึงนั้นยาก ดังนั้นการมีกลยุทธ์คือการวางแผนให้คุณชนะตลาด แบบใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด แต่ได้ผลลัพธ์สูงสุด
ส่วนนี้แหละ ที่นักการตลาดส่วนใหญ่มักจะข้ามไป หรือเข้าใจผิดกันเยอะ อาจจะเป็นเพราะการให้เรียนและความรู้ส่วนใหญ่ มุ่งเน้นเรื่องเครื่องมือการตลาดต่างๆ สิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า Tactics ซึ่งทุกคนจะนึกถึงง่ายกว่า เพราะจับต้องได้

แต่ Market Strategy ต้องมาจากการวิเคราะห์ตลาดอย่างลึกซึ้งก่อน เพื่อหาวิธีชนะตลาดตามเป้าหมายของคุณ

ทำไมต้องมี Market Strategy?

2.1) คุณรู้วิธีชนะ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงแข่ง:

เพราะก่อนวาง Market Strategy คุณต้องผ่านการวิเคราะห์ 3 สิ่งต่อไปนี้มาแล้ว และเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง นั่นก็คือ

    • Consumer Blackbox เข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง = โอกาสของธุรกิจ
    • Our Core Competency จุดแข็ง จุดอ่อนของแบรนด์คุณ ในมุมมองของลูกค้าคุณ = เพื่อสร้าง Profitable Growth ได้
    • Competitive Landscape การเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่งขันในสายตาลูกค้าคู่แข่ง = เพื่อหาวิธีชนะคู่แข่งอย่างมีกลยุทธ์

ดังนั้นถ้าคุณได้วิเคราะห์ตลาดมาแล้ว คุณก็จะเห็นวิธีการชนะ ตั้งแต่ยังไม่ลงสนามรบเลย ดีกว่าไปตายเอาดาบหน้า แล้วทุ่มงบการตลาดเรื่อยๆแบบไร้เป้าหมาย

2.2) คุณจะได้ประสิทธิภาพและผลลัพธ์สูงสุด (1+1= 10)

เพราะกลยุทธ์คือเส้นทางที่ดีที่สุด ที่ทำให้คุณ ไปถึงเป้าหมายการตลาด โดยหลักการ Low resources, high impact คุณได้เลือกเส้นที่ใช้แรงน้อยสุด แต่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดเพราะในโลกความเป็นจริงทรัพยากรของคุณต้องมีจำกัด (คน เงิน เวลา)

2.3) ทีมงานทำงานไปในทางเดียวกัน

กลยุทธ์คือเข็มทิศของผู้บริหารและทีมงาน ที่คอยช่วยกำหนดทิศทางการทำงานให้กับคนทำงานไปในทางเดียวกันเพื่อรวมพลัง ลองนึกตัวอย่างดู สมมุติถ้าทีมงานทุกคนตั้งใจทำงานมาก ทำงานเก่ง แต่ทำงานคนละทิศ ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร? ไม่ต่างกับช่วยกันพายเรือ แต่พายคนละทิศ = การอยู่ที่เดิม

อีกตัวอย่างเช่น คุณซึ่งเป็นผู้บริหาร บอกให้ทีมเพิ่มยอดขายในตลาดพรีเมี่ยม อีก 3 เท่า ทีมคุณจะทำอย่างไร? กลยุทธ์จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางของทั้งทีมงานไม่ให้เดินสะเปะสะปะ และชนะได้เร็วที่สุด

วิธีการหา กลยุทธ์ มีแนวทางเบื้องต้นดังนี้ :

นักการตลาดต้องวิเคราะห์ 3 ประเด็นนี้ (การทำmarket research ช่วยเจาะลึกหา insight เหล่านี้ได้) แล้วมองหา Winning Zone ของคุณให้ได้ นั่นคือจุดที่ลูกค้าต้องการ แต่คู่แข่งตอบสนองไม่ได้ และแบรนด์คุณเป็นคนแรกที่นำเสนอ

กรณีศึกษา :
SMEG ท่ามกลางเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แข่งดุ ส่วนใหญ่ก็จะแข่งกันที่เทคโนโลยีหรือ Features ต่างๆมากมาย แต่ยี่ห้อ SMEG เลือกที่มีจุดยืนที่แตกต่าง คือ “Technology with style” ดังนั้นแบรนด์นี้ค่อนข้างชัดเจนกว่าเกิดมาเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เน้นการออกแบบและดีไซน์ ดังนั้นในแง่ Tactics เมื่อ SMEG มีโฆษณาตู้เย็น คุณจะเห็นความเก๋ ของตู้เย็น ว่าทำให้บ้านคุณสวยมีสไตส์ขนาดไหน แน่นอนคุณอาจจะไม่เคยเห็นช่องวางไข่หรือที่เก็บผักในโฆษณาเลย (เหมือนที่โฆษณาตู้เย็นส่วนใหญ่ทำ) เพราะนั่นไม่ใช่ Winning Strategy ของ SMEG ลองดูโฆษณาจากลิ้งนี้ https://youtu.be/XvIT6tmAJMw แล้วคุณจะเข้าใจมากขึ้น

ร้านหยกสด
เกิดมาท่ามกลางการแข่งขันของร้านขนมไทย ที่มีอยู่มากมาย แต่ Marketing Strategy ของร้านที่ชัดเจน คือ “ความเป็นขนมไทยใบเตยแท้ 100%” การมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน ทำให้ลูกค้ามีเหตุผลว่าทำไมต้องซื้อร้านนี้ และทำให้ทีมงานมีทิศทางการทำงานด้วย เช่น รู้ว่าต้องผลิตสินค้าที่เน้นใบเตย เวลาสื่อสารก็เน้นความเขียวและธรรมชาติของใบเตย

เห็นไหมคะว่าทุกอย่างมีทิศทาง เมื่อมีกลยุทธ์ที่ชัดเจน แล้วคุณละ Marketing Strategy ของคุณ ที่สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าต้องซื้อของคุณคืออะไร ? อันนี้เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด จริงไหมคะ ?

จริงๆแล้ว strategy ยังมีแยกย่อยได้อีกหลายแบบนะคะ เช่น Product Strategy, Communication Strategy, Brand Strategy, Innovation Strategy, Experience Design Strategy เป็นต้น แต่ใช้แนวคิด Winning Zone นี้ไปประยุกต์ใช้ได้

3. Tactics ยุทธวิธี

คือ แผนปฏิบัติการย่อยซึ่งอาจมีหลากหลายวิธีเพื่อให้ Market Strategy นั้นเป็นจริงได้ งานส่วนนี้มีได้หลายวิธี นั่นคือพวก marketing tools ทั้งหมด เช่น ทำโฆษณา social media การทำ website การใช้เซลล์ออกไปขาย การทำแคตตาล็อก การทำ PR การทำกิจกรรมการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นถ้าคุณเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ คุณต้องแม่นส่วนนี้มากๆ เพราะคุณต้องเข้าใจแต่ละเครื่องมืออย่างลึกซึ้ง เพื่อผลักดันกลยุทธ์ให้เป็นจริงได้

ดังนั้นขอสรุปให้เห็นภาพว่า Market Strategy และ Tactics ต่างกันยังไง นะคะ

  • Strategy คือการมองไปข้างหน้า มองว่าจุดที่ทำให้เราชนะคืออะไร จึงสำคัญมากๆสำหรับผู้บริหาร ถ้าไม่มี Strategy ต่อให้ทีมงานระดับปฎิบัติการทุ่มเทแค่ไหน ก็อาจไม่ได้ชนะตลาดจริง ส่วน Tactics ก็สำคัญเช่นกันตรงที่คนทำงานต้องเข้าใจเครื่องมือและทำแผนปฎิบัติการย่อยที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้กลยุทธ์เป็นจริงได้
  • ดังนั้น Strategy จึงต้องตอบคำถามเกี่ยวกับ WHY ให้ได้ คือ ทำไมลูกค้าต้องซื้อของเรา? ส่วน Tactics คือตอบคำถามเกี่ยว What? และ How ? นั่นก็คือเราจะมีแผนปฎิบัติงานอย่างไร ? โฆษณาช่องทางไหนบ้าง จะใช้สื่อใด เป็นต้น ดังนั้นผู้บริหารและคนทำงาน ต้องแบ่งหน้าที่กันให้ชัดนะคะ
  • อีกประเด็นค่ะ Strategy จะอยู่ได้ยาวนาน เพราะมองถึงอนาคต ส่วน Tactics จะเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามสถานการณ์ในขณะนั้น เช่น ก่อนหน้านี้การเข้าถึง Gen Z คุณอาจจะเข้าถึงด้วย Facebook จนหลังคนกลุ่มนี้เข้ามาใช้ IG และ Tiktok คุณก็เปลี่ยนช่องทางตามสถานการณ์ปัจจุบัน

การทำการตลาดแบบไม่มีกลยุทธ์ขอให้นึกถึงภาพนี้นะคะ

Without Strategy, Execution is Aimless

Ineffective planning brings ineffective return on investment

ดังนั้นต่อไปนี้ เวลานักการตลาดวางแผนงานทุกครั้งขอให้ลองถามตัวเองเรื่องนี้ก่อนนะคะ ว่ามี Goal/ Strategy/ Tactics ที่แข็งแรงแล้วไม่ ? เพื่อให้คุณทำตลาดแบบ low resources, highest impact


ผู้เขียน
คุณบังอร สุวรรณมงคล

CEO and Founder – Hummingbirds Consulting

https://www.facebook.com/HummingbirdsConsultingTH

Social Commerce:
Where Thais spend their e-money

2.6k
SHARE

KEY FOCUS

ความสำคัญของ Social Commerce และกลยุทธ์ในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ SME ออนไลน์ ประกอบด้วยด้วยหลัก 5 C

Core Focus: หาจุดแข็ง และ เน้นการสื่อสาร
Content Marketing: สร้างเนื้อหาที่ “โดนใจ”
Community Building: ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีส่วนร่วม เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์
Channels: เพิ่มช่องทางการขายในหลากหลาย platform
CRM: เก็บข้อมูล และ บริหารฐานลูกค้า

กำลังซื้อของไทยในโลกยุคใหม่อยู่ที่ไหน
โดย คุณธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO & Co-founder, Priceza / นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ไทย

จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายผ่านสื่อออนไลน์ (e-spending) ของคนไทย อยู่ที่ 2% ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด ซึ่งนับเป็นจำนวนที่น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ที่มี e-spending อยู่ที่ 24% อย่างไรก็ตาม ตลาดออนไลน์ (e-commerce) ของไทยยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก เพราะคนไทยมีสถิติการใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ยที่ 9 ชั่วโมงต่อวัน โดยสื่อโซเชียลมีเดียเป็นอันดับแรกที่คนไทยใช้เวลาด้วยมากที่สุด (แบ่งเป็น Facebook 42%, Line 34%, Instagram 19%) เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อมูลการช็อปปิ้งออนไลน์ที่อยู่ที่ e-marketplace 47%, social media 38% และ ร้านค้าปลีกออนไลน์ (e-retail) 15% ก็จะเห็นได้ว่าสื่อโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางการซื้อขายที่มีศักยภาพน่าสนใจมากในปัจจุบัน

การซื้อสินค้า-บริการทางออนไลน์ของผู้บริโภคชาวไทย เกิดจาก 3 พฤติกรรมหลัก คือ

1. การค้นหา (Search-led) (35%) – เมื่อผู้บริโภคต้องการสินค้าประเภทใด ก็จะเข้ามาค้นหาข้อมูลของสินค้านั้นๆ ผ่านทาง search engine หรือ โซเชียลมีเดีย
2. การค้นพบใหม่ (Discovery) (53%) – ผู้บริโภคไม่ได้มีความต้องการในสินค้าชนิดใดเป็นพิเศษ แต่เมื่อเข้ามาท่องในโลกโซเชียลมีเดียและพบสินค้าและบริการ จึงเกิดความต้องการตามมา
3. อื่นๆ 12%

ประเด็นที่น่าสนใจคือ การค้นพบใหม่ (Discovery) มีสัดส่วนมากที่สุดในพฤติกรรมการช็อปปิ้งออนไลน์ของคนไทย โดยการค้นพบใหม่เกิดจากการใช้เวลาในโซเชียลมีเดียคือ Facebook, Facebook Live, TikTok, Instagram, Line และ Youtube ดังนั้นจึงอาจตีความได้ว่า ยิ่งผู้บริโภคใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเท่าไร แนวโน้มที่พวกเขาจะจับจ่ายผ่านทางโซเชียลมีเดียก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น (แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีความต้องการในสินค้าและบริการชนิดนั้นๆ ตั้งแต่แรกก็ตาม) โดยตามข้อมูล ผู้บริโภคชาวไทยที่ซื้อของผ่านโซเชียลมีเดียนั้นมีอยู่ถึง 40% ซึ่งนับเป็นค่าเฉลี่ยที่มากที่สุดของโลก

สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมการช็อปปิ้งผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย แบ่งออกเป็น 3 ข้อ คือ

1. ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแอดมินเพจ ให้ความรู้สึกคุ้นเคยเหมือนการไปเดินห้างสรรพสินค้าและปรึกษาข้อมูลจากพนักงานโดยตรง แตกต่างจากการซื้อขายทาง e-marketplace (เช่น Lazada, Shopee) ที่การสื่อสารเป็นไปได้ยากกว่า
2. ผู้บริโภคชาวไทยนิยมการต่อรองราคา ซึ่งสามารถเป็นไปได้มากกว่าเมื่อซื้อผ่านโซเชียลมีเดีย
3. ผู้บริโภคต้องการการตอบรับบริการที่รวดเร็วทันใจ

ดังนั้นหากผู้ขายต้องการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าและบริการ ปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การบริการจากแอดมินเพจที่รวดเร็วทันใจและตอบข้อสงสัยของผู้บริโภคได้อย่างกระจ่าง

นอกจากนั้น หากต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ SME ออนไลน์ ก็ยังมีหลัก 5C คือ

1. Core Focus – หาจุดแข็งของสินค้าและบริการให้พบ และเน้นการสื่อสารในประเด็นนี้
2. Content Marketing – สร้างเนื้อหาในการสื่อสารที่ “โดนใจ” ผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้บริโภคบางกลุ่มนั้น มองการสื่อสารในโซเชียลมีเดียเป็นความบันเทิง (Entertainment) ซึ่งเมื่อไรที่ผู้บริโภครู้สึกชื่นชอบในเนื้อหานั้นๆ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อ
3. Community Building – แบรนด์จำเป็นต้องสร้างฐานกลุ่มลูกค้าของตัวเอง เพื่อให้เกิดการติดตามและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ
4. Channels – แบรนด์ต้องกระจายการขายในหลากหลายช่องทางของออนไลน์ ไม่ควรฝากธุรกิจไว้ใน platform ใดเพียงอย่างเดียว
5. CRM – แบรนด์ต้องเก็บข้อมูลของลูกค้า บริหารฐานลูกค้า เพื่อใช้ในอนาคตต่อไป เพราะข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมากในการตลาดปัจจุบัน

ท้ายสุด โซเชียลมีเดียกำลังปรับตัวเพื่อเป็น e-marketplace มากขึ้น เห็นได้จากการพัฒนาช่องทางการจ่ายเงินที่รวดเร็วและปลอดภัย เช่น Facebook Pay รวมทั้งมีการวางแผนพัฒนาในเรื่องการขนส่งสินค้า เพื่อที่ในอนาคตโซเชียลมีเดียจะได้ควบคุมการขายได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

 


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

Consumers: The Real Mutants

2.6k
SHARE

KEY FOCUS

เรากำลังก้าวสู่ยุค “NEW Normal to NOW to NEXT Normal Consumers” ซึ่งความเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่น แบ่งเป็น 6 หัวข้อตามชื่อ M-U-T-A-N-T ดังนี้
.
M: Mindful Selection มีสติในการเลือกสินค้า และบริการ
U : User-Generated Meme & Content ผู้บริโภคคือคนสร้างมีมและคอนเท้นต์
T : Transparency, Traceable Process ความโปร่งใส ตรวจสอบได้
A : Authentic Identity การสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง
N : New-Old Normal Needs (Back to Basic Needs) กลับคืนสู่สามัญ
T : Trustmark vs Trademark คำมั่นสัญญา และเครื่องหมายการค้า

องค์กรควรทำอย่างไร เมื่อลูกค้ากลายพันธุ์

สรุปเนื้อหาจากเวทีชวนคิด ณ งาน Marketing Day 2020 โดย ดร. ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO & MD Intage Thailand คุณบังอร สุวรรณมงคล CEO & Founder Hummingbirds Consulting และคุณขนิษฐา ตั้งวรพจน์วิธาน Consultant & Chief Strategist Cheevamitr SE

ในช่วงขวบปีจากวิกฤตโควิด คำถามที่ตามมาคือ ลูกค้าได้กลายพันธุ์ไปเป็นอื่นเหรอเปล่า แต่เมื่อพิจารณาดูความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ดร. ดั่งใจถวิลพบว่า มนุษย์ยังมีความต้องการเหมือนเดิม ได้แก่ สะดวก (Saduak), สบาย (Sabai), สนุก (Sanuk), ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ (Spiritual) และรอยยิ้ม (Smile) ทั้งหมดคือ Unconscious S Values

แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ บริบท (Context) ซึ่งโควิดก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิต เช่น จ่ายน้อยแต่ได้มาก (Spend Less for More) ลูกค้าคิดมากขึ้นก่อนซื้อ, การดูแลตัวเอง (Self-Caring) การดูแลสุขอนามัยจะมีมากขึ้นต่อจากนี้ไป, การเชื่อมต่อกับสังคม (Social Connection) โดยเฉพาะกับสังคมออนไลน์ที่กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่, การเปลี่ยนแปลงตนเอง (Self-Empowerment) รู้จักการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเองให้มากขึ้น และ การช่วยเหลือสังคม (Social Contribution) ที่ทุกคนทุกระดับสามารถมอบโอกาสดี ๆ กลับคืนสู่สังคมได้ และนี่คือ Conscious New S Values ที่สื่อให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนในยุคนี้ที่กำลังปรับพฤติกรรมตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป จาก NEW Normal to NOW to NEXT Normal Consumers โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 หัวข้อตามชื่อ M-U-T-A-N-T ดังนี้

M: Mindful Selection มีสติในการเลือกสินค้า และบริการ

คุณขนิษฐา กล่าวว่า “สิ่งที่นักการตลาดจะต้องเน้นคือความมีสติ และคุณธรรมในการทำธุรกิจ” มันคือการส่งต่อคุณค่าของแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภค เพราะลูกค้าในวันนี้ไม่ได้ต้องการเพียงแค่ Better Me ดีกับฉัน แต่คำนึงถึง Better Society ดีต่อสังคม และ Better Planet ดีต่อโลกใบนี้ด้วย ด้วยเหตุนี้องค์กรจำเป็นต้องกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า องค์กร และ/หรือแบรนด์ของคุณมีความหมายกับลูกค้า สังคม และโลกอย่างไร สร้างประโยชน์ให้กับผู้บริโภคด้านไหน หรือเข้าไปช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับคน และสังคมอย่างไร ซึ่งนั่นคือการเติบโตอย่างยั่งยืน มากกว่าการชี้วัดผลกำไรที่เป็นตัวเลขต่อปีเท่านั้น เช่น แบรนด์ TINDER แอป ฯ หาคู่ ออกแคมเปญ “หยุดเจอกันในช่วงโควิด” เพื่อความปลอดภัย ทั้ง ๆ ที่เป็นแอป ฯ หาคู่ เป็นการออกแคมเปญที่สวนทางกับเป้าหมายหลักขององค์กร หรือท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต กับตลาดจริงใจ ในการเสนอเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเกษตรกร และชุมชน เพื่อช่วยเกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า และมีตลาดขายปลีกที่ส่งตรงถึงผู้บริโภค เป็นต้น

U : User-Generated Meme & Content ผู้บริโภคคือคนสร้างมีมและคอนเท้นต์

คุณบังอร กล่าวว่า “เทรนด์ปัจจุบันคือการสร้างมีมที่มาในรูปแบบของภาพ มุกตลก คลิป ฯลฯ ที่เข้าถึงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (หรือทั้งหมด) บนสังคมออนไลน์” สาเหตุที่มีมมีความสำคัญเพราะมีมเป็นตัวสร้างวัฒนธรรมในโลกอินเทอร์เน็ต ทำให้เราอยู่ในสังคมออนไลน์ได้อย่างเป็นพวกเดียวกัน นักการตลาดที่สร้างมีมเป็นจะช่วยให้เกิดการกระจายข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว เช่น วลี “ส้มหยุด” ที่ทำให้คุณสิตางค์ บัวทอง มีชื่อเสียงโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน และถ้ามีมนั้นสามารถเข้าถึงจิตใจผู้คนด้วยแล้ว (Strong Emotional Connection) มันจะกระตุ้นให้ผู้รับสารกลายเป็นผู้ส่งสารแชร์ข้อมูลข่าวสารต่อเป็นทอด ๆ และนี่คือความทรงพลังของมีม

เคล็ดลับการสร้างมีมให้โดนใจคือ
1) มีอารมณ์ขัน (Humor) เพราะคนไทยชอบฮา
2) เข้าใจง่าย (Easy & Simple) และเข้าถึงง่าย
3) โดนใจกลุ่มเป้าหมาย (Relevant to Target) นั่นหมายถึงเราต้องรู้ใจกลุ่มเป้าหมายของเรา
4) ต้องเสริมพลังและสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ (Enhance Your Brand) ไม่ใช่ทำดีหมดแล้ว
แต่ลูกค้าจำชื่อแบรนด์เราไม่ได้ เช่น กล้อง gopro กับการเปิดตัวครั้งแรกโดยใช้นักผจญภัย และนักกีฬา ทำหน้าที่รีวิวผลิตภัณฑ์ มีมที่ออกมากลายเป็นตัวกระตุ้นให้คนทั่วไปอยากเป็นเจ้าของกล้องทันที หรือหม้อทอดไร้น้ำมันกับวิธีการทำหมูกรอบที่ผู้บริโภคแต่ละรายต่างรีวิวสรรพคุณหม้อทอดไร้น้ำมันของตน จนทำให้เกิดกระแสการซื้อหม้อทอดไร้น้ำมันอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด นั่นหมายถึงพลังของการทำการตลาดที่ทำให้ ผู้บริโภคกลายเป็นนักโฆษณาให้กับแบรนด์เราได้ (Customer = Best Advertising)

T : Transparency, Traceable Process ความโปร่งใส ตรวจสอบได้

คุณขนิษฐา กล่าวว่า “เวลาพูดถึงความโปร่งใส เรามักนึกถึง Traceability ที่กระบวนการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงต้นน้ำ ว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบมาจากที่ไหน กลางน้ำ กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลายน้ำ ในรูปแบบการจัดจำหน่าย การขนส่งไปสู่ผู้บริโภค” เพราะลูกค้าในวันนี้ไม่ได้บริโภคเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องการมีส่วนร่วมในการ Contribute ให้กับสังคม เช่น การซื้อเสื้อหนึ่งตัวเพื่อสวมใส่ ผู้บริโภคบางกลุ่มก็อยากจะรู้ว่า เสื้อตัวนี้ผลิตจากชุมชนใด ใครเป็นคนตัดเย็บ มีกระบวนการทอผ้าอย่างไร และรายได้บางส่วนของเสื้อส่งต่อกลับไปยังชุมชนอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ “ความจริงใจ” จากแบรนด์คือสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการหา เช่น “สวนบ้านแม่” กับการจำหน่ายมังคุดที่บอกเล่าเรื่องราวของน้ำหนักก่อนส่ง และสาเหตุของน้ำหนักที่หายไปประมาณ 4-5 ขีดจากน้ำหนัก 10 กิโลกรัมก่อนถึงมือผู้บริโภค เพราะการคายน้ำของมังคุดระหว่างขนส่ง ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และช่วยคลายข้อสงสัยเรื่องน้ำหนักที่หายไป “สวนบ้านแม่” เป็นเพจการซื้อขายออนไลน์ที่เกษตรกรขายสินค้าหมดภายในระยะเวลาอันสั้น จากเครดิตความจริงใจ ความโปร่งใสที่แบรนด์ส่งมอบไปยังผู้บริโภค

A : Authentic Identity การสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่าง

คุณบังอร กล่าวว่า “ก่อนที่เราจะครองส่วนแบ่งทางการตลาด เราครอง Mind Share ที่เข้าไปนั่งในจิตใจของผู้บริโภคแล้วหรือยัง” เพราะ Mind Share จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าของคุณ ดังนั้น การสร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ เช่น ร้านขนมไทย “หยกสด” ที่ชู “ใบเตย 100%” ส่วนผสมของขนมไทยมาเป็นจุดขายภายใต้แบรนด์ทั้งหมด ดังนั้นขนมไทยที่วางขายก็จะคัดเลือกเฉพาะขนมไทยที่มีใบเตยเป็นส่วนผสมเท่านั้น ส่งผลให้การสื่อสารทางการตลาดมีเอกลักษณ์ชัดเจนแตกต่างจากร้านขนมไทยทั่วไป

วิธีสร้าง Authentic Identity ที่แตกต่าง มี 3 ส่วนคือ
1) ต้องเข้าใจลูกค้าก่อน (Our Customers’ Needs) ว่าลูกค้าต้องการอะไร มีพฤติกรรมใดที่เปลี่ยนแปลงหรือไม่
2) รู้จักตัวเองดีพอหรือยัง (Our Core Competencies) จุดแข็งของแบรนด์อยู่ที่มุมมองของลูกค้าว่าทำไมเขาถึงซื้อแบรนด์เรา
3) ต้องรู้จักคู่แข่งขัน (Our Competitors’ Strengths) ว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร อย่าลืมว่าการทำธุรกิจสมัยนี้ห้ามมองคู่แข่งในกลุ่มสินค้า และบริการประเภทเดียวกันเท่านั้น แต่จะต้องเปิดหูเปิดตาให้กว้างขึ้น เช่น ถ้าคุณทำธุรกิจประกันภัย คู่แข่งของคุณไม่ได้อยู่ในธุรกิจเดียวกันเท่านั้น เพราะ Facebook ก็มีแนวโน้มในการทำธุรกิจประกันภัย เป็นต้น

รูปแบบของการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ
1) Dump Zone แบรนด์แข่งขันในจุดที่ลูกค้าเองก็ยังไม่รู้ว่าแข่งกันตรงไหน
2) Losing Zone คู่แข่งมีจุดแข็งที่เหนือกว่าเรา ต่อให้แบรนด์มีงบประมาณมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถเอาชนะได้
3) Danger Zone การแข่งขันในจุดที่แบรนด์เรา และคู่แข่งเสมอกัน ขาดความแตกต่าง
4) Winning Zone การที่แบรนด์มีความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ สามารถทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ เช่น บังฮาซัน กับวิธีการขายอาหารทะเลตากแห้งที่มีเอกลักษณ์ด้านการขาย ทั้งในเรื่องภาษาถิ่น จังหวะในการพูด รูปแบบการขายด้วยน้ำเสียงหนักทุ้มที่ดังผ่านเฟซบุ๊คไลฟ์ นั่นคือเอกลักษณ์ด้านการสื่อสร้างที่สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์

N : New-Old Normal Needs (Back to Basic Needs) กลับคืนสู่สามัญ

คุณขนิษฐา กล่าวว่า “บางครั้งเราก็อยากจะหลีกหนีเทคโนโลยีที่สุดล้ำเพื่อกลับมาสู่ชีวิตแบบธรรมดาโดยไม่มีสมาร์ทโฟนติดตัวบ้าง” เช่นเดียวกับกลยุทธ์การตลาดที่เราสามารถใช้การตลาดแบบธรรมดาที่เรานึกว่าหมดยุค (Out) ไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงกลยุทธ์เหล่านั้นยังใช้ได้อยู่เสมอ เช่น ความเรียบง่ายในการสื่อสาร (Simple Message) การสื่อสารแบบมีสาระ (Substantial) และ ความจริงใจ (Sincere) แบรนด์ที่พูดจริง พูดตรง จะมีแบรนด์แฟนติดตามจำนวนมาก เช่น สถานที่ท่องเที่ยวคลองโอ่งอ่าง วิถีชีวิตที่แสนธรรมดา เข้าถึงง่าย กลายเป็นแหล่งฮิตใหม่ของคนกรุงเทพ ฯ เกิดกิจกรรมใหม่ในพื้นที่ เช่น การพายเรือแคนูในคลองโอ่งอ่าง ตลาดกลางคืน อาหารท้องถิ่น หรือโครงการคนละครึ่งของทางภาครัฐ ที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคกับร้านค้าขนาดเล็กที่เข้าร่วมรายการในราคาลด 50% แบบทันที เป็นโครงการที่ได้รับความนิยมจากประชาชน และถูกกล่าวถึงกันอย่างมากกับแนวคิดการกระจายรายได้สู่พ่อค้าแม่ขายข้างทาง เป็นต้น

T : Trustmark vs Trademark คำมั่นสัญญา และเครื่องหมายการค้า

คุณบังอร กล่าวว่า “ทุกวันนี้แบรนด์ไม่สามารถพูดอะไรก็ได้ หรือมี Tagline สวย ๆ แต่ไม่ส่งมอบได้อีกต่อไป หากแต่แบรนด์จะต้องมีคำมั่นสัญญาส่งมอบให้กับลูกค้า” คำมั่นสัญญาที่ว่านี้จะเชื่อมต่อกับเครื่องหมายการค้าที่ลูกค้าสัมผัสได้ เช่น ถ้าเราพูดถึงรองเท้าสำหรับการเดินทางผจญภัย เราจะนึกถึงแบรนด์ The North Face ถ้าพูดรองเท้าสำหรับวิ่ง ก็นึกถึงแบรนด์ Nike หรือ Adidas ส่วนรองเท้ากอล์ฟก็จะนึกถึงแบรนด์ Lacoste เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาศัยระยะเวลา และความสม่ำเสมอในการสร้างความมั่นใจให้กับแบรนด์สินค้า

ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ประกอบด้วย 4 A ได้แก่
1) Authenticity เรามีความเป็น Original และเป็นตัวจริงหรือเปล่า
2) Ability ถ้าเราอยากจะพิสูจน์ให้ผู้บริโภคเชื่อเรา เราต้องทำให้ได้กับสิ่งที่พูดไว้ เช่น Dove บอกว่าจะทำให้ลูกค้ามีผิวชุ่มชื้น เพราะ 1 ใน 4 ของส่วนผสมเป็น Moisturizer
3) Actions หมดยุคพูดอย่างเดียวแล้ว การสร้างแบรนด์ที่ดีต้องลงมือทำ และสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าด้วย
4) Alignment แบรนด์ต้องตอบสนองความต้องการ และความมุ่งหวังของลูกค้าด้วย เช่น “เงินติดล้อ” กับวิสัยทัศน์ที่ต้องการส่งเสริม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านการกู้เงิน โดยเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถกู้เงินได้ง่ายขึ้น อันเป็นการกำจัดภาวะหนี้นอกระบบ เป็นแนวคิดจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มีความน่าเชื่อถือด้านการเงิน พร้อมแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สอนให้คนปลดหนี้ได้ด้วย นอกจากนี้ยังส่งทีมงานเข้าไปให้ความรู้กับผู้คนเรื่องการบริหารหนี้ เพื่อปลดล๊อค “การเป็นหนี้ตลอดชีวิต” แสดงให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจลูกค้าที่ไม่อยากเป็นหนี้ เพราะ “เงินติดล้อ” ไม่อยากให้คุณกลับมาใช้บริการอีก เป็นต้น

ดร. ดั่งใจถวิล สรุปให้เห็นว่า การตลาดในยุคนี้กำลังเปลี่ยนจาก Product Centric ที่พูดถึงการซื้อการขาย และ Customer Centric ที่ว่าด้วยการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าไปสู่ Human Centric ที่เราเข้าใจถึงจิตวิญญาณมนุษย์ตั้งแต่ Functional Need ไปจนถึง Spiritual Need จากเดิมโครงสร้างทางการตลาดในอดีตจะเน้นวัดผล KPI กันที่ Brand Awareness กี่เปอร์เซ็นต์ สามารถกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายหันมาทดลองใช้ได้เท่าไหร่ มีใครกลับมาซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้งหรือไม่ และเป็นแฟนคลับของเรากี่คน แต่วันนี้การตลาดในยุคใหม่ได้พลิกกลับแนวคิด และเริ่มต้นด้วยการค้นหาคนที่รักแบรนด์เราอย่างจริงจัง (Love Your Customers) เพราะเค้าเหล่านั้นจะเป็นผู้สร้าง Trial กระตุ้น Awareness และเป็นนักโฆษณา ให้กับแบรนด์อย่างเต็มใจ เช่น แนวคิดจากโฆษณาของ Burger King UK ในช่วงการประกาศล็อกดาวน์ประเทศอังกฤษจากสถานการณ์โควิด ที่พาดหัวไว้ว่า “ORDER from McDonald’s” พร้อมลงท้ายข้อความไว้ว่า “แม้ว่าการทานวอปเปอร์จะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด แต่จะสั่ง บิกแมค ในช่วงนี้ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ” แคมเปญนี้ต้องการสื่อให้เห็นถึงผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมร้านอาหาร โดย Burger King ขอเป็นแรงสนับสนุนเล็ก ๆ ที่ช่วยกระจายรายได้ส่วนหนึ่งให้กับแบรนด์คู่แข่งไม่มากก็น้อย หลังจากแคมเปญนี้ออกไปกลุ่มเป้าหมายรู้สึกดีกับแบรนด์ Burger King มากขึ้น ชื่นชมในกลยุทธ์การตลาด และแสดงให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจเพื่อนร่วมธุรกิจ เป็นการเกื้อกูลกัน บางคนถึงกลับบอกว่า ไม่เคยลองทานวอปเปอร์แต่จะลองสั่งดูสักครั้ง เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่าการสร้างแบรนด์วันนี้ ไม่ใช่มุ่งที่จะเอาแต่ตัวเองให้รอด แต่จะต้องคำนึงถึงระบบนิเวศธุรกิจ (Ecosystem) ทั้งระบบด้วย “Why should I love you?” จึงเป็นคำถามที่ทุกคนต้องถามก่อนพัฒนาสินค้า และงานบริการในยุคนี้ เพราะลูกค้ามองหาสิ่งที่ Brand Doing แล้วเค้าสามารถมีส่วนในการสร้างแบรนด์อย่างไร

เมื่อลูกค้าปรับพฤติกรรมตามวิกฤตที่เปลี่ยนแปลงไป การตลาดจำเป็นต้องคิดใหม่ผ่านโมเดลทั้ง 3 นี้
1) Re-Define Business Model หันกลับมามองดูว่าทรัพยากรที่เรามีอยู่ทั้งบุคลากร เครื่องจักร วัตถุดิบ ฯลฯ สามารถทำอะไรได้บ้าง ต้องหา Growth Engine ขององค์กรให้เจอ การหาพาร์ทเนอร์ร่วมทำธุรกิจเป็นอีกหนึ่งทางออกในการเสริมกำลังธุรกิจ และช่วยรักษาสภาพคล่องทางด้านการเงิน โดยไม่เพิ่มต้นทุน แต่กระตุ้นให้เกิดกระแสเงินสดที่ไหลเวียนดี
2) Re-Focus Segment แบรนด์ไม่สามารถเป็นทุกอย่างให้กับทุกคน แต่สามารถเป็นโลกทั้งใบให้กับใครบางคนได้ ดังนั้นเวลาคิดที่จะแบ่ง Segment ขอให้คิดว่าเขาคือมนุษย์ เป็น Human Segment ที่ไม่ใช่ Customer Target อีกต่อไป การเข้าอกเข้าใจลูกค้า (Empathy) กับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data) จึงเป็นสองผสานที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รักของลูกค้า
3) Re-Design Brand Experience with Shared Purpose ถึงเวลาที่เราต้องออกแบบประสบการณ์ใหม่เพื่อสร้าง Brand Purpose และสร้าง Empathy Marketing ที่ Win ด้วยกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ แบรนด์ พาร์ทเนอร์ และลูกค้า ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือ คิดถึงคน + คิดถึงโลกใบนี้ ก่อนผลกำไรที่เป็นตัวเลข เพราะถ้าเรามัวแต่ห่วงเรื่อง Profit เราจะลืมคน ลืมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

วันนี้ทุกคนต้องการไต่ระดับให้ถึงยอดของ MASLOW’s Hierarchy of Needs คือการบรรลุสิ่งที่ตัวเองเป็น (Self-Actualization) การค้นพบศักยภาพของตัวเองจะทำให้คนพยายามพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลทั้ง 3 Re-Define, Re-Focus และ Re-Design คือ Outcome ของ Human Need ซึ่งวิกฤตโควิดสอนเรารู้ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เราต้องการความปลอดภัยในชีวิต เราต้องการเพื่อนในชีวิต เราต้องการความสุขในใจ และเราต้องการเป็นที่หนึ่งของใครสักคน

Tags:

ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

เมื่อวิกฤติโควิดกลับมา เราจะรับมือกับมันอย่างไร

2.6k
SHARE

สมาคมการตลาดฯ ขอรวบรวมคำแนะนำต่างๆ จากประสบการณ์ตรงของผู้บริหารองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มาให้ทุกๆ ท่านใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยน เพื่อรับมือกับความท้าทายรอบใหม่นี้

เราขอแนะนำให้ทุกท่าน be S.T.R.O.N.G นะคะ

S #SEARCH for what they want

กลับมาดูที่ความต้องการของลูกค้าอีกครั้ง ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไป เราทำอะไรให้ตอบโจทย์ และช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้ลูกค้าได้บ้าง

T #TRIM the fat

ถึงเวลาลดความอ้วน ค่าใช้จ่ายไหนที่ไม่จำเป็น เราต้องลดลงให้ได้ หลายๆองค์กรที่ผ่านวิกฤติครั้งแรกมาได้ ก็ด้วยการ “ลดค่าใช้จ่าย”

R #RELOOK at your CORE STRENGTH

คำถามนี้ ไม่ได้ถามว่า เราเก่งธุรกิจอะไร แต่เป็นคำถามเพื่อให้เรากลับมามององค์กรของเรา ว่าอะไรคือจุดแข็งที่แท้จริงของเรา เมื่อถึงเวลาที่เราต้องปรับธุรกิจ ขอให้เราปรับอยู่บนพื้นฐานของความเก่งของเรา เช่น เคยเป็นบริษัทอีเว้น ความสามารถของเราคือ คนที่มี creativity & production skill เราก็เอาสิ่งนั้นมาใช้ต่อยอด
หากเป็นโรงแรมหรือร้านอาหาร สิ่งที่มีคือความสามารถด้านการบริการและการทำอาหารอร่อยๆ แต่รูปแบบจะต้องเปลี่ยน หากเรามองกลับมาที่ตัว S แรก … ค้นหาดูดีๆว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วจุดแข็งของเราเอามาทำอะไรตอบโจทย์ได้บ้าง ก็น่าจะพอมองเห็นเส้นทางเดินต่อ

O #OPENMIND

แต่การจะปรับได้แบบข้อที่กล่าวมาด้านบน ต้องอาศัย ตัว O นี้เป็นอย่างมาก หลายๆธุรกิจติดกับดักของความกลัวในใจของผู้บริหาร ไม่กล้าลอง ไม่กล้าเปลี่ยน ไม่เชื่อมั่นในการเปลี่ยนแปลง … หากจะรอด เราต้องเปิดใจ ดร. ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ที่ปรึกษา Brand’s Suntory ได้กล่าวไว้ในงาน Thailand Marketing Day 2020 ว่า “สำหรับการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนในขณะที่ยังเปลี่ยนได้ อย่ารอจนกว่าเราขยับไม่ได้ ใช้สัญชาตญาณในการทำงานเหมือนกับเด็กเล่นของเล่น ที่ไม่ต้องสอน ไม่ต้องอ่านคู่มือก็เล่นได้ เช่นเดียวกับเด็กที่ล้มก็ไม่เป็นไร ขอให้พยายามต่อ ล้มเร็ว ลุกเร็ว เรียนรู้เร็ว” หากเราไม่ลองทำอะไรใหม่ๆ เราก็จะได้แต่ผลลัพธ์เดิมๆนะคะ เปิดใจแล้วสู้ต่อ

N #NETWORK and COLLABORATION

ในยุคนี้เป็นยุคแห่งการพึ่งพากันอย่างเป็นมิตร ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการร่วมมือกันทางธุรกิจอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นเป็นเพราะ หลายๆแบรนด์เริ่มเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจ จากที่เคยมองทุกคนเป็นคู่แข่ง ก็เริ่มมองว่าเขามีจุดแข็งอะไรที่เราไม่มี แล้วเราจะมาจับมือร่วมกันรอดได้อย่างไร ยุคนี้ถึงตัวเราจะต้อง social distancing เพื่อความปลอดภัย แต่ในทางธุรกิจ เราต้องดึงเพื่อนของเราเข้ามาให้ใกล้กับเรายิ่งขึ้น ลองมองรอบๆตัวและหาพันธมิตรเพื่อโอกาสใหม่ๆในการเติบโตร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง

G #GROW your Skills and Experiences

อย่ายึดติดกับความสำเร็จหรือความสามารถแบบเดิมๆ ในยุคนี้เราต้องมีไฟในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพร้อมที่จะก้าวออกจาก comfort zone แสวงหาประสบการณ์ที่จะมาเติมเต็มความสามารถของเรา คนทุกคนสามารถเติบโตได้ และทุกๆธุรกิจยังสามารถเติบโตได้ แต่เราต้องพร้อมที่จะรับโอกาสใหม่ๆเหล่านั้น ในโลกการตลาดยุคใหม่ ใครที่หยุดเรียนรู้เท่ากับกำลังเดินถอยหลัง ดังนั้น เรามาเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสกัน หากช่วงนี้ธุรกิจต้องหยุดชะงักไปบ้าง ก็เป็นเวลาที่จะได้ย้อนมาดูว่า เราจะพัฒนาบุคลากรและธุรกิจของเราต่อไปอย่างไรได้บ้าง มา Upskill & Reskill กัน

อย่างไรก็ดี เมื่อเราเตรียมความพร้อมให้องค์กร STRONG ในด้านธุรกิจแล้ว ด้านจิตใจก็ขออให้ทุกๆท่าน be STRONG กันด้วยนะคะ สมาคมการตลาดฯขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกๆท่าน และเราจะอยู่เคียงข้างทุกๆธุรกิจค่ะ หากท่านต้องการคำปรึกษาในด้านใด ติดต่อเราเข้ามาได้ที่ LINE – @MATSOCIATY นะคะ ทางสมาคมฯจะช่วยหาคำตอบให้แก่ทุกๆคำถามของท่านค่ะ

ดูแลธุรกิจแล้ว ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใยจากสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยค่ะ


ผู้เขียน
MAT TEAM

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

สมัครรับข่าวสาร

logo